เส้นเลือดแดงใหญ่แตก เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เส้นเลือดแดงใหญ่แตก เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เส้นเลือดแดงใหญ่แตก เกิดขึ้นได้อย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในบรรดาหลายๆ โรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์ โรคที่น่ากลัวที่สุด คือบรรดาโรคที่ไม่แสดงอาการจนกว่าจะเป็นหนัก เช่น โรคมะเร็งที่เรารู้จักกันดี แต่อีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวไม่แพ้กัน แม้ว่าจะพบโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้น้อย แต่หากเป็นแล้วมีโอกาสที่จะทำการรักษาได้ทันค่อนข้างน้อย นั่นคือภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หรือเส้นเลือดแดงใหญ่แตกนั่นเอง

 

เส้นเลือดแดงใหญ่แตก คืออะไร?

เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หรือเส้นเลือดแดงใหญ่แตก คือภาวะที่เส้นเลือดแดง หรือหลอดเลือดแดงทำงานผิดปกติ มีอาการคล้ายกับหลอดเลือดตีบ ที่นำไปสู่ภาวะหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบตัน หรืออาจเป็นสาเหตุของอาการอัมพาต แต่แตกต่างกันที่บริเวณที่เกิดความผิดปกติ อาจจะอยู่ในทรวงอก หรือช่องท้อง และหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาด 2-3 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่กว่าหลอดเลือดหัวใจ หรือสมองมาก โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้น มาจากภาวะที่หลอดเลือดแดงใหญ่อ่อนแอ และมีอาการโป่งพองจนแตกจากหลายสาเหตุ

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง-แตก

- อายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่พบได้ในผู้สูงอายุ 40 ปีขึ้นไป ในกรณีที่พบเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องอกแตกเฉียบพลันในวัยเด็ก วัยรุ่น วันทำงาน พบได้ค่อนข้างน้อย ราว 5 คนจาก 1 ล้านคนเท่านั้น

- โรคอ้วน

- ความดันโลหิตสูง

- มีภาวะไขมันในเลือดสูง

- อาการข้างเคียงจากโรคเบาหวาน

-สูบบุหรี่

- ไม่ออกกำลังกาย

- ความผิดปกติของหลอดเลือดตั้งแต่กำเนิด

 stomachiStock

 

อาการของภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง-แตก

ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองอยู่ในภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง-แตก เพราะในระยะแรกจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ออกมา บางคนอาจคลำเจอก้อนในท้อง แต่เมื่อไม่มีอาการปวดอะไร จึงชะล่าใจ ไม่มาตรวจอย่างละเอียด

แต่เมื่อเส้นเลือดใหญ่เริ่มโป่งพองมากจนปริ หรือเริ่มแตก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดท้อง หรือปวดหลังอย่างรุนแรง  และอาจมีอาการช็อก และเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาที เพราะหากเส้นเลือดแดงใหญ่ปริแตกแล้ว เลือดจะทะลักออกมาจากหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว และเป็นจำนวนมากเหมือนท่อประปาขนาดใหญ่แตก เป็นสภาวะที่ยากต่อการรักษาให้ทันท่วงที

 

วิธีการรักษาภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยท่านนั้นยังอยู่ในภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และอาการยังไม่รุนแรงจนถึงขั้นเส้นเลือดแตก  อาจเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น การใส่ขดลวดเข้าไปดามหลอดเลือดที่โป่งพอง แต่ในบางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด แล้วแต่วิจารณญาณของแพทย์

 

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติที่เคยรักษาด้วยวิธีเดิมแล้วไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจเช็คอย่างละเอียดอีกครั้ง นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยให้เรามีความเสี่ยงจากภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หรือแตกได้มากเช่นกันค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook