ระวัง! No Sugar Added ข้อความข้างกล่อง ไม่ได้แปลว่าไม่มีน้ำตาล

ระวัง! No Sugar Added ข้อความข้างกล่อง ไม่ได้แปลว่าไม่มีน้ำตาล

ระวัง! No Sugar Added ข้อความข้างกล่อง ไม่ได้แปลว่าไม่มีน้ำตาล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคที่ประชาชนเริ่มใส่ใจต่อสุขภาพของตัวเองมากขึ้น การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่เรารับประทานเข้าร่างกายก็เริ่มจะมีความจำเป็นต่อเรามากขึ้นเรื่อยๆ และข้อมูลของอาหารที่เราหาอ่านได้ง่ายที่สุดก็หนีไม่พ้นข้อมูลโภชนาการบนฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

แม้ว่าข้อมูลโภชนาการบนฉลากอาหารจะเป็นภาษาไทย แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอาหารนำเข้าที่อาจจะมีคำอธิบายภาษาไทยน้อยกว่าภาษาอังกฤษ หากใครที่เจอข้อความที่ระบุว่า “No Sugar Added” แล้วคิดว่าอาหาร หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่มีน้ำตาล คุณคิด “ผิด”



No Sugar Added ไม่ได้แปลว่าไม่มีน้ำตาล

น้ำตาลที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ มีอยู่หลายชนิด แต่หากอธิบายคร่าวๆ ในกรณีนี้ หมายถึง น้ำตาลที่มีอยู่ในอาหารเหล่านั้นตามธรรมชาติ (Naturally occurring sugar) เช่น น้ำตาลจากผัก ผลไม้ นมสด ที่เป็นรสหวานจากน้ำตาลที่มีอยู้ในอาหารเหล่านั้นตามธรรมชาติ อีกชนิดคือน้ำตาลที่ใส่เพิ่มลงไปเองโดยผู้ผลิต (Added Sugar) ที่เห็นง่ายๆ คือ เหล่าขนมต่างๆ ที่มีการเติมน้ำตาลเข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติหวานให้กับอาหารเหล่านั้น

ดังนั้น จะเห็น และสรุปได้ง่ายๆ ว่า “No Sugar Added” หมายถึง “ไม่มีการเติมน้ำตาลเพิ่ม” หมายถึงยังคงน้ำตาลตามธรรมชาติในอาหารเหล่าน้้นอยู่นั่นเอง

 

No Sugar Added สำคัญอย่างไร?

ด้วยความสับสนของหลายคนที่อาจคิดว่า No Sugar Added แปลว่าอาหารชนิดนั้นๆ ไม่มีน้ำตาลเลย จึงอาจกินโดยไม่ระมัดระวัง คิดว่ากินเท่าไรก็ได้ไม่อ้วน ไม่เสียสุขภาพ แต่หากลองคิดดูเล่นๆ ว่า หากอาหารชนิดนั้นเป็นทุเรียนทอด ที่กระบวนการทำแค่หั่นทุเรียนออกมาเป็นชิ้นแล้วเอาไปทอด ไม่ได้ใส่น้ำตาลเพิ่ม (No Sugar Added) จริงๆ แต่เราจะกินเยอะเกินไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าไรทุเรียนทอดก็เป็นแป้ง ที่สามารถย่อยเป็นน้ำตาลในร่างกายของเราได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การเข้าใจผิดนี้ยังอาจส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่คิดว่าอาหารชนิดนั้นๆ ไม่มีน้ำตาลเลย จึงรับประทานโดยไม่ระมัดระวังเท่าที่ควร ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วยได้

อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า No Sugar Added ก็หมายความว่าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ “ในระดับหนึ่ง” เพราะน้ำตาลที่เราจะได้รับ เป็นน้ำตาลจากธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีการเสริมเพิ่มน้ำตาลทราย น้ำเชื่อม หรือน้ำตาลสังเคราะห์จากไหน ซึ่งการเพิ่มน้ำตาลลงไปในอาหารตามปกตินั้น เป็นสาเหตุสำหรับของโรคอันตรายต่างๆ ทั้งเบาหวาน โรคอ้วน น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันอุดสันเส้นเลือด และโรคอืนๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดหัวใจได้

 

สังเกตปริมาณน้ำตาล ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร

หากคำว่า Nu Sugar Added ยังไม่ทำให้เรามั่นใจได้มากพอว่า จริงๆ แล้วอาหารเหล่านั้นมีน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน มีวิธีสังเกตปริมาณน้ำตาลในอาหารนั้นๆ และปริมาณน้ำตาลที่เราควรกินต่อวันควรเป็นเท่าใด ดังนี้

 

ปริมาณน้ำตาลที่ควรกินต่อวัน

ผู้ชาย ไม่เกิน 9 ช้อนชาต่อวัน (ต่ำกว่า 36 กรัม)

ผู้หญิง ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ต่ำกว่า 25 กรัม)

(ข้อมูลจากกรมอนามัย ปี พ.ศ. 2557 พบว่า คนไทยกินน้ำตาลเฉลี่ยที่ 28.4 ช้อนชาต่อวัน)

 nutritionตารางโภชนาการ มองหาตัวเลขหน่วยบริโภค และปริมาณน้ำตาล

  1. ดูที่ตารางโภชนาการ มองหาตัวเลขหน่วยบริโภค และปริมาณน้ำตาล บวกลบเอาคร่าวๆ ว่าวันนี้กินน้ำตาลไปเท่าไรแล้ว ถ้าใกล้จะเกินก็อย่าเพิ่งกินหมดทั้งกล่อง ทั้งห่อภายในวันเดียว แบ่งกินกับเพื่อน หรือแช่ตู้เย็นเก็บไว้กินวันอื่น

  2. อาจจะมีน้ำตาลแฝงมาในรูปแบบอื่นนอกจากคำว่าน้ำตาล หรือ Sugar เช่น Corn Syrup (น้ำเชื่อมข้าวโพด) HFCS (น้ำเชื่อมฟรักโทส, น้ำเชื่อมข้าวโพด) Cane Juice (น้ำอ้อย) Concentrated Fruit Juice (น้ำผลไม้เข้มข้น) เป็นต้น ดังนั้นจึงควรระมัดระวังน้ำตาลในส่วนนี้ด้วย

    corn-syrup-labelน้ำตาลแฝงในอาหาร ตรวจได้ในตารางโภชนาการ
  3. เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้สำเร็จรูป ชาเขียว

  4. ลดการทานขนม หรืออาหารหวานจัด โดยลดการบริโภคลงเหลือ 1-2 ชิ้นต่อสัปดาห์ หากติดหวาน ควรเลือกกินผลไม้ (สด ทั้งชิ้น) ดีกว่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook