กิน “ผัก-มังสวิรัติ” อาจอันตรายต่อสุขภาพ ถ้ากินไม่เป็น

กิน “ผัก-มังสวิรัติ” อาจอันตรายต่อสุขภาพ ถ้ากินไม่เป็น

กิน “ผัก-มังสวิรัติ” อาจอันตรายต่อสุขภาพ ถ้ากินไม่เป็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระแสของการดูแลสุขภาพด้วยการลดการกินเนื้อสัตว์ แล้วมาเน้นผักผลไม้ให้มากขึ้นเริ่มมีมาสักระยะแล้ว บางคนถึงขั้นเปลี่ยนไปกินมังสวิรัติ หรือกำหนดวันในการกินมังสวิรัติใน 1 อาทิตย์ขึ้นมาอย่างจริงจัง แต่การกินแต่ผักไม่ได้ให้ผลดีต่อร่างกายเสมอไปหากเราไม่รู้จักวิธีการกินที่ถูกต้อง


กินผัก อันตรายต่อร่างกายได้ ?

การกินผักผลไม้ งดเนื้อสัตว์ (แต่อาจจะกิน หรือไม่กินนม เนย ไข่) อาจส่งผลดีในแง่ของการเพิ่มเกลือแร่ วิตามินต่าง ๆ และทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ด้วยโปรตีนจากถั่ว นม และธัญพืชแทน แต่หากวันใดวันหนึ่งเกิดอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อาจสันนิษฐานได้อย่างหนึ่งว่า คุณอาจเสี่ยงภาวะโลหิตจางจากการกินแต่ผัก หรือมังสวิรัติ


กินแต่ผัก เสี่ยงขาดธาตุเหล็ก

สาเหตุของภาวะโลหิตจางอาจเกิดขึ้นจากการขาดธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ บ่อยครั้งที่พบว่าหลายคนมีอาการตัวซีดเหลือง และตรวจพบว่าเป็นโลหิตจางจากการขาดสารอาหาร นั่นคือ ธาตุเหล็ก รวมไปถึงผู้สูงอายุที่เบื่อเนื้อสัตว์ หรือสภาพของสุขภาพปากและฟันอาจไม่เอื้อต่อการบดเคี้ยวเนื้อสัตว์ เลยหันมากินผักแทน อาจพบภาวะโลหิตจางได้เช่นกัน 


ผักใบเขียวก็มีธาตุเหล็ก ทำไมยังเสี่ยงโลหิตจาง ?

กระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง ต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้ให้ครบ ได้แก่ ไขกระดูก (ที่ปกติ) ธาตุเหล็กและโปรตีนที่เพียงพอ กรดโฟลิก และวิตามินบี 12 โดยวิตามินบี 12 พบได้น้อยในผัก แต่พบได้มากในเนื้อสัตว์อย่าง เนื้อ นม ไข่ ปู ปลา ตับ ไต คนที่กินแต่ผักล้วน ๆ จึงยังอาจเสี่ยงโลหิตจางได้อยู่


กินผักกับข้าว ยิ่งเสี่ยงโลหิตจาง ?

ข้อเท็จจริงที่หลายคนอาจไม่รู้ การกินข้าวกับผักที่มีเกลือแร่ที่มีธาตุเหล็ก อาจทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยลง เพราะในข้าวมีสารที่ชื่อว่าไฟเทต (phytate) ที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กในผักด้วย


กินผัก มังสวิรัติ อย่างไรไม่ให้เสี่ยงโลหิตจาง

กินผัก กินมังสวิรัติโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโลหิตจาง ต้องกินโปรตีนในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่เน้นไปที่ผักผลไม้แต่เพียงอย่างเดียว อย่าลืมกินนม ไข่ หรือหากเป็นมังสวิรัติที่กินเนื้อปลาได้ก็ควรกินให้เพียงพอด้วย และหากตรวจเลือดแล้วอยู่ในภาวะโลหิตจาง ควรกินธาตุเหล็ก และวิตามินบี 12 เสริมด้วย ปริมาณที่ควรกินสามารถปรึกษาแพทย์ที่ตรวจร่างกายของเราได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook