17 อาการคนท้อง เช็กอาการเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ท้องแน่นอน

17 อาการคนท้อง เช็กอาการเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ท้องแน่นอน

17 อาการคนท้อง เช็กอาการเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ท้องแน่นอน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน ในระยะเริ่มแรก 1-2 สัปดาห์ หรือ ท้องในเดือนแรก จะมีสัญญาณและอาการหลายประการของการตั้งครรภ์ อาการทั่วไป ได้แก่ ขาดประจำเดือน คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ปวดหัว และเหนื่อยล้า ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ คัดเต้านม และความรู้สึกไวต่อกลิ่น หากมีอาการเหล่านี้ท้องรึยัง? ลองสังเกตุตัวเองกันว่าเรากำลังตั้งครรภ์หรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงจะรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์เมื่อมีอาการต่างๆ เริ่มขึ้นตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ แต่บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ เลย จนกว่าอายุครรภ์จะถึง 6 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น วันนี้เราจึงรวบรวม อาการคนท้อง เบื้องต้นในระยะเริ่มแรก 1-2 สัปดาห์ มาแบ่งปันให้คุณแม่ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ

อาการคนท้องอาการคนท้อง

อาการคนท้อง ถ้ามีอาการเหล่านี้ ท้องแน่นอน

  1. ประจำเดือนขาด

    โดยปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาในระยะ 21-35 วัน และจะมาในเวลาใกล้เคียงกันในทุกๆ เดือน แต่ถ้าหากว่า มีอาการประจำเดือนขาด สำหรับคนที่ประจำเดือนมาปกติถ้าประจำเดือนที่เคยมาเป็นปกติขาดหายไป รอแล้วรอเล่าไม่มาสักที แสดงว่าคุณอาจจะกำลังมีการตั้งครรภ์ เพราะหลังจากการปฏิสนธิแล้ว ประจำเดือนจะขาดหายไป แนะนำให้ไปซื้อเครื่องตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจ
  2. มีตกขาวเพิ่มมากขึ้น

    เนื่องจากฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ จึงทำให้มีการหลั่งของพวกสารต่างๆ รวมทั้งมีตกขาวในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นช่วงที่มีตกขาวเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องหมั่นดูแลเรื่องความสะอาดให้ดี จะต้องล้างและซับให้แห้งสนิททุกครั้ง แต่ไม่ต้องใช้น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้นแต่อย่างใด เพราะอาจไปฆ่าเชื้อดีๆ ที่ช่วยป้องกันเชื้อร้ายออกไปได้ และที่สำคัญห้ามสวนล้างช่องคลอดเด็ดขาด
  3. เหนื่อยง่ายหายใจถี่

    เนื่องจากตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในท้องของคุณแม่นั้นมีความต้องการออกซิเจนจากคุณแม่ จึงทำให้คุณแม่หายใจถี่และรู้สึกเหนื่อยได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งมีแรงกดดันต่อปอดและกระบังลมของคุณแม่ไปด้วย

  4. มีอาการเริ่มคัดเต้านม

    ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่อาจมีอาการคัดเต้านม ซึ่งจะมีความคล้ายกับตอนมีประจำเดือน และสามารถสังเกตเห็นได้ว่าเต้านมจะมีขนาดใหญ่ รู้สึกหนัก รอบหัวนมจะมีสีคล้ำกว่าเดิม และบริเวณผิวหนังของเต้านมจะบางลงจนมองเห็นหลอดเลือดดำได้อย่างเด่นชัดมาก แต่อาการคัดเต้านมอาจลดน้อยลงหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน

  5. รู้สึกเมื่อยล้าได้ง่าย

    การตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกจะทำให้คุณแม่รู้สึกเมื่อยล้าได้ง่าย พร้อมทั้งมีอาการอ่อนล้าและหมดแรง แต่อาการคนท้องลักษณะนี้จะดีขึ้นเมื่ออายุตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่สอง

  6. เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือ แพ้ท้อง

    โดยปกติเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการนี้จะดีขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่สอง แต่ในบางรายจะพบกับอาการคนท้องดังกล่าวตั้งแต่รอบเดือนหายไป

  7. ปัสสาวะบ่อย

    เนื่องจากร่างกายที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์จะมีการสร้างของเหลวมากขึ้นกว่าเดิม และเลือดเกิดการไหลเวียนมากขึ้น นั่นจึงส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย

  8. อาจจะปวดหัวได้เป็นบางเวลา

    อาการปวดหัวถือเป็นหนึ่งในอาการคนท้องที่ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์เลยก็ว่าได้ ซึ่งฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของการใช้ยาคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

  9. เริ่มมีอาการปวดหลัง

    อาการปวดหลังคืออาการคนท้องที่เกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งศูนย์กลางของการทรงตัวของคุณแม่เปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลให้การยืน นั่ง หรือเดินเปลี่ยนแปลงไปด้วย

  10. ปวดเกร็งในช่องท้อง

    ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะมีอาการปวดเกร็งในช่องท้องคล้ายกับตอนปวดประจำเดือน และหากมีอาการปวดหน่วงๆ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการขยายตัวของมดลูก

  11. เริ่มต้นช่วงแรกจะมีอาการอยากกินอาหารรสเปรี้ยว

    ความอยากอาหารของคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่จะต้องการอาหารรสเปรี้ยว และมักจะมีอาการคลื่นไส้เมื่อได้กลิ่นปลา

  12. มีอาการท้องผูก

    ฮอร์โมน progesterone จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้อาหารย่อยได้ช้าและมีแก๊สอยู่ในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการท้องผูกได้อีกด้วย

  13. อารมณ์เสียง่าย หงุดหงิดได้ง่าย

    คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงและมักจะอารมณ์เสียง่าย เนื่องจากระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งร่างกายพยายามปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่

  14. อุณหภูมิในร่างกายสูง

    ร่างกายของคุณแม่จะมีอุณหภูมิสูง และรู้สึกร้อนได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงและใช้พลังงานมากขึ้นนั่นเอง

  15. มีความไวต่อกลิ่นเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

    การตั้งครรภ์จะส่งผลให้คุณแม่มีความไวต่อกลิ่นเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่ากลิ่นนั้นจะมีกลิ่นหอมหรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ก็ตาม

  16. เกิดอาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะได้ง่าย

    น้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตจะลดลงในช่วงตั้งครรภ์ นั่นจึงทำให้คุณแม่มีอาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะได้ง่าย แนะนำให้คุณแม่หมั่นดื่มน้ำให้เพียงพอ จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ดี

  17. อาจจะมีเลือดออกกะปริดกะปรอย

    ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีเลือดออกกะปริดกะปรอยโดยที่ไม่มีอาการปวดเกร็งท้องเลย คุณแม่ควรสังเกตอาการให้ดี หากมีเลือดออกไม่หยุดควรรีบพบแพทย์ทันที

อาการคนท้อง ทั้ง 17 อาการที่เราได้นำมาแบ่งปันให้คุณแม่ทุกท่านได้ทราบนั้น อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ในแต่ละคนด้วยอาการที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การสังเกตแต่ละอาการให้ดี รวมทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้สุขภาพร่างกายในขณะตั้งครรภ์แข็งแรงอยู่เสมอ ฉะนั้นเรามีอาหารแนะนำสำหรับคุณแม่ ที่เริ่มตั้งครรภ์ ที่ควรทานมีอะไรบ้าง

อาการที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรระวัง

  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • บวมตามร่างกาย
  • หายใจลำบาก
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
  • ปัสสาวะบ่อยมาก
  • สูญเสียน้ำหนัก
  • ทารกไม่เคลื่อนไหว

หากคุณมีอาการเหล่านี้ คุณควรไปพบแพทย์ทันที อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่ร้ายแรง

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ควรจะดูแลตัวเองให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตัวเอง และที่สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะในช่วงการตั้งครรภ์นั้นร่างกายจะอ่อนเพลียง่าย และควรลดกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเยอะ นอกจากนั้นควรจะทำการฝากครรภ์และไปพบคุณหมอให้ตรงตามนัดเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

ที่สำคัญยังควรดูแลเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรจะอด หรือควบคุมอาหารในช่วงนี้ และควรจะทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควรเสริมอาหารจำพวกโปรตีน ธาตุเหล็ก และแคลเซียมรวมทั้งกรดโฟลิกให้เพียงพอ ส่วนอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ อย่างเช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานของหวานมากเกินไป และที่สำคัญไม่ควรสูบบุหรี่เป็นอย่างยิ่งค่ะ

แนะนำช้อมูลสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook