กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน อันตรายไหม? เช็ก 5 สัญญาณจากร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน อันตรายไหม? เช็ก 5 สัญญาณจากร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน อันตรายไหม? เช็ก 5 สัญญาณจากร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน! อาการหิวบ่อย กินบ่อย แต่น้ำหนักเท่าเดิม ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดี แต่แท้จริงแล้วอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างจากระบบภายในที่คุณไม่ควรมองข้าม

สาเหตุทั่วไปของอาการหิวบ่อย

1. พฤติกรรมการกินที่ไม่สมดุล

หากคุณกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ไฟเบอร์ต่ำ และขาดโปรตีน เช่น ขนมปังขาว น้ำหวาน หรือขนมขบเคี้ยว ร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลเร็ว ทำให้อิ่มแป๊บเดียว แล้วก็หิวบ่อย ดังนั้น ควรปรับมื้ออาหารให้มีโปรตีนดี เช่น ไข่ อกไก่ เต้าหู้ พร้อมผักสดและธัญพืชไม่ขัดสี

2. ดื่มน้ำน้อยเกินไป

บางครั้งความรู้สึกหิว อาจเป็นเพียงสัญญาณของการขาดน้ำ ร่างกายตีความความกระหายน้ำว่าเป็นความหิว ลองดื่มน้ำเปล่าสักแก้วก่อนกินขนม หรือเพิ่มการดื่มน้ำระหว่างวันให้ได้อย่างน้อยวันละ 1.5–2 ลิตร

3. นอนน้อย ร่างกายแปรปรวน

การนอนไม่พอทำให้ฮอร์โมนเกรลิน ซึ่งกระตุ้นความหิวเพิ่มขึ้น ขณะที่ฮอร์โมนเลปตินซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มกลับลดลง จึงทำให้คุณหิวบ่อยแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นควรพยายามนอนให้ได้อย่างน้อย 7–8 ชั่วโมงต่อคืน และหลีกเลี่ยงมือถือก่อนนอน

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน อาจเป็นสัญญาณของโรค

1. ภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

หากคุณหิวบ่อย กินเยอะ แต่น้ำหนักกลับลดลง อาจเกิดจากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานเร็วผิดปกติ ส่งผลให้รู้สึกหิวบ่อย เหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือมือสั่นร่วมด้วย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์โดยเฉพาะ

2. ภาวะเบาหวานระยะเริ่มต้น

ในบางรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ดี ทำให้เซลล์ยังขาดพลังงานและส่งสัญญาณให้หิวอยู่ตลอด แม้จะกินแล้วก็ตาม แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยงเบาหวาน

3. ปัญหาจากระบบดูดซึม เช่น ลำไส้ผิดปกติ

ในบางกรณีลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี ร่างกายจึงต้องการอาหารมากขึ้นเพื่อชดเชย ส่งผลให้เกิดอาการหิวบ่อย เพราะร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ

แม้การกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนจะฟังดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และอาจดูเป็นข้อดี แต่หากเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นบ่อย และมาพร้อมอาการแปลกๆ เช่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ใจสั่น หรือหงุดหงิด ควรหาสาเหตุและปรึกษาแพทย์ เพราะบางครั้งความหิวคือเสียงจากร่างกายที่บอกว่ามีบางอย่างกำลังผิดปกติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล