“นิ่วน้ำลาย” คืออะไร อันตรายหรือไม่?

“นิ่วน้ำลาย” คืออะไร อันตรายหรือไม่?

“นิ่วน้ำลาย” คืออะไร อันตรายหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากพูดถึงโรคนิ่ว ทุกคนคงนึกถึงโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี หรือนิ่วในไต แต่อาจมีอีกโรคหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่เคยได้ยิน นั่นก็คือ “นิ่วน้ำลาย” หรือ “นิ่วในต่อมน้ำลาย” นั่นเอง อาการเป็นอย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน และมีวิธีป้องกันอย่างไร มาดูกันค่ะ

 

นิ่วน้ำลาย คืออะไร?

นิ่วน้ำลาย หรือนิ่วในต่อมน้ำลาย เป็นอาการผิดปกติของท่อน้ำลายที่มีการอุดตัน จนทำให้น้ำลายไม่สามารถไหลออกมาให้ความชุ่มชื้นภายในปากได้ตามปกติ เมื่อมีอาการคั่งของน้ำลายมากๆ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด และอาจติดเชื้อ จนกลายเป็นผนังท่อน้ำลายอักเสบ หรือเป็นฝีได้

 

นิ่วน้ำลาย เกิดจากสาเหตุใด?

นิ่วน้ำลาย อาจยังไม่สามารถหาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่ชัด แต่เกิดขึ้นจากการสะสมขององค์ประกอบทางเคมีในน้ำลาย ส่วนใหญ่เป็นแคลเซียม อาจเกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำลายลดลงและ/หรือมีผนังท่อน้ำลายหนา ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ยังหาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ไม่ขัดเจน

 

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วน้ำลาย

ถึงแม้ว่าเราจะยังหาสาเหตุที่เกิดโรคนิ่วน้ำลายได้ไม่ชัดเจน แต่เราพอจะทราบปัจจัยเสี่ยงที่เป็นการกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้มากขึ้น นั่นคือ การดื่มน้ำน้อย การใช้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาต้านฮีสตามีน ยาลดความดันโลหิต ยาทางจิตเวช และยาควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจเกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ กระทบกระแทกของต่อมน้ำลาย จนทำให้น้ำลายคั่ง จนเกิดเป็นนิ่ว ขัดขวางการไหลของน้ำลาย จนทำให้ท่อน้ำลายอุดตันได้

 

วิธีป้องกันจากโรคนิ่วน้ำลาย

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เราห่างไกลจากโรคนิ่วน้ำลาย คือการดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน อย่าให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ รักษาความสะอาดในช่องปาก ทั้งฟัน เหงือก และลิ้น และหากพบอาการอักเสบ ปวด หรือบวมในบริเวณช่องปาก เหงือก หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้รีบปรึกษาแพทย์ในทันที โดยอาจเลือกแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลเกี่ยวกับ หู คอ จมูก

 

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นนิ่วน้ำลาย

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการหลั่งของน้ำลาย สามารถทำได้โดยการประคบบริเวณที่ปวดด้วยน้ำอุ่น ใช้มือรีดข้างแก้ม คาง และบริเวณด้านข้างลงมาตามแนวแก้ม ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีรสชาติเปรี้ยว เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ซึ่งอาจช่วยให้ก้อนนิ่วเล็กๆ หลุดออกมาได้ แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ อาจต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook