ไขข้อข้องใจ เอา "พลาสติก" เข้า "ไมโครเวฟ" ปลอดภัยหรือไม่?

ไขข้อข้องใจ เอา "พลาสติก" เข้า "ไมโครเวฟ" ปลอดภัยหรือไม่?

ไขข้อข้องใจ เอา "พลาสติก" เข้า "ไมโครเวฟ" ปลอดภัยหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบัน ไมโครเวฟ ดูเหมือนจะกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีติดบ้านของใครหลายๆ คน เนื่องจากช่วยให้คุณอุ่นอาหารได้สะดวกและรวดเร็วอีกด้วย แต่รู้หรือไม่ว่า..ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารเข้าไมโครเวฟนั้นเป็นเรื่องที่คุณจะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก ความจริงแล้วการ เอาพลาสติกเข้าไมโครเวฟ นั้น ปลอดภัยจริงหรือไม่ Hello คุณหมอ นำเรื่องนี้มาฝากกัน

ทำความรู้จักกับพลาสติกแต่ละชนิด

พลาสติก (Plastic) นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ส่วนใหญ่จะมี โพลีเมอร์ (Polymers) เป็นส่วนประกอบ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วพลาสติกจะทำมาจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่บางครั้งมันก็ทำมาจากวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เช่นกัน เช่น เยื่อไม้ และเยื่อบุฝ้าย

ที่ฐานของผลิตภัณฑ์พลาสติกส่วนใหญ่ คุณจะพบกับสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายรูปสามเหลี่ยมที่หมายถึง การรีไซเคิล (Recycle) และ หมายเลขรหัสการระบุเรซิ่นตั้งแต่ 1-7 หรือ รหัสชนิดพลาสติก (Plastic Resin Identification Codes) ตัวเลขที่เห็นนั้นจะบอกคุณได้ว่าพลาสติกนั้น เป็นพลาสติกประเภทใด โดยปัจจุบันพลาสติกถูกจำแนกทั้งหมด 7 ชนิด ดังนี้

1. พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate หรือ PET หรือ PETE)  ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มโซดา ขวดมายองเนส และภาชนะบรรจุน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร

2. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High density polyethylene หรือ HDPE)  ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ของผงซักฟอกและสบู่ เหยือกนม ภาชนะใส่เนย และถังใส่ผงโปรตีน

3. โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride หรือ PVC)  ได้แก่ ท่อประปา สายไฟ ม่านอาบน้ำ ท่อทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์หนังสังเคราะห์

4. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene หรือ LDPE) ได้แก่ ถุงพลาสติก ขวดบีบ และบรรจุภัณฑ์อาหาร

5. พอลิโพรไพลีน (Polypropylene หรือ PP) ได้แก่ ฝาขวด ภาชนะบรรจุโยเกิร์ต ภาชนะเก็บอาหาร แคปซูลกาแฟ และขวดนม เป็นต้น

6. พอลิสไตรีน หรือ สไตโรโฟม (Polystyrene หรือ Styrofoam หรือ PS) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์บรรจุถั่วลิสง ภาชนะบรรจุอาหารที่ใช้แล้วทิ้ง จานและถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง

7. พลาสติกชนิดอื่นๆ ได้แก่ โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) โพลีแลกไตด์ (Polylactide) อะคริลิค (Acrylic) อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (Acrylonitrile butadiene styrene) ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) และไนลอน (Nylon)

อย่างไรก็ตาม พลาสติกบางชนิดนั้นจะมีการใช้สารเติมแต่ง เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ ต้องการ ซึ่งสารเติมแต่งนั้นรวมถึง สารเสริมสี และสารเพิ่มความคงตัว

ไขข้อสงสัย: เอาพลาสติกเข้าไมโครเวฟ ปลอดภัยหรือไม่

ข้อกังวลหลักๆ ของพลาสติกกับไมโครเวฟ ก็คือ การทำปฏิกริยากับสารบางชนิด ก่อให้เกิดเป็นสารอันตรายที่สามารถปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม

สารเคมีหลักที่น่าเป็นห่วง คือ บิสฟีนอล เอ หรือที่คนไทยมักจะรู้จักการในชื่อเรียกสั้นๆ ว่า สาร BPA (Bisphenol A; BPA) และสารเคมีประเภทหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า สารพทาเลท (Phthalate) ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้ใช้เพิ่มความยืดหยุ่นและความทนทานของพลาสติก

สาร BPA สามารถทำลายฮอร์โมนของร่างกายและยังเชื่อมโยงกับโรคอ้วน โรคเบาหวาน และเป็นอันตรายต่อการเจริญพันธุ์อีกด้วย โดยปกติแล้ว สาร BPA พบมาในพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี 1960 เพื่อผลิตเป็นภาชนะเก็บอาหาร แก้วน้ำ และขวดนม โดยสาร BPA จากพลาสติกเหล่านี้สามารถปนเปื้อนลงไปในอาหารและเครื่องดื่มได้เมื่อเวลาผ่านไป เช่นเดียวกับพลาสติกที่สัมผัสความร้อนจากไมโครเวฟ

ทุกวันนี้ผู้ผลิตอาหารส่วนใหญ่มักจะเก็บรักษาอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไว้ในพลาสติกที่ปลอดสารบิสฟีนอล เอ โดยหันมาใช้พลาสติกแบบพอลิโพรไพลีนแทน

ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจาก สาร BPA (BPA-Free) อาจยังไม่ปลอดภัย 100%

อย่างไรก็ตาม ทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ได้ออกกฎห้ามใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของ สาร BPA ในบรรจุภัณฑ์สำหรับเด็กทารก แก้วหัดดื่ม (Sippy cup) และขวดนมสำหรับเด็กด้วย นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า แม้พลาสติกจะปลอดสาร BPA แต่มันก็ยังสามารถปล่อยสารเคมีที่รบกวนฮอร์โมนอื่นๆ เมื่อนำอาหารเข้าสู่ไมโครเวฟ

ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะหลีกเลี่ยงการนำพลาสติกเข้าสู่ไมโครเวฟ เว้นแต่พลาสติกนั้นจะได้มาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือภาชนะบรรจุนั้นมีฉลากที่ระบุเอาไว้ว่าปลอดภัยสำหรับไมโครเวฟ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook