อันตรายจาก “น้ำแข็งแห้ง” ใช้ไม่ถูก เสี่ยงบาดเจ็บร้ายแรง

อันตรายจาก “น้ำแข็งแห้ง” ใช้ไม่ถูก เสี่ยงบาดเจ็บร้ายแรง

อันตรายจาก “น้ำแข็งแห้ง” ใช้ไม่ถูก เสี่ยงบาดเจ็บร้ายแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรอย่างบ้านเรา การจะซื้อน้ำแข็ง หรือไอศกรีมจากร้านค้ากลับบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่ซื้อจากร้านค้าบ้านใกล้เรือนเคียง หรือเดินทางด้วยความเร็วมากเพียงพอ เมื่อถึงบ้านอาจพบว่าอาหารที่เป็นของแข็งได้หลอมละลายเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลวไปเรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม บ้านเรายังมีตัวช่วยราคาไม่แพงอย่าง “น้ำแข็งแห้ง” ที่จะช่วยประคับประคองไอศกรีม และน้ำแข็งของเราให้อยู่รอดปลอดภัย ฝ่ารถติดกลับถึงบ้านไปด้วยกันอย่างสวัสดิภาพ นอกจากอาหารแล้ว น้ำแข็งแห้งยังใช้เก็บรักษายาในวงการแพทย์ ใช้เป็นอุปกรณ์ในคอนเสิร์ต และใช้ในวงการอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย ทว่าน้ำแข็งแห้งที่มีประโยชน์ขนาดนี้ หากใช้ไม่ถูกวิธี อาจสร้างอาการบาดเจ็บให้กับผู้ใช้อย่างเราๆ หรือแม้กระทั่งผู้ขายได้เช่นกัน

 

อันตรายของน้ำแข็งแห้ง จากการสัมผัส

หากไม่ระมัดระวัง หยิบจับน้ำแข็งแห้งด้วยมือเปล่า ไม่มีกระดาษ ถุงมือ หรืออุปกรณ์ใดๆ อาจทำให้ผิวหนังไหม้จากความเย็นจัด หรือที่เรียกว่า frostbite ได้

 

อันตรายของน้ำแข็งแห้ง จากการระเบิด

หากผู้ขาย หรือผู้ซื้อไปใช้ที่บ้าน บรรจุน้ำแข็งแห้งในภาชนะปิดสนิทที่ไม่มีช่องระบายอากาศ อาจทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมา เมื่อถึงระดับหนึ่งจะเกิดแรงดัน และระเบิดในที่สุด

ดังนั้นการขนส่งจะต้องบรรจุในภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุน้ำแข็งแห้งโดยเฉพาะ ที่มีช่องระบายอากาศ อันตรายจากการขาดอากาศหายใจ การเก็บ การใช้ หรือการขนส่งน้ำแข็งแห้งปริมาณมาก

นอกจากนี้ในห้องแคบหรือห้องที่มีเพดานต่ำ การระบายอากาศไม่ดี เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเหิดออกมาจะแทนที่ก๊าซออกซิเจน ทำให้ขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้น ห้องที่ใช้เก็บรักษาน้ำแข็งแห้ง การแสดงคอนเสิร์ตที่ต้องใช้น้ำแข็งแห้งในปริมาณมากๆ ควรจัดให้มีที่ระบายอากาศอย่างเพียงพอ และควรมีการระบายอากาศทางด้านล่างด้วย

 

วิธีการป้องกันอันตรายจากน้ำแข็งแห้ง

  1. น้ำแข็งแห้งไม่ใช่น้ำแข็งหรือไอศกรีม ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด
  2. ควรห่อน้ำแข็งแห้งด้วยกระดาษ การหยิบจับควรใช้ถุงมือ แต่หากเกิดการกัดจากการสัมผัส ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ ก่อนไปพบแพทย์
  3. ห้ามเก็บในภาชนะปิดสนิท หรือเก็บในห้องแคบ หรือห้องที่มีเพดานต่ำ ไม่เก็บไว้ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ระบบทำความเย็นหยุดทำงาน
  4. ขณะใช้งาน ให้ห่อด้วยกระดาษให้มิดชิด หากต้องการแบ่ง ต้องสวมถุงมือและระมัดระวังอย่าให้กระเด็นเข้าตา
  5. ห้ามนำมาเล่นสนุก เช่น ใส่ขวดปิดฝาเขย่า อาจเกิดระเบิดได้ ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก เพราะอาจเกิดอันตรายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook