เช็กเลย! ไทรอยด์ของคุณ ทำงานผิดปกติอยู่หรือไม่?
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/1/7069/thyroid-2.jpgเช็กเลย! ไทรอยด์ของคุณ ทำงานผิดปกติอยู่หรือไม่?

    เช็กเลย! ไทรอยด์ของคุณ ทำงานผิดปกติอยู่หรือไม่?

    2017-05-09T11:08:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นภาวะที่คนไทยหหลายคนกำลังเผชิญอยู่ อาจจะรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง บางคนอาจรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการผิดปกติเล็กน้อย แต่บางก็ทำงานหนักจนลืมดูแลตัวเอง มาอีกทีก็เป็นขั้นหนัก จนต้องรีบแอดมิทด่วนๆ คุณสามารถเช็คสุขภาพของตัวเองได้ว่ากำลังเสี่ยงที่จะอยู่ในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติหรือไม่ ก่อนที่จะสายเกินไป

     

    ต่อมไทรอยด์ อยู่ตรงไหน ทำหน้าที่อะไร?

    ต่อมไทรอยด์อยู่ส่วนหน้าของคอ แม้จะมีขนาดเล็กประมาณ 2 นิ้ว แต่มีหน้าที่สำคัญในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีผลการทำงานของอวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกาย

     

    หน้าที่ของต่อมไทรอยด์

    - ควบคุมการเผาผลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรต

    - ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่สำคัญ เช่น ฮอร์โมน T3 และ T4

    - ควบคุมระบบการหายใจ

    - ควบคุมอุณหภูมิ

    - ควบคุมพัฒนาการสมอง

    - ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล

    - ควบคุมการทำงานของหัวใจ และระบบประสาท

    - ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด

    - ควบคุมการมีรอบเดือนของผู้หญิง ผิวพรรณ และอื่นๆ อีกมากมาย

     

    ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

    ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติที่เราพบกันอยู่บ่อยๆ มี 2 ประเภท คือ ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism) และต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism)

     thyroid-1


    ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

    เกิดจากโรคเกรฟส์ (Grave’s disease) หรือภาวะฮอร์โมนไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งเป็นโรคออโตอิมูน (ภูมิต้านตนเอง) อย่างหนึ่ง จะมีสารแอนติบอดีมากระตุ้นต่อไทรอยด์ให้ทำงานมากขึ้น ทำให้ต่อมผลิตฮอร์โมน T3 และ T4 มากเกินไป มักพบได้ในผู้หญิงก่อนวัย 40 ปี

     

    ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป

    เกิดจากโรคฮาชิโมโต หรือต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง เป็นโรคต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิคุ้มกันทำงายตัวเอง ร่างกายจะจำเนื้อเยื่อตัวเองไม่ได้ และคิดว่าเป็นเนื้อเยื่อแปลกปลอม จึงพยายามสร้างภูมิคุ้มกันมาทำงายต่อมไทรอยด์

    โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม และสัมพันธ์กับความผิดปกติของออโตอิมมูน เช่น เบาหวานชนิดที่ 1 ไขข้ออักเสบ ลูปัส และซีลีแอค โดยปกติโรคฮาชิโมโตจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 7 เท่า และมักเกิดในวัยกลางคน

    การทำลายต่อมไทรอยด์จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หากเรื้อรังจะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน T3 และ T4 ไม่เพียงพอ ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ดังนั้นหากมีฮอร์โมน 2 น้อยเกินไป อาจทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นได้

     

    อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

    ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

    - น้ำหนักลด

    - ท้องเสีย

    - อ่อนเพลีย

    - ผิวชื้น เหงื่อออกมาก

    - วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ

    - กล้ามเนื้ออ่อนแรง

    - มีลูกยาก ประจำเดือนขาด

    - แท้งลูกง่าย

     

     

    ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป

    - น้ำหนักเพิ่ม

    - ท้องผูก

    - อ่อนเพลีย

    - ผมร่วง ผิวแห้ง

    - สมองตื้อ เฉื่อยชา นอนหลับมาก

    - ตะคริว

    - มีลูกยาก ประจำเดือนมาก

    - แท้งลูกง่าย

     

    การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

    คนที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต้องได้รับยา หรืออาจจะต้องผ่าตัด หรือได้รับน้ำแร่ไอโอดีน ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี แต่วิธีนี้อาจจะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน T3 และ T4 ไม่เพียงพอต่อการทำงานของร่างกาย หลังจากกินน้ำแร่แล้ว ประมาณ 90% ของผู้ที่มีโรคเกรฟส์ หรือผู้ที่เป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์จะมีปัญหาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปหลังการรักษา

    ผู้ที่มีภาวะโรคฮาชิโมโตไม่จำเป็นว่าจะต้องได้รับการรักษาทุกคน บางคนอาจจะมีออโตอิมมูน แอนติบอดี ซึ่งต่อมไทรอยด์ยังทำงานอยู่โดยไม่ต้องรักษาหลายปี โดยทั่วไปเมื่อใดที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอ แพทย์จะให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อที่จะปรับสมดุลของฮอร์โมน

    หากใครที่มีอาการตามด้านบน อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียดอีกทีนะคะ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติส่งผลกระทบหลายอย่างในร่างกาย โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะอักตรายอีกมากมาย ครั้งหน้าเราจะพูดถึงความเสี่ยงของโรคอื่นๆ จากภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติกัน รออ่านกันต่อนะคะ