วิธีปฐมพยาบาล “เลือดกำเดาไหล” ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

วิธีปฐมพยาบาล “เลือดกำเดาไหล” ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

วิธีปฐมพยาบาล “เลือดกำเดาไหล” ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตอนเด็กๆ เคยเกิดเหตุ “เลือดกำเดาไหล” กันบ้างไหมคะ? สำหรับตัวเราเองนั้นเคยเห็นแต่คนอื่นเป็น นั่งเล่นอยู่เฉยๆ ก็หยดแหมะๆ ใส่เสื้อต่อหน้าต่อตา ทำไมเลือดกำเดาถึงไหล แล้วเรามีวิธีหยุดเลือดอย่างไรถึงจะถูกต้อง Sanook! Health มีเคล็ดลับให้จำเอาไปใช้กัน 

เลือดกำเดา คืออะไร เกิดจากอะไร

เลือดกำเดา คือเลือดที่ไหลออกมาจากโพรงจมูก ไม่ว่าจะเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง เกิดจากเส้นเลือดภายในโพรงจมูกแตก ที่อาจเป็นเพราะเส้นเลือดในโพรงจมูกเปราะบางแตกง่ายด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น อาการที่เปลี่ยน (ร้อนเกินไป, หนาวเกินไป, แห้งเกินไป) สั่งน้ำมูกแรงเกินไป ผลข้างเคียงจากอาการภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง หรือเกิดจากการแคะ แกะ เกาในโพรงจมูกอย่างรุนแรง หรือเกิดอุบัติเหตุในบริเวณที่ใกล้เคียงกับจมูก เป็นต้น 

เลือดกำเดา มีกี่ชนิด

ทราบหรือไม่ว่าเลือดกำเดาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. เลือดที่ออกจากโพรงจมูกด้านหน้า มักเกิดขึ้นกับคนทั่วไป เกิดจากเส้นเลือดบริเวณจมูกในส่วนหน้าแตก ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ผู้ป่วยสามารถทำให้เลือดกำเดาหยุดไหลได้เอง

  2. เลือดที่ออกจากโพรงจมูกส่วนหลัง เกิดจากเส้นเลือดบริเวณโพรงจมูกด้านหลังแตก หรือส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปในโพรงจมูก จนอาจทำให้มีเลือดไหลลงไปในลำคอด้วย มักเกิดกับผู้สูงวัย หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคอันตรายร้ายแรงบางอย่าง ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน 

เลือดกำเดาไหลแบบไหนที่เป็นอันตราย

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

  • เลือดกำเดาไหลที่ด้านหลังโพรงจมูกจนไหลเข้าไปในลำคอ

  • เลือดกำเดาไหลไม่หยุดแม้ผ่านไปมากกว่า 20 นาที

  • เลือดกำเดาไหลซ้ำอีกหลายครั้ง

  • เวียนศีรษะ หน้ามืด

  • กระอักเลือด หรืออาเจียนเป็นเลือด

  • มีผื่นขึ้นตามตัว

  • มีไข้สูง (มากกว่า 5 องศาเซลเซียส) 

วิธีหยุดเลือดกำเดาไหล ด้วยตัวเอง

  1. นั่งนิ่งๆ บนเก้าอี้หรือพื้น เอนตัวไปข้างหน้า และอาจก้มหน้าเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องเงยหน้า ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบจมูก แล้วหายใจทางปากราว 10 นาทีแล้วค่อยปล่อยนิ้ว หากเลือดกำเดายังไม่หยุดไหล ให้ทำตามวิธีนี้อีกครั้ง

  2. ไม่นอนราบ หากมีเลือดไหลลงคอให้บ้วนเลือดออกมา ไม่กลืนลงไป เพราะเลือดกำเดาอาจไหลเข้าไปในกระเพาะอาหารจนทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมาได้ เช่น อาเจียน เป็นต้น

  3. อาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งวางบริเวณสันจมูกขณะบีบจมูกไปด้วยก็ได้

  4. หากเลือดกำเดายังไม่หยุดไหล ให้รับพบแพทย์โดยด่วน 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook