5 เหตุผลที่อาจทำให้ IF ลดน้ำหนักไม่ได้ผล แถมยังอันตรายต่อสุขภาพ

5 เหตุผลที่อาจทำให้ IF ลดน้ำหนักไม่ได้ผล แถมยังอันตรายต่อสุขภาพ

5 เหตุผลที่อาจทำให้ IF ลดน้ำหนักไม่ได้ผล แถมยังอันตรายต่อสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คิดอยากจะทำ IF เพื่อลดน้ำหนัก แต่ถ้าทำไม่ถูกวิธี อาจเป็นเหตุให้ต้องเข้าโรงพยาบาลได้

นักกำหนดอาหาร คลินิกควบคุมน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า Intermittent Fasting (IF) หรือการอดอาหารเป็นช่วงๆ เป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

IF คือการกำหนดช่วงเวลาในการกินอาหาร

การลดน้ำหนักแบบ IF เป็นการกำหนดช่วงเวลาในการอดอาหาร (Fasting) และรับประทานอาหาร (Feeding) โดยไม่เน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคอาหาร แต่เป็นการกำหนดเวลาในการรับประทานอาหารจะทำให้ลดปริมาณการกินอาหารและลดพลังงานจากอาหารที่ได้รับ และในช่วงเวลาที่อดอาหาร (Fasting) ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ลดลง ส่งผลให้การเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดไปเป็นไขมันลดลง ทำให้การกักเก็บไขมันใต้ผิวหนังและน้ำหนักลดลง และช่วงที่ระดับอินซูลิน (Insulin) ลดลง ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) และนอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) เพิ่มขึ้นอีกด้วย

5 เหตุผลที่อาจทำให้ IF ลดน้ำหนักไม่ได้ผล แถมยังอันตรายต่อสุขภาพ

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ระบุถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ IF (Intermittent Fasting) เอาไว้ ดังนี้

  1. เลือกช่วงเวลาการอดอาหารไม่เหมาะสม ทำให้ร่างกายเกิดความหิว ควรเลือกช่วงเวลาให้เหมาะสม เช่น ช่วงเวลาที่ร่างกายยังไม่ต้องการสารอาหาร (ตอนกลางคืนไปจนถึงตอนนอน) เป็นต้น
  2. ไม่ได้ประเมินร่างกายก่อนด้วยการวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI เพื่อกำหนดช่วงเวลาหรือวิธี รวมถึงระยะเวลาในการอดอาหารที่เหมาะสม
  3. ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนทำ IF ในกรณีที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาทางสุขภาพเฉพาะตัวอื่นๆ
  4. ยังฝืนอดอาหารต่อไป แม้มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น รู้สึกไม่สบาย ทรมาน นอนไม่หลับ ปวดแสบท้อง ฯลฯ หากทำได้ถูกต้องจะไม่เกินอาการทรมานร่างกายมากขนาดนั้น
  5. อยู่ในกลุ่มอายุที่ยังไม่สมควรทำ IF ได้แก่ กลุ่มที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรืออายุต่ำกว่า 12 ปีลงไป เพราะจะทำให้ขาดสารอาหารได้

การทำ IF สามารถช่วยลดน้ำหนักอย่างได้ผลในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป หากทำอย่างถูกต้อง หากสนใจทำ IF ควรปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการ รวมถึงประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองและต้องไม่มีโรคประจำตัวก่อนทำ IF เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการขาดสารอาหาร ขาดพลังงาน จนอาจเกิดผลกระทบที่แสดงให้เห็นในค่าเลือดและการทำงานของร่างกายหลายระบบในภายหลังได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook