ฮอร์โมนความเครียด ทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้หรือเปล่า?

ฮอร์โมนความเครียด ทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้หรือเปล่า?

ฮอร์โมนความเครียด ทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้หรือเปล่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การแท้งบุตร อาจเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยหนึ่งคือ ฮอร์โมนความเครียด ในการศึกษาวิจัยใหม่ในสหรัฐอเมริกา หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเครียดมีความเป็นไปได้ในการแท้งบุตรในระหว่างการตั้งครรภ์ช่วงแรก (ประมาณช่วงสามสัปดาห์แรก) มากขึ้นถึงสามเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีความเครียด

ฮอร์โมนความเครียดกับการแท้งบุตร

ในการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ดร.พาโบล เอ.เนพอมนาสชี จาก National Institutes of Health in Research Triangle Park รัฐนอร์ธดาโกต้า สหรัฐอเมริกา พร้อมทีมวิจัย ได้ทำการตรวจระดับฮอร์โมนที่พบในปัสสาวะของผู้หญิง 16 รายในชุมชนเขตชนบทของกัวเตมาลา โดยในระหว่างการศึกษาวิจัยใที่ใช้เวลาถึงหนึ่งปีนี้ ปัสสาวะของผู้หญิงเหล่านี้ได้รับการตรวจสามครั้งต่อวันอย่างระมัดระวัง เพื่อหาฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกิดขึ้นมาจากความเครียด

การศึกษาวิจัยนี้นับเป็นครั้งแรก ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของอัตราฮอร์โมนคอร์ติซอล และผลเสียต่อการตั้งครรภ์ในระยะแรก โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับความเครียดและการแท้งบุตร มีการพิสูจน์ว่าไม่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ การศึกษาชิ้นนั้นเผยว่า ประมาณร้อยละ 31 ถึง 89 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมดที่เข้าร่วมการวิจัย มีการสิ้นสุดด้วยการแท้งบุตร อย่างไรก็ดี การศึกษาส่วนใหญ่ดำเนินการขึ้นเมื่อผู้หญิงมีการตั้งครรภ์แล้ว โดยเฉพาะในช่วงหกสัปดาห์หลังจากเริ่มตั้งครรภ์

ในการศึกษาวิจัยของเนพอมนาสชิ พบว่าการแท้งบุตรเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างสามสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้น เขาจึงสันนิษฐานว่าผลการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้อาจไม่ถูกต้อง เนพอมนาสชิจึงตัดสินใจเก็บตัวอย่าง และศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัสสาวะของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวก่อนการตั้งครรภ์ แทนที่จะทำการศึกษาวิจัยในรูปแบบเดิม

กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง 16 ราย (อายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี) ที่มีการตั้งครรภ์รวม 22 ครั้ง รวมอยู่ในการศึกษาวิจัย นักวิทยาศาสตร์ตรวจวัดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลของผู้หญิงกลุ่มตัวอย่างแต่ละรายเปรียบเทียบกับระดับปกติ ในที่สุดแล้ว นักวิจัยได้ข้อสรุปว่า ผู้หญิงกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 90 ที่มีระดับฮอร์โมนจากความเครียดที่สูงขึ้น มีแนวโน้มที่จะแท้งบุตร ในช่วงสามสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33 ที่มีระดับฮอร์โมนปกติ

การศึกษาวิจัยทั้งสองรายการนี้มีผลที่แตกต่างกัน การศึกษาวิจัยรายการแรกมุ่งศึกษาเพียงการตั้งครรภ์ในระยะหลัง และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มสูงขึ้นและการแท้งบุตร ในขณะที่การศึกษาวิจัยล่าสุดโดยเนพอมนาสชิและทีมวิจัยของเขายืนยันว่า ความเครียดสามารถเป็นสาเหตุของการสูญเสียทารกในครรภ์ ในช่วงสามสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ เป็นที่กล่าวกันว่าร่างกายสามารถจดจำภาวะเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ เมื่อระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้น

ฮอร์โมนความเครียดกับการคลอดก่อนกำหนด

หากมีคำถามว่า ถ้าคุณแม่ ‘เครียด’ จะมีความเสี่ยงทำให้ ‘คลอดก่อนกำหนด’ หรือไม่? คำตอบคือ มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมามากขึ้นเรื่อยๆ สามารถทำให้มดลูกยิ่งบีบรัดตัวมากขึ้น จนเกิดการเร่งคลอดได้ โดยการคลอดก่อนกำหนด หมายถึง การเจ็บครรภ์คลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 20- 37 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะพบปัญหาทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อย ในคุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด (น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม) นอกจากนั้น การก่อนกำหนดยังเป็นผลมาจากปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คุณแม่อายุมากเกินหรือน้อยเกินไป (น้อยกว่า 17 ปีหรือมากกว่า 35 ปี) มีประวัติการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ฯลฯ

บทบาทของฮอร์โมนคอร์ติซอลยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ทั้งการศึกษาเมื่อปี 2004 และการศึกษาของเนพอมนาสชิและทีมวิจัย มีผลการศึกษาที่สอดคล้องกันว่า อัตราของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในหญิงตั้งครรภ์ลดลง อย่างไรก็ดี ไม่มีรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเกี่ยวข้องโดยตรง เกี่ยวกับฮอร์โมนคอร์ติซอลต่อการแท้งบุตร หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลสามารถกระตุ้นกลไกอื่นๆ บางประการในร่างกายที่ทำให้เกิดการแท้งบุตรได้หรือไม่

ปัจจุบันนี้มี ได้มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่กำลังดำเนินการ เพื่อหาข้อสรุปที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้นสำหรับประเด็นดังกล่าว

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook