เช็กลิสต์ “ตรวจสุขภาพ” ควรตรวจอะไรบ้าง?

เช็กลิสต์ “ตรวจสุขภาพ” ควรตรวจอะไรบ้าง?

เช็กลิสต์ “ตรวจสุขภาพ” ควรตรวจอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สุขภาพที่ดี เริ่มต้นด้วยการทราบสภาพร่างกายของเราก่อนว่าควรมีอะไรที่ต้องรีบรักษาก่อนจะสายเกินไปหรือไม่ ดังนั้นเราจะทราบได้ก็ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายกับทีมแพทย์เท่านั้น แต่การตรวจร่างกายเราควรตรวจอะไรบ้าง ลองมาเช็กดูทีละข้อ ก่อนเตรียมตัวก่อนเข้ารีบการตรวจร่างกาย

ตรวจสุขภาพประจำปี

โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปีจะเป็นการตรวจเพื่อหาค่าไขมันที่อยู่ในเลือด ค่าน้ำตาลในเลือด เพื่อผลในการตรวจที่มีประสิทธิภาพแนะนำให้งดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจร่างกายตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป หรือกำหนดง่ายๆ คือ ควรงดอาหารตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนก่อนวันที่จะไปตรวจสุขภาพ งดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ไปจนถึงอาหารที่ย่อยยาก อย่าง เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ๆ แต่ยังสามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย

เพิ่มเติม : หากเป็นการบริจาคเลือด ผู้บริจาคสามารถทานอาหารเช้าได้ตามปกติ แต่ต้องเป็นอาหารที่ไม่มีไขมันและน้ำตาลสูงมากจนเกินไป อีกทั้งต้องเข้านอนตั้งแต่เที่ยงคืนเพื่อไม่ให้เลือดลอย หรือเลือดจาง จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถบริจาคเลือดได้

>> ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด บริจาคเลือด ต้องงดดื่มน้ำ-ทานข้าวจริงหรือ?

ขั้นตอนในการตรวจร่างกาย

  1. ทีมแพทย์จะเริ่มซักถามประวัติเบื้องต้น อาจถามถึงชื่อ อายุ อาชีพ ไปจนถึงชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดค่าดัชนีมวลกาย (ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่) วัดไข้ ไปจนถึงวัดความดันโลหิต

  2. เริ่มตรวจลึกขึ้น โดยตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า ให้เราเข้าไปเก็บปัสสาวะ หรืออุจจาระ เพื่อทำการตรวจ และเปลี่ยนชุดเพื่อเข้าเครื่องเอกซ์เรย์ปอด

  3. เจาะเลือด เพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด หาเชื้อ HIV หาประวัติการฉีดวัคซีนไวรัสตับบี ตรวจการแข็งตัวของเลือด ตรวจไทรอยด์ การทำงานของตับ และไต เป็นต้น

  4. หากเป็นผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30-40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม กับมะเร็งปากมดลูกด้วย (ขึ้นขาหยั่ง)

  5. หากเป็นผู้ชายที่อายุมากกว่า 30-40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย

  6. หากเป็นผู้สูงอายุ (ที่อายุมากกว่า 40-50 ปีขึ้นไป) ควรตรวจสุขภาพหัวใจให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

  7. ใครที่รู้ตัวว่าดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ ควรตรวจปอด และตับ และแจ้งทีมแพทย์ให้ทราบด้วย

  8. เมื่อได้มีโอกาสพบแพทย์ แพทย์อาจซักถามประวัติเพิ่มเติม พร้อมทั้งแจ้งผลการตรวจ และคำแนะนำในการแก้ไขให้สุขภาพดีขึ้น

อายุ 55 ปีขึ้นไป ยิ่งต้องใส่ใจเข้ารับการตรวจสุขภาพ

คุณหนุ่มๆ ที่อยู่ในช่วง 55 - 69 ปี แนะนำให้เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อเป็นการทดสอบการทำงานของหัวใจด้วยการเดินสายพาน จะทำให้รู้ว่าหนุ่มใหญ่แต่หัวใจยังหนุ่มนั้นมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ ในขณะเดียวกันคุณสาวๆ ที่ก้าวเข้าสู่วัย 55 ปีแล้ว ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการเข้ารับการตรวจสุขภาพ โดยเน้นตรวจความหนาแน่นของกระดูกช่วงกระดูกสันหลังส่วนเอวและสะโพกเพิ่มเติม ในขณะเดียวกันที่

หากผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพมีความกังวลในเรื่องใดมากเป็นพิเศษ อาทิ มีอาการเหนื่อยหอบง่ายมากกว่าผิดปกติ , มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ , นอนไม่หลับ หรือปวดท้อง ฯลฯ ควรแจ้งทีมแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจโดยละเอียด จะเป็นผลดีต่อการวินิจฉัยโรค หรือสภาพร่างกายในขณะนั้นได้ง่ายขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook