“ร้านสะดวกซื้อ” เสี่ยงแพร่เชื้อ “โควิด-19” ได้อย่างไร?

“ร้านสะดวกซื้อ” เสี่ยงแพร่เชื้อ “โควิด-19” ได้อย่างไร?

“ร้านสะดวกซื้อ” เสี่ยงแพร่เชื้อ “โควิด-19” ได้อย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร้านสะดวกซื้อสำหรับเรา ก็สะดวกแพร่เชื้อไวรัสด้วยหรือเปล่า แล้วคนขายคนซื้อควรทำอย่างไรเพื่อลดเสี่ยงโควิด-19

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ร้านสะดวกซื้อ ประเภทซุปเปอร์มาเก็ต มินิมาร์ท และร้านขายของชำ นับเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 


“ร้านสะดวกซื้อ” เสี่ยงแพร่เชื้อ “โควิด-19” ได้อย่างไร?

นอกจากร้านสะดวกซื้อมักเป็นสถานที่ที่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ เดินเข้าออกต่อวันค่อนข้างจำนวนมากและบ่อยครั้งตลอดทั้งวันแล้ว ยังเป็นสถานที่ปิด ขนาดของห้องก็มักจะไม่ใหญ่มาก ทางเดินไม่กว้างมาก ทำให้เสี่ยงต่อการที่ต้องอยู่พื้นที่จำกัดเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการสัมผัสของบนชั้นที่อาจมีการหยิบเข้าออกหลายมือ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ของเชื้อโควิด-19 ผ่านการสัมผัสของร่วมกันได้อีกด้วย


คำแนะนำต่อผู้บริโภค ในการเข้าใช้บริการร้านสะดวกซื้อ

  1. เพื่อลดระยะเวลาที่อยู่ภายในร้านสะดวกซื้อนั้น ผู้บริโภคควรมีการวางแผนล่วงหน้าในการเลือกซื้อสินค้า และหยิบจับสัมผัสสินค้าเฉพาะที่ต้องการเท่านั้น

  2. ขณะใช้บริการให้สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย

  3. ควรรักษาระยะห่างกับผู้อื่นในระยะ 1-2 เมตร เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อโรค

  4. ต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังการเลือกซื้อสิ้นค้าเพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับตนเอง


คำแนะนำต่อเจ้าของร้านสะดวกซื้อ เพื่อลดการแพร่กระจายของโควิด-19

  1. สถานที่จำหน่ายสินค้า ต้องทำความสะอาดบริเวณพื้น เคาน์เตอร์ชำระเงิน เป็นประจำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง และอาจฆ่าเชื้อโรคด้วยแอลกอฮอล์ 70%

  2. จัดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสำหรับผู้บริโภคบริเวณทางเข้า-ออก

  3. มีการกำหนดจุดระหว่างพนักงาน และผู้บริโภคที่ใช้บริการ ต้องจัดให้มีมาตรการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร

  4. สำหรับตระกร้าหรือรถเข็นใส่สินค้าให้ทำความสะอาดทุกวันโดยเฉพาะบริเวณที่จับ

  5. หากภายในร้านมีการปรุงอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อจำหน่าย บริเวณที่ปรุงประกอบอาหาร  ต้องสะอาดปลอดภัย มีการปกปิดอาหาร และอุ่นอาหารทุกๆ 2 ชั่วโมง

  6. อุปกรณ์สำหรับหยิบ จับ หรือตักอาหารแบบบริการตนเอง ควรเลือกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือใช้แบบที่ผู้บริโภคสามารถนำกลับไปด้วยเมื่อเลือกอาหารเสร็จ

  7. พนักงานต้องดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเอง และลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อโรคระหว่างปฏิบัติงานโดยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานหลังเข้าส้วม หลังจับสิ่งสกปรก หลังจับเงิน

  8. หากพนักงานขายมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ  ให้หยุดงานและไปพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำในการแยกจัดโซนของประเภทอาหารที่ต้องแช่เย็นเอาไว้ให้เป็นหมวดหมู่ตามประเภทของสินค้า ดังนี้

  • อาหารสด มีการปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม

  • อาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค ต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมกับอาหาร และติดฉลากข้อมูล เช่น สถานที่ผลิต วัน/เดือน/ปี เวลาที่ผลิต

  • อาหารแห้ง ต้องแยกเก็บตามประเภทโดยไม่ปะปนกัน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook