5 ปัญหาภาวะอารมณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจในคุณแม่ตั้งครรภ์

5 ปัญหาภาวะอารมณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจในคุณแม่ตั้งครรภ์

5 ปัญหาภาวะอารมณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจในคุณแม่ตั้งครรภ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงเวลาตั้งครรภ์ของผู้หญิงถือเป็นช่วงสำคัญ ที่จะต้องดูแลสุขภาพทั้งกายและใจให้ดี โดยเฉพาะสุขภาพใจที่คนเป็นแม่ต้องรักษาอารมณ์ให้คงที่และสร้างความสุขให้กับตัวเองเสมอ เพื่อส่งผลให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์เป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย แต่ถ้ากลับต้องเจอปัญหาหรือไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีพอ ก็อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตใจที่นำพาไปสู่ความเสี่ยงต่างๆ ดังนั้นลองมาดู 5 ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องเผชิญ ดังนี้


1.โรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลที่มากเกินกว่าคนทั่วไป จะเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ในช่วงกำลังตั้งครรภ์ โดยจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ โดยเป็นการคิดและการทำที่วนเวียนอยู่แต่กับเรื่องเดิม ๆ เช่น การเดินมาดูห้องใดห้องหนึ่งอยู่ตลอด เพราะกังวลว่าจะมีคนอยู่หรือไม่? ล็อคประตูแล้วหรือยัง? การโทรศัพท์ไปหาคนใดคนหนึ่งอยู่ตลอด เพราะกังวลหรือเป็นห่วง รวมไปถึงเรื่องเล็กน้อยที่มักจะทำบ่อยจนลืมตัว ถือว่าเป็นการแบบย้ำคิดย้ำทำที่เกิดขึ้นจากความวิตกกังวลที่มีสูงเกินไป


2.โรคซึมเศร้า
คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอดจะเผชิญกับปัญหาโรคซึมเศร้าได้มากที่สุด โดยจะมีสภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติไปจากเดิม รู้สึกเครียด เศร้า และมีความกังวลต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น ทั้งยังมีอาการนอนไม่หลับ อาการสมาธิสั้น และความรู้สึกฉุนเฉียวง่าย ผสมผสานอยู่ภายในหนึ่งเดียว ซึ่งโรคนี้จะมีปัจจัยหลายด้านที่อาจจะทำให้ถูกกระตุ้น ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอด ควรดูแลจิตใจของตัวเองให้ดี พร้อมการปรึกษาแพทย์อย่างรวดเร็ว


3.พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ
หนึ่งในปัญหาทางจิตใจของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่ส่งผลมากเช่นกัน คือ อาการทานที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการทานมากเกินไป หรือการไปทานเลย ส่งผลมาจากความผิดปกติทางอารมณ์และสภาพร่างกาย จึงทำให้พฤติกรรมของการรับประทานอาหารไม่เหมือนเดิมและอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายมากขึ้นอีกด้วย


4.โรคไบโพลาร์
ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้สึกถึงอารมณ์ที่สลับขั้วและมักจะมารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จึงทำให้คุณแม่บางรายอาจไม่สามารถบริหารอารมณ์ของตัวเองให้ดีพอ ซึ่งถ้าคุณกำลังเผชิญกับอารมณ์เหล่านี้ พร้อมมีอาการพูดเร็ว, นอนไม่หลับ, มีอาการทั้งดีใจและเสียใจสลับกันอย่างรวดเร็ว, มีอาการเบื่ออาหาร ที่ถือว่าเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ที่กำลังจะเป็นโรคไบโพลาร์ แนะนำว่าให้รีบพบแพทย์ทันที


5.โรคแพนิค
โรคแพนิคเป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความวิตกกังวลสูงเช่นกัน แต่จะมาพร้อมกับภาวะตื่นตระหนกตลอดเวลา เกิดขึ้นจากความเครียดสูงและความวิตกกังวล ที่เมื่อผสมผสานกันแล้วจะกลายเป็นความตื่นตระหนกหรือตื่นกลัวต่อทุกสิ่งรอบตัวอยู่ตลอด โดยมีอาการร่วม คือ ตกใจตื่นในช่วงกลางคืนบ่อยครั้ง, หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ, มีอาการหายใจลำบาก เมื่อกลัวแล้วมีอาการตัวสั่นมากและเวียนศีรษะร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน


ช่วงที่ตั้งครรภ์ควรดูแลจิตใจของตัวเองให้ดีเสมอ แต่ถ้าต้องเผชิญกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่อาจจะนำพาอาการเหล่านี้มาสู่คุณ  ให้รู้ทันโรคด้วยการปรึกษาแพทย์อย่างรวดเร็ว ขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่ปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook