“โพรไบโอติคส์” แบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย แต่ไม่ได้ดีกับทุกคน
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/0/4233/istock_30223814_medium.jpg“โพรไบโอติคส์” แบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย แต่ไม่ได้ดีกับทุกคน

    “โพรไบโอติคส์” แบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย แต่ไม่ได้ดีกับทุกคน

    2023-05-04T08:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ช่วงที่ผ่านมานี้คงได้เห็นเหล่าแพทย์ในโลกโซเชียลออกมาพูดถึงเรื่องของ โพรไบโอติคส์” กันนะคะ เพราะอาจจะยังมีหลายคนที่มีความเข้าใจในเรื่องของโพรไบโอติคส์ไม่ถูกต้องครบถ้วนนัก อาจจะทราบแต่เพียงว่าเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในโยเกิร์ต ทานแล้วให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ใช่ว่าเจ้าโพรไบโอติคส์ในโยเกิร์ตจะเหมาะกับคนทุกประเภทเสมอไป

    เฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆ แบบหมอแมว อธิบายถึงเจ้าโพรไบโอติคส์เอาไว้อย่างละเอียด ว่าต้นกำเนิดงานวิจัยของโพรไบโอติคส์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมโพรไบโอติคส์แต่ละชนิดถึงเหมาะเฉพาะกับบางคน ถ้าไม่ทานโพรไบโอติคส์แล้วสามารถทานอะไรทดแทนได้หรือไม่ และแม้กระทั่งเรื่องของ “แลคโตบาซิลลัส” ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว และอวัยวะเพศหญิง หาคำตอบได้จากโพสของคุณหมอด้านล่างเลยค่ะ

    ____________________

    โพรไบโอติคส์

    อ่านของจ่าแล้วดูสั้นๆ ขยายความละกัน ... คือเชื่อว่าคำๆนี้หลายคนคงจะเคยได้ยินกันมาบ้าง หลายคนอาจจะเคยได้ยินตั้งแต่สมัย 20-30 ปีก่อนตอนที่อาหารเพื่อสุขภาพกำลังดังๆ แต่อาจจะยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร แถมมันยังมีหลายคำกันเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น โพรไบโอติคส์ พรีไบโอติคส์ หรือซินไปโอติคส์

    โพรไบโอติคส์ ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลกคือจุลชีพมีชีวิต ที่เมื่อให้เข้าไปในร่างกายในขนาดที่เหมาะสมแล้วจะก่อนให้ผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งที่มาที่ไปเริ่มต้นมาจากสมัยก่อน นมวัวเป็นอาหารที่เก็บได้ยาก เก็บไว้ไม่กี่วันก็เสียแล้วกินเข้าไปก็ท้องเสียป่วยไม่สบาย ... แต่พอเอาไปผ่านกระบวนการบางอย่างทำให้เป็นชีสเป็นโยเกิร์ตก็พบว่าเก็บได้นานขึ้น คนก็ใช้การถนอมอาหารแบบนี้กันเรื่อยมา

    จนพอวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ราวๆปี 1900 ก็มีนักศึกษาแพทย์คนนึงเอาโยเกิร์ตไปตรวจดูแล้วพบว่าในโยเกิร์ตจะมีเชื้อ แบคทีเรียรูปแท่งตัวยาวๆเต็มไปหมด พองานวิจัยแพร่ออกไป ก็มีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียรางวัลโนเบลคนนึงให้ความสนใจ เพราะเจ้าโยเกริ์ตที่ว่านี้เป็นอาหารที่นิยมกินกันในคนบางท้องถิ่น และคนในพื้นที่นั้นดูเหมือนมีอายุยืนกว่าคนในแถบอื่นๆ เขาก็เลยตั้งสมมุติฐานขึ้นมาว่าแบคทีเรียในลำไส้น่าจะปล่อยสารพิษอะไรบางอย่างออกมา และกรดแลคติกที่เชื้อในโยเกิร์ตสร้างขึ้นก็สามารถยับยั้งกระบวนการความชราได้

    อันนี้เป็นสมมุติฐานความเชื่อ ซึ่งเค้าก็กินเจ้านมเปรี้ยวโยเกิร์ตนี้ไปจนแก่และเสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้มีคำตอบที่ชัดเจนขึ้นมาว่าตกลงเจ้าเชื้อที่ว่านี้ช่วยให้คนมีสุขภาพดีขึ้นจริงไหม

    ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจนปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจเรื่องเชื้อโรคในร่างกายมีมากขึ้น เราพบว่าในบรรดาเชื้อต่างๆที่อาศัยอยู่ในร่างกายเรา

    บางชนิดอยู่กับเราเหมือนไม่มีอะไรแต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอก็จะลุกขึ้นมาทำร้ายเรา

    บางชนิดก็อยู่กับเราโดยไม่ได้ก่อโรคแต่ว่าส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายของเรา

    บางชนิดก็ไม่ได้ก่อโรค แต่ว่าส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย

    บางชนิดก็อยู่แบบเป็นมิตร แบบช่วยเราจากสามพวกแรก

    ซึ่งตามธรรมชาติแล้ว เราจะมีเชื้อพวกไหนมากก็ขึ้นกับอาหารที่กินเข้าไป ซึ่งโดยรวมแล้วการกินอาหารประเภทเนื้อและไขมันอิ่มตัวจะส่งผลให้เชื้อที่ไม่ค่อยดีเกิดขึ้นมาก และอาหารประเภทที่มีเส้นใยจะช่วยให้เชื้อชนิดที่ดีและเป็นมิตรเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งในบางครั้งการปรับเปลี่ยนอาหารอาจจะทำให้เห็นผลได้ไม่เร็วพอตามต้องการ หรือบางคนอาจจะเปลี่ยนการกินไม่ค่อยได้ ดังนั้นเลยมีการศึกษาเรื่องโปรไบโอติก ว่าจะใช้เชื้ออะไรกินเข้าไปในร่างกายแบบไหนให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด

    งานวิจัยที่มีเยอะๆหน่อยก็จะเป็นพวกการใช้โปรไบโอติกในการรักษาท้องเสีย นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยโรคอื่นๆอีกมากมายที่ผลสรุปยังไม่ชัดเจน เช่นโรคในระบบทางเดินอาหาร(การติดเชื้อH.Pylori,ลำไส้แปรปรวน,ลำไส้อักเสบบางชนิด) , เรื่องการลดคอเลสเตอรอลในเลือด , การลดสารอักเสบ , ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย

    สำหรับคนที่ต้องการรักษาสุขภาพด้วยโปรไบโอติก ก็อาจจะลองไปค้นหาดูว่าเรามีอาการไหนที่เหมาะกับโปรไบโอติกชนิดใดแล้วกินอาหารที่มีโปรไบโอติกนั้นๆ (โปรไบโอติกแต่ละตัวไม่เหมือนกัน ต้องไปดูจากงานวิจัย) หรือถ้าไม่อยากคิดอะไรมากก็กินอาหารที่มีกากใยอาหาร กินพวกพืชผักตามธรรมชาติ กินไขมันอิ่มตัวให้พอดี และอย่ากินน้ำตาลมากเกินไปครับ

    ปล. สำหรับท่านที่สงสัยว่า ในเมื่อในโยเกิร์ต มีแลคโตบาซิลลัส ... และในช่องคลอดคนก็มีแลคโตบาซิลลัส แล้วที่มาของโยเกิร์ตคือเชื้อจากที่ตรงนั้นหรือเปล่า ...

    คำตอบคือไม่ใช่นะครับ เพราะมีคนพบว่าแลคโตบาซิลลัสในโยเกิร์ต มีที่มาจากเชื้อจากแลคโตบาซิลลัสจากพืชผักต้นไม้นะครับ