ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?

ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?

ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาลูกท้องผูกเชื่อว่ามีกันทุกบ้านค่ะ อาการจะมีตั้งแต่ทองผูกเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง หรือเป็นแผลปริแตกบริเวณทวารหนัก มีเลือดออกที่บาดแผลหรือเคลือบก้อนอุจจาระออกมาด้วย วันนี้เรามีคำแนะนำในการแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยมีอาการท้องผูกมาฝากกันค่ะ

ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?
ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่าอาการอย่างไรถึงจะเรียกว่าท้องผูก โดยหลักเกณฑ์ทั่วไปก็คือ ถ่ายอุจจาระแข็งทุก 3 วัน ปัญหานี้เริ่มมีตั้งแต่เด็กน้อยในวัยทารก อายุ 1-2 เดือน คุณแม่มักเป็นกังวลที่ลูกไม่ยอมถ่ายเพียง 1-2 วัน ก็ไม่สบายใจ แต่สำหรับเด็กทารกแล้ว ถ้าไม่ถ่าย 3-4 วัน เวลาถ่ายออกมาไม่แข็งก็ยังถือว่าเป็นปกติค่ะ แต่ถ้ารู้สึกว่าลูกท้องผูกแล้วละก็ ลองทำขั้นตอนนี้ดูนะคะ ทดลองเปลี่ยนยี่ห้อนมผลที่ลูกทานดูก่อน เผื่อลูกอาจไม่ถูกกับนมยี่ห้อนั้นๆ เพิ่มน้ำส้มคั้น หรือน้ำลูกพรุน เพื่อช่วยในการระบายดูบ้างนะคะ ถ้ายังไม่ดีขึ้น ก็ควรจะพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยหาสาเหตุอีกทางหนึ่งค่ะ

ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?
ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?

การฝึกการขับถ่ายให้ลูกนั้นเกี่ยวกับการพัฒนาการของเด็กและที่สำคัญการเลี้ยงดูก็เป็นพื้นฐานในการฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองด้วยค่ะ การที่พ่อแม่จะฝึกการขับถ่ายให้ลูกนั้น มีพ่อแม่หลายคนถามว่าจะฝึกเมื่อไรดี โดยทั่วไปแล้วเด็กจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระเมื่ออายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี พ่อแม่จะสามารถสังเกตว่าลูกมีความพร้อมที่จะฝึกการขับถ่ายได้หรือยัง โดยดูจากสัญญาณความพร้อมดังนี้ค่ะ ลูกสามารถเดิน วิ่ง นั่งทรงตัวบนกระโถนได้ มีพัฒนาการทางภาษาเพียงพอคือสามารถทำตามพ่อแม่สั่งได้ รู้เรื่องและเข้าใจในสิ่งที่เราพูด ขั้นตอนในการฝึกนั้น ฝึกให้ลูกรู้จักนั่งกระโถน เลือกกระโถนที่นั่งสบาย วางไว้ในที่หยิบใช้ได้สะดวก ฝึกให้ลูกรู้จักพูดว่า อึ หรือ ฉี่ และสามารถบอกพ่อแม่ได้เมื่อถึงเวลาปวด พ่อแม่ควรให้คำชมเมื่อลูกทำได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ก็ไม่ควรดุหรือลงโทษนะคะ วงจรสำหรับเด็กท้องผูกนั้น ในเด็กที่มีอายุเกิน 1 ขวบถ้ากินนมมากๆ เด็กก็จะไม่ยอมทานข้าว ทำให้เกิดปัญหาท้องผูก

ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?
ปัญหาลูกท้องผูก คุณแม่แก้อย่างไรดี?

สาเหตุก็เพราะว่านมไม่มีใยอาหาร เมื่อกินนมมากเส้นใยอาหารที่จะได้จากอาหารผักก็ยิ่งน้อยลงไปด้วย เด็กจึงมักจะถ่ายเป็นก้อนกระสุน แข็งๆ หรือก้อนใหญ่ๆ และเวลาถ่ายจะรู้สึกเจ็บ รูทวารปริแตก บางคนอาจมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ การที่เด็กไม่เคยได้รับการฝึกการขับถ่ายอุจจาระนั้น เด็กจะอั้นอุจจาระเอาไว้ ไม่ยอมถ่าย ยิ่งอั้น ก้อนอุจจาระก็ยิ่งใหญ่ และแข็งขึ้น ทำให้ถ่ายยาก ข้อเสนอแนะก็คือ ควรลดปริมาณนมผง และเพิ่มปริมารอาหารที่มีเส้นใยผักและผลไม้ให้มากขึ้น

ในการฝึกการขับถ่ายของลูกนั้น ควรจะฝึกสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการถ่ายอุจจาระให้ลูกตั้งแต่ยังเด็ก คือถ่ายอุจจาระทุกวัน ตามเวลาเดิมอย่างสม่ำเสมอด้วย อย่างเช่น ทุกเช้าตื่นนอน หรือทุกเย็นหลังกลับมาจากโรงเรียน ไม่ใช่รอให้ปวดอุจจาระก่อนแล้วจึงค่อยไปถ่าย เพราะถ้าลูกๆ กำลังติดเล่นสนุกอยู่ก็จะไม่อยากไปเข้าห้องน้ำ ทำให้เด็กอั้นอาการปวดอุจจาระเอาไว้จนเป็นนิสัยได้ค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook