อาการท้องแข็ง อาการคนท้องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้และเข้าใจ

อาการท้องแข็ง อาการคนท้องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้และเข้าใจ

อาการท้องแข็ง อาการคนท้องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้และเข้าใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องใส่ใจดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะร่างกายมักมีอาการคนท้องแสดงออกมาหลายๆ อย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือ อาการท้องแข็ง หากมีอาการท้องแข็งจนรู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรระวัง อาจจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ วันนี้เราจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจในเกี่ยวกับอาการท้องแข็ง ในช่วงตั้งครรภ์มาฝากกัน

รู้จักอาการท้องแข็ง

อาการท้องแข็งเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อย ในหญิงใกล้คลอด โดยมีอายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งจะมีอาการท้องแข็งเมื่อเอามือจับดู จะรู้สึกได้ว่ามีก้อนตึง ๆ สลับกันเป็นระยะ จะมีอาการเป็นๆ หาย ๆ ในแต่ละรายก็มีอาการท้องแข็งมากน้อยแตกต่างกันออกไป ในบางรายอาจมีอาการปวดเสียดช่องท้องด้วย อาการท้องแข็งโดยปกติแล้ว จะเป็นอยู่ประมาณ 10 นาทีหรือเป็น ๆ หาย ๆ นานนับชั่วโมง

สาเหตุของอาการท้องแข็ง

อาการท้องแข็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • เกิดจากลูกในท้อง ในบางครั้งลูกดิ้นอาจไปโดนกับผนังมดลูก จนทำให้มดลูกถูกกระตุ้นจนเกิดการบีบตัว
  • เกิดจากมด ในบางกรณีอาจเกิดจากมดลูกบีบตัวขึ้นเอง จึงทำให้กล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด จึงเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดหรือแท้งได้
  • เกิดจากแก๊สในกระเพาะ การทานอาหารบางชนิด อาจก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะ เนื่องจากครรภ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เมื่อทานอาหารเข้าไปในปริมาณมาก ก็อาจทำให้ไปเบียดกับมดลูก จนเกิดการรัดตัวได้เหมือนกัน
  • เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิด บางครั้งอาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การพักผ่อนน้อย การทำงานหนัก การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง การกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ

วิธีแก้ไขอาการท้องแข็ง

1.ลดความเครียด ให้หาเวลาพักผ่อน งดการทำงานที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและความเครียด ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน ให้ทำกิจกรรมเบา ๆ อย่างเช่น การนั่งอ่านหนังสือ นอนหลับให้มากขึ้น จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

2.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง ไม่ควรจับลูบหน้าท้องขณะมีเพศสัมพันธ์เพราะจะทำให้มีการกระตุ้นของมดลูกให้เกิดการบีบตัวได้ง่าย การเหวี่ยง การจับตัวอย่างรุนแรง ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นทางที่ดี ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อนจะดีกว่า

3.เดินย่อยหลังทานอาหาร หลังการทานอาหารไม่ควรนอน ควรเดินย่อยสักครู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการจุกเสียดภายในท้อง

4.อย่ากลั้นปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ จะทำให้กระเพาะปัสสาวะโต จนไปเบียดกับมดลูก จนทำให้เกิดอาการท้องแข็งตึง โดยทั่วไปแล้วเมื่อได้ปัสสาวะแล้ว อาการท้องแข็งตึงก็จะหายไป

ในช่วงของการตั้งครรภ์อาจเกิดอาการคนท้องแบบผิดปกติหลายอย่าง เพราะร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างมาก อาการท้องแข็งก็เป็นอาการคนท้องอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อย ดังนั้น หากมีอาการท้องแข็งบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook