6 สถิติเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

6 สถิติเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ที่คุณอาจไม่เคยรู้

6 สถิติเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ที่คุณอาจไม่เคยรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคซึมเศร้า กลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากบนโลกโซเชียลขณะนี้ หลังจากมีกรณีขัดแย้งของเพจดัง จนทำให้ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อโรคนี้อยู่บ่อยๆ บางคนอาจเข้าใจโรคนี้ดี เพราะเคยมีมีคนใกล้ตัวเป็น ขณะที่บางคนรู้จักเพียงแค่ชื่อ และต่อไปนี้คือ 6 สถิติเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่จะทำให้คุณเข้าใจถึงสถานการณ์ของโรคนี้มากขึ้น

สถิติ 'โรคซึมเศร้า' ที่อาจไม่เคยได้รู้มาก่อน

1. ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 300 ล้านคน

องค์การอนามัยเปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคน เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะเท่ากับว่า มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 4% ของจำนวนประชากรทั้งโลก 7,500 ล้านคน

2. ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าราว 900,000 คน

ข้อมูลจากงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 เมื่อปี 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตลอดช่วงชีวิตถึง 900,000 คน หรือคิดเป็น 1.8% ของประชากรทั้งประเทศ

3. ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย

จากสถิติพบว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายถึง 70%

4. ผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากไม่ได้เข้ารับการรักษา

ในประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงเป็นอันดับ 3 ของโลกอย่างสหรัฐฯ อเมริกา ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

5. วัยที่เป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด คือ ช่วงอายุระหว่าง 25-44 ปี

แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าคนที่อายุมากหรือน้อยกว่าจะปลอดภัยจากโรคซึมเศร้า เพราะวัยรุ่นและผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยก็ประสบกับปัญหานี้ ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐฯ ที่ 10% ของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 65 ปี

6. คนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

คนที่มีพ่อแม่หรือพ่อน้องเป็นโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงที่จะแสดงอาการของโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 1.5 – 3 เท่า แต่นั่นไม่ได้แปลว่าโรคซึมเศร้าเป็นการถ่ายทอดผ่านทางยีน ต่างจากโรคไบโพลาร์ที่มีพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ แต่ขั้นแรกจะต้องเริ่มจากความเข้าใจในโรคนี้ก่อน ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผู้ป่วยเอง แต่ยังรวมถึงคนรอบตัวด้วย โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด ไม่ควรปล่อยให้โรคซึมเศร้ารุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับที่นอกจากจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยตัดสินใจจบชีวิตตัวเองได้

 

 

___________________

Credits : NoozUp

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook