Trigger Point ภัยเงียบชาวออฟฟิศ

Trigger Point ภัยเงียบชาวออฟฟิศ

Trigger Point ภัยเงียบชาวออฟฟิศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่าปฏิเสธเลยว่าไม่เคยปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสักกะนิด...คนทำงานออฟฟิศอย่างเราๆ ร้อยทั้งร้อยเป็นกันทุกคน ก็ชีวิตคนทำงานยุคนี้นับวันก็ยิ่งสะดวกสบาย นั่งแช่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวก็ทำประโยชน์ได้สารพัด แต่การนั่งอยู่หน้าคอมพ์นานๆ นี่แหละ ทำให้โรคหลายต่อหลายโรควิ่งโร่อยากเป็น เพื่อนสนิทกับเราซะเหลือเกิน ซึ่งหนึ่งใน นั้นก็คือ ‘โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง' ที่นำไปสู่ ‘Trigger Point' หรือ  ‘จุดกดเจ็บ’ ได้นั่นเอง

 


Trigger Point คืออะไร
โดยปกติแล้ว คนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนบน ไล่มาตั้งแต่คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ซึ่งเราก็มักจะใช้วิธีการนวด ทายาคลายกล้ามเนื้อ หรือรับประทานยาและประคบด้วยความร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและรู้สึกดีขึ้น แต่ก็สามารถช่วยได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะ Trigger Point หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จุดที่เรากดลงไปแล้วรู้สึกปวด เจ็บแปลบๆ เหมือนมีก้อนแข็งๆ เล็กๆ ยังคงไม่สลายไป

Trigger Point เกิดขึ้นได้อย่างไร
คนทำงานออฟฟิศมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (MPS-Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งสะสมต่อเนื่อง นานเข้าจะเกิดเป็นก้อนเล็กๆขนาด 0.5-1 เซนติเมตร เรียกว่า TriggerPoint หรือ ‘จุดกดเจ็บ' จำนวนมาก ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืด พอมีจุดกดเจ็บมากขึ้น ออกซิเจนและเลือดจะส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแอ เกิดอาการปวด ส่งต่อไปยังบริเวณใกล้เคียงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังตามมา

อาการที่แสดงว่าเป็น Trigger Point
มีอาการปวดร้าวลึกของกล้ามเนื้อ อาจจะปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลานั่งทำงาน บางคนอาจเป็นหนักจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นได้ หรือบางคนอาจลามไปถึงปวดศีรษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ มีอาการชาตามมือและแขน ต่อมาอาจส่งผลให้เกิดปัญหาโครงสร้างของร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ นำไปสู่โรคภัยอีกนับไม่ถ้วน

รักษา Trigger Point ได้อย่างไร
หลายคนเข้าใจว่า หากปล่อยอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนี้ไว้หรือนวดบ่อยๆ จะสามารถหายได้เอง แต่ความจริงแล้วเพียงแค่ช่วยบรรเทาเท่านั้น หลังจากนั้นไม่นาน อาการปวดเมื่อยก็กลับมาเป็นได้อีก เพราะจุดTrigger Point ยังคงอยู่ ซึ่งจะกลายเป็นโรคเรื้อรังตามมา และหากปล่อยไว้นานๆ โดยไม่รักษา จะทำให้ Trigger Point ใหญ่ขึ้นและแน่นขึ้น จนไปกดทับเส้นเลือดและเส้นประสาท อาจนำมาสู่อาการปวดไมเกรน หากไปกดทับเส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการชา ความดันโลหิตสูง และนอนไม่หลับร่วมด้วย อันเนื่องจากเลือดไหลเวียนไม่สะดวก

แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ?
เรื่องอย่างนี้แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญค่ะ คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ Doctor Care มีวิธีรักษา Trigger Point โดยใช้วิธีการนวดกดจุดที่เรียกว่า Trigger Point Therapy เพื่อลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และสลาย Trigger Point ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวดเรื้อรัง และยังป้องกันการกลับมาของ Trigger Point ได้อย่างถูกวิธีอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยง โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
1. ท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม
2. ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์
3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ
4. การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
5. การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
6. ขาดการดูแลและบริหารกล้ามเนื้อ ออกกำลังกาย


ผู้หญิงมีเรื่องอีกเยอะ.. ดูต่อ

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook