แพทย์แนะ “วิตามิน” อะไร กินแล้วช่วยลดเสี่ยง “โควิด-19” ได้

แพทย์แนะ “วิตามิน” อะไร กินแล้วช่วยลดเสี่ยง “โควิด-19” ได้

แพทย์แนะ “วิตามิน” อะไร กินแล้วช่วยลดเสี่ยง “โควิด-19” ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่เราพยายามรับประทานกันอยู่ทุกวันแล้ว หลายคนอาจจะไม่แน่ใจว่าร่างกายของเราได้รับวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคได้มากเพียงพอหรือเปล่า จึงอยากหาตัวช่วยเป็นการรับประทาน “วิตามิน” เพิ่ม

Sanook Health มีข้อมูลจาก Podcast รพ.สมิติเวช โดย พญ.ม.ล.ธัญญ์นภัส เทวกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน และเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ มาฝากกัน

วิตามิน ป้องกัน “โควิด-19” ได้หรือไม่?

ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานวิจัยที่ยืนยันได้ 100% ว่าสามารถ “ป้องกัน” โควิด-19 ได้ เพียงแต่มีคุณสมบัติของวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดที่ช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันโรค และต้านการอักเสบของร่างกาย และเมื่อภูมิคุ้มกันโรคทำงานได้ดีแล้ว ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสก็จะลดน้อยลง

วิตามินที่ช่วยเรื่องของการฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกาย ได้แก่

  • วิตามินซี
  • วิตามินดี
  • สังกะสี หรือซิงค์
  • สารแอนตี้ออกซิแดนท์ต่างๆ

วิตามินที่กินเพิ่มเข้าไป จะเป็นประโยชน์กับเรามากน้อยแค่ไหน?

เราจะได้รับประโยชน์จากวิตามินที่เรากินเพิ่มเข้าไปมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของเรากำลัง “ขาด” วิตามินตัวไหนอยู่ ทราบด้วยการเจาะเลือดตรวจ แล้วกินวิตามินเสริมเพิ่มเฉพาะตัวที่ขาด

การกินวิตามินเสริมโดยที่ร่างกายของเราไม่ได้ขาดวิตามินตัวนั้นๆ มากนัก อาจทำให้เราได้รับวิตามินชนิดนั้นมากเกินไป และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของตับ หรือไตได้ ดังนั้นหากร่างกายไม่ได้ขาดวิตามินมากถึงขั้นต้องกินเสริม ก็ไม่มีความจำเป็นต้องกิน

ไม่อยากตรวจเลือด แต่ไม่อยากให้ร่างกายขาดวิตามิน ควรทำอย่างไร?

  1. รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง น้ำตาลต่ำ เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล
  2. รับประทานอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น แครอท มะละกอสุก มะม่วงสุก มะเขือเทศ มะปรางหวาน มะยงชิด สัปปะรด แตงโม ส้ม
  3. เพิ่มวิตามินดีให้กับร่างกายด้วยการให้ผิวรับแสงแดดยามเช้า (ไม่เกิน 8 โมงเช้า) เป็นเวลา 10-15 นาที โดยไม่ต้องทาครีมกันแดด เพื่อให้ผิวรับวิตามินจากแสงแดดได้เต็มที่
  4. รับประทานอาหารที่มีซิงค์ หรือสังกะสี เช่น สัตว์ทะเลเปลือกแข็ง เช่น ปู กุ้ง หอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอบกาบ ถั่ว ธัญพืช ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ไข่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook