ปัญหาผิวเด็กทารก ที่พบบ่อยและคุณแม่ควรรู้จักไว้

ปัญหาผิวเด็กทารก ที่พบบ่อยและคุณแม่ควรรู้จักไว้

ปัญหาผิวเด็กทารก ที่พบบ่อยและคุณแม่ควรรู้จักไว้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทารกแรกเกิดมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับผิวต่างๆ มากมาย เนื่องจากผิวยังต้องปรับสภาพให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกมดลูก หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ความผิดปกติของผิวหนังนั้นจะหายไปเมื่อเวลาผ่านไป หลงเหลือไว้แต่ผิวสวยไร้ตำหนิของลูกน้อย ปัญหาผิวเด็กทารก แรกเกิดมักมีดังนี้

1. ผื่น Milia

เกิดจากการหลั่งของต่อมผิวหนัง ตุ่มเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลืองที่ปรากฏขึ้นบนใบหน้าของเด็กทารกนั้น แท้จริงแล้วคือก้อนซีสต์ที่เต็มไปด้วยเคราติน (keratin) และซีบัมหรือไขมัน ผื่นชนิดนี้ยังอาจเกิดขึ้นที่บริเวณเหงือกได้ โชคดีที่อาการนี้จะหายไปภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องรักษา การน้ำมันหรือครีมทาอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้

2. ผดร้อน

เป็นลักษณะของแผลพุพองที่เต็มไปด้วยน้ำ (หรือหนอง) หรือตุ่มแดงๆ ที่ปรากฏขึ้นที่หลัง หน้าอก หรือใต้วงแขนของเด็กทารก ผดร้อนเกิดจากการอุดตันของท่อเหงื่อที่ผิวหนัง จะพบมากในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น หรือการสวมเสื้อผ้าให้ทารกมากเกินไป

3. ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก

ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก (Cradle Cap) คือสภาวะของผิวหนังที่ไขผิวหนังส่วนเกิน ยึดติดเซลล์ผิวหนังเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่สามารถผลัดออกไปได้ตามปกติ ทำให้เกิดเป็นแผ่นสีเหลืองมันเยิ้ม ที่บริเวณหนังศีรษะของเด็กทารก

4. สิวในทารกแรกเกิด

ประมาณ 30 เปอร์เซ็นของทารกแรกเกิด จะมีสิวขึ้นภายใน 4 เดือนแรก (มักเกิดขึ้นหลังจาก 2 สัปดาห์) ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าตุ่มสีขาวหรือแดงนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการถ่ายทอดฮอร์โมนของแม่ เข้าสู่ร่างกายของเด็กทารก เนื่องจากอาการนี้สามารถหายไปได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องทาน้ำมันหรือครีม เพราะอาจทำให้อาการหนักขึ้นได้

5. ผื่น Erythema toxicum

สภาวะนี้มีลักษณะเป็นรอยด่างสีแดง (บางคนอาจจะมีตุ่มสีเหลืองขาวตรงกลาง) มักจะปรากฏขึ้นที่หลัง ใบหน้า หน้าอก หรือแขนของเด็กทารก โชคดีที่ผื่นนี้ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กทารก และมักจะหายไปเองหลังจากผ่านไปไม่กี่เดือน

6. ปาน

ปานบางอย่างอาจจางหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น ในขณะที่ปานอื่นๆ อาจจะคงอยู่ไปตลอดชีวิตของเด็ก รอยปานที่พบได้โดยทั่วไปมีดังนี้ −ปานมองโกเลียน (Mongolian spots) เกิดขึ้นมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในทารกชาวเอเชีย ชาวชนพื้นเมืองอเมริกัน ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และชาวลาตินอเมริกา เป็นปานสีฟ้า-เขียว หรือฟ้า-เทา ซึ่งพบได้มากที่บริเวณหลังหรือก้นของเด็กทารก ปทานเหล่านี้จะมีรูปร่างแบน และมักจะหายไปภายในสองปี −ปานเส้นเลือดแดง (Stork bites): มีลักษณะเป็นปานแบนสีชมพู เกิดขึ้นที่บริเวณดั้งจมูก ใต้เปลือกตา หรือด้านหลังคอ รอยปานเหล่านี้อาจเรียกว่า "รอยจูบของเทวดา" (an angel’s kiss) หากเกิดขึ้นที่ด้านหน้า และเรียกว่า "รอยนกกระสากัด" (stork bite) ถ้าเกิดขึ้นที่ด้านหลัง เป็นปานแดงที่ไม่เป็นอันตราย มักจะหายไปเองใน 1-2 ปี −ปานแดงในเด็กเล็ก (Infantile hemangiomas) เป็นเนื้องอกของเส้นเลือดฝอยชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง ปานเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป มักเกิดขึ้นช่วงแรกตั้งแต่อายุ 2-4 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการรักษา อาจต้องใช้เวลานานถึง 8 ปี กว่าจะหายไป มีเพียงเนื้องอกปานแดงบางตำแหน่งเท่านั้นที่ควรเฝ้าระวังและไปพบหมออย่างสม่ำเสมอ เช่น ปานแดงที่ใบหน้า หนังตา หรือที่หลัง Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook