อันตรายจากการ "กินน้ำแข็งในช่องฟรีซ"

อันตรายจากการ "กินน้ำแข็งในช่องฟรีซ"

อันตรายจากการ "กินน้ำแข็งในช่องฟรีซ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตู้เย็นรุ่นแรก ๆ จะมีน้ำแข็งเกาะตามตู้ของช่องแช่แข็งหรือช่องฟรีซ ซึ่งเกิดจากความชื้นตอนเปิดประตูตู้ โดยน้ำแข็งจะหนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ใช้ต้องละลายน้ำแข็งเอง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีหลายคนเลยทีเดียว ที่ชอบไปแซะน้ำแข็งในช่องฟรีซมากิน พร้อมให้เหตุผลว่าเพราะมันอร่อย และกลายเป็นว่าชอบกินจนติดเป็นนิสัยไปซะแล้ว


อันตรายจากการกินน้ำแข็งในช่องฟรีซ

ความจริงน้ำแข็งในช่องฟรีซนั้นไม่ได้สะอาดเลย เนื่องจากช่องฟรีซของตู้เย็นเราจะมักนิยม เอาพวกเนื้อสัตว์ใส่ถุงไปแช่ไว้ ซึ่งแน่นอนว่าเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา และจุลินทรีย์ที่ติดมากับเนื้อสัตว์หรือถุงต่างๆ อาจจะทำให้ท้องเสียหรืออุจจาระร่วงได้นั่นเอง

นอกจากนี้การใช้ช้อน มีด หรือของมีคมอื่น ๆ ไปงัดแซะน้ำแข็งออกจากช่องฟรีซ ยังจะทำให้แผงความเย็นชำรุดอีกด้วย และการใช้น้ำราดในช่องแช่แข็ง ยังอาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและเสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมดังกล่าว


โรคเสพติดน้ำแข็ง

แพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล กูรูด้านสุขภาพ ได้อธิบายอย่างย่อๆ เกี่ยวกับโรคเสพติดน้ำแข็ง ไว้ในทวิตเตอร์ส่วนตัว @thidakarn ว่า “Pagophagia คือโรคเสพติดน้ำแข็ง มาจากภาษากรีก pagos ซึ่งแปลว่าน้ำแข็ง บวกกับ phago ซึ่งแปลว่ากิน ผู้ป่วยจะย้ำคิดย้ำทำกับการกินน้ำแข็ง จนเกิดผลเสียกับสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะการเคี้ยวน้ำแข็งมากๆ ที่ส่งผลเสียกับฟันได้”

ซึ่งอาจทำให้สรุปได้ว่าการเสพติดน้ำแข็ง ส่วนหนึ่งอาจมีต้นเหตุมาจากปัญหาทางจิตด้วย ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่น้ำแข็งแบบก้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงน้ำแข็งในช่องฟรีซด้วย โดยการกระทำดังกล่าวเราเรียกกันว่า “พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ” ซึ่งเว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ได้อธิบายถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD) ว่า เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำ ๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และมีการตอบสนองต่อความคิด ด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้

ซึ่งมีสาเหตุด้วยกัน 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยทางชีวภาพ (สมอง ประสาท พันธุกรรม) และปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ แต่ทั้งนี้โรคดังกล่าวก็สามารถรักษาได้ ด้วยพฤติกรรมบำบัดและรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า โดยอาจมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ หรือรักษาด้วยยาคลายกังวล และยาต้านโรคจิต

ท้ายที่สุดหากรู้สึกว่าหยุดกินน้ำแข็งไม่ได้ หรือไม่สามารถควบคุมตัวเอง ให้หยุดไปแซะน้ำแข็งจากช่องฟรีซได้ ก็ควรเข้าพบและปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตก่อน ว่ามีปัญหาหรือไม่อย่างไร จะได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและถูกต้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook