วิธีช่วยเบิร์น "แคลอรี่" ได้ไวขึ้น สำหรับคนอยากลดน้ำหนัก

วิธีช่วยเบิร์น "แคลอรี่" ได้ไวขึ้น สำหรับคนอยากลดน้ำหนัก

วิธีช่วยเบิร์น "แคลอรี่" ได้ไวขึ้น สำหรับคนอยากลดน้ำหนัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าพูดถึงเรื่องการลดน้ำหนักแล้วล่ะก็ คงจะเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆ คน เพราะการลดน้ำหนักที่ดีนอกจากจะควบคุมอาหารแล้ว การออกกำลังก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วก็ยังมี เคล็ดลับสำหรับคนอยากผอม บางอย่าง ที่จะช่วยให้มีการเผาผลาญแคลอรี่ได้ไวขึ้นอยู่เหมือนกัน ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

เคล็ดลับสำหรับคนอยากผอม กับการเบิร์นแคลอรี่ได้ไว

สำหรับใครที่ต้องการจะทำให้ร่างกายสามารถเบิร์นแคลอรี่ไวขึ้น ลองมาทำตามสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดูดีกว่า

  • สร้างกล้ามเนื้อ

การเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกาย จะใช้พลังงานประมาณ 50 แคลอรี่ต่อวัน จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยพบว่า การฝึกสร้างกล้ามเนื้อด้วยการยกน้ำหนักเป็นประจำจะช่วยเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึมพื้นฐานประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์

เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการเผาผลาญพลังงาน และเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายส่วนอื่นๆ การฝึกด้วยการยกน้ำหนักเพียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาประมาณ 20 นาที ก็เพียงพอต่อการสร้างกล้ามเนื้อแล้ว ไม่เพียงแต่จะช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่เท่านั้น แต่รูปร่างจะดูดีขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าน้ำหนักจะอยู่ที่เท่าไหร่ก็ตาม

  • เคลื่อนไหวเพื่อเผาผลาญแคลอรี่

เมื่อร่างกายเกิดความเคลื่อนไหว ก็จะทำให้เกิดการเผาผลาญแคลอรี่ ซึ่งคนทั่วไปจะมีการเผาผลาญแคลอรี่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ผ่านกิจกรรมประจำวันต่างๆ แต่ถ้าพยายามใช้ทุกโอกาสในการเคลื่อนไหว ก็จะเพิ่มปริมาณการเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้น ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ช่วยให้เกิดการเผาผลาญแคลอรี่ ได้แก่

เตะเท้า แกว่งขา ยืนขึ้นและเหยียดตัว เดินเปลี่ยนตำแหน่งไปมา ก้าวขึ้นลงบันได ใช้ห้องน้ำชั้นบน (หากคุณอยู่บ้าน) จอดรถในมุมที่ไกลขึ้น เพื่อจะได้เดินออกกำลัง ยืนขึ้นเมื่อใช้โทรศัพท์ อย่าใช้โทรศัพท์ภายใน แต่เดินไปเองยังที่ที่ต้องการ (หากคุณอยู่ที่ทำงานหรือบ้าน) กินอาหารรสเผ็ด

มีหลักฐานบางชิ้น บ่งชี้ว่า เครื่องเทศโดยเฉพาะพริก สามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นานถึง 3 ชั่วโมง หลังจากที่กินอาหารรสเผ็ดเข้าไป

  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือชาเขียว

คาเฟอีน (Caffeine) เป็นสารกระตุ้นที่จะช่วยในการเพิ่มแคลอรี่ที่ใช้เผาผลาญไขมัน นอกจากนั้นมันยังอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเผาผลาญในร่างกาย ที่สามารถส่งผลให้แคลอรี่เผาผลาญมากขึ้น รวมถึงทำให้ร่างกายมีพลังงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น คาเฟอีนในกาแฟทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มการเผาผลาญ และเพิ่มการสลายของกรดไขมัน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพในการดื่มกาแฟ ควรงดครีมและน้ำตาล แต่ใช้นมทดแทนในปริมาณเล็กน้อย เพื่อป้องกันแคลอรี่ส่วนเกิน

นอกจากนั้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่า ชาเขียวหรือชาดำอาจมีประโยชน์ที่นอกเหนือจากที่คาเฟอีนมีอยู่ จากการศึกษาในมนุษย์พบว่า ชาเขียวมีคุณสมบัติในการผลิตความร้อน และเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าคาเฟอีน นอกจากนั้นการดื่มชาพร้อมมื้ออาหาร อาจมีผลต่อการลดไขมัน โดยสารสกัดจากชาอาจรบกวนกระบวนการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตของร่างกายได้ด้วย

  • กินอาหารมื้อเล็กบ่อยๆ

ทุกครั้งที่กินอาหารหรือของว่าง ระบบทางเดินอาหารจะทำหน้าที่ย่อยอาหารและดูดซับอาหาร ดังนั้น หากกินมื้อเล็กหรือของว่างบ่อยๆ นั้นจะช่วยทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้น นอกจากนั้นการกินอาหารมื้อเล็กๆ ตามมื้อปกติจะทำให้เมตาบอลิซึมทำงานเร็วกว่าการกินมื้อใหญ่ๆ การกินอาหารมื้อเล็กๆ ยังสามารถช่วยควบคุมความหิวโหยได้ด้วย

  • อย่าอดอาหารเช้า

การวิจัยบางอย่างแสดงให้เห็นว่า เมื่ออดอาหารเข้าจะส่งผลให้ต้องกินแคลอรี่มากขึ้นในช่วงท้ายของวัน นอกจากนั้นการอดอาหารเช้ายังเกี่ยวข้องกับดัชนีมวลการที่สูงขึ้นในวัยรุ่นอีกด้วย การกินอาหารเช้านั้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะอดอาหารเช้า

  • ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เผาผลาญแคลอรี่ได้หลายชั่วโมง ลองออกกำลังกายด้วยอัตราการเต้นของหัวใจ 30 นาที เช่น การเดิน แอโรบิค จ็อกกิ้ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์

  • เข้านอนเร็วขึ้น

การเข้านอนเร็วขึ้นจะสามารถช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันและป้องกันการเพิ่มน้ำหนักได้ด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับให้เพียงพอกับการลดน้ำหนัก จากการศึกษาในผู้หญิง 68,187 คน พบว่า ผู้ที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคือในช่วงระยะเวลา 17 ปี มีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่นอนหลับนานกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน

นอกจากนั้นงานวิจัยอื่นๆ ยังแสดงให้เห็นว่า การอดนอนอาจส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนความหิว ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงต่อโรคอ้วน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook