"เหงือกบวม" แบบไหน ต้องไปพบแพทย์?

"เหงือกบวม" แบบไหน ต้องไปพบแพทย์?

"เหงือกบวม" แบบไหน ต้องไปพบแพทย์?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการ “เหงือกบวม” เกิดจากเศษอาหารที่เราทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ เข้าไปติดในร่องระหว่างเหงือกกับฟัน จนทำให้เกิดอาการปวดอักเสบ บวมแดงได้ ตามปกติแล้วหากเป็นอาการเหงือกบวมปกติ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ดูแลทำความสะอาดฟันและเหงือกบริเวณที่เกิดอาการด้วยตนเอง โดยการใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม ใช้ไหมขัดฟันช่วยขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการบ้วนน้ำเกลือหากมีอาการบวมแดง แล้วอาการเหงือกบวมจะค่อยๆ ดีขึ้นโดยไม่ต้องรับประทานยา หรือทำการรักษาอื่นใด

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการเหงือกบวม แล้วมีอาการเพิ่มเติมตามอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ควรพบทันตแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจเสี่ยงเป็นอันตรายที่ไม่ได้เป็นอาการเหงือกบวมธรรมดาๆ

"เหงือกบวม" แบบไหน ต้องไปพบแพทย์?

ทพญ.ชนิดา ว่องเดชากูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงอาการของเหงือกบวมที่ควรต้องรีบไปพบแพทย์ ดังนี้

  1. เหงือกบวมจากกระดูกงอก

เหงือกจะมีสีชมพูปกติ หรืออาจมีสีขาวซีด หากตุ่มกระดูกก้อนใหญ่นี้ดันเหงือกออกมามาก อาการบวมนี้เกิดจากกลไกที่ร่างกายสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรับแรงบดเคี้ยวที่หนักหน่วงไม่เท่ากัน

  1. เหงือกบวมจากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะบวมขึ้นหนามาก แต่เนื้อแน่น มีสีชมพูปกติ ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยา และขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น

  1. เหงือกบวมจากการถูกระคายเคืองเป็นเวลานาน

มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง สีชมพูปกติ รักษาด้วยการตัดก้อนที่บวม

  1. เหงือกบวมจากโรคปริทันต์

มักพบในผู้ป่วยที่มีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี แบ่งเป็น 2 โรคที่รุนแรงต่างกัน คือ

  • โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก ทำให้เหงือกอักเสบรอบๆ ฟัน อาจมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก และเสียวฟัน

  • โรคปริทันต์ เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก แต่เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทางต่อเชื้อโรคน้อย เชื้อจึงลุกลามไปทำลายกระดูกที่รองรับฟัน ทำให้ฟันโยก ยื่นยาวผิดปกติ และมีหนองไหล รักษาด้วยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน
  1. เนื้องอกในหญิงมีครรภ์

พบในหญิงมีครรภ์ที่มีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี เนื่องจากร่างกายจะตอบสนองต่อการระคายเคืองของหินปูนได้ไวกว่าปกติ รักษาด้วยการตัดออกและขูดหินปูน

  1. เหงือกบวมเป็นตุ่มเล็กๆ

มีหนองไหลผ่านออกมา มักพบอยู่ใกล้ฟันผุเป็นหลุมกว้าง มักมีอาการปวดมาก่อน เกิดจากฟันผุที่ลุกลามถึงชั้นโพรงประสาทฟัน ติดเชื้อจนฟันตาย และมีหนองสะสม รักษาด้วยการรักษารากฟัน

  1. ก้อนมะเร็ง

ลักษณะฟูคล้ายดอกกะหล่ำ มีอาการบวม ชา และลุกลามอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยต้องรีบมาพบทันตแพทย์ทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook