“เด็กอ้วน” เสี่ยงเป็นโรค “ไขมันพอกตับ”

“เด็กอ้วน” เสี่ยงเป็นโรค “ไขมันพอกตับ”

“เด็กอ้วน” เสี่ยงเป็นโรค “ไขมันพอกตับ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
  • เด็กอ้วนเสี่ยงเป็นโรค “ไขมันพอกตับ” สูงถึง 5-44%*

  • เด็กอ้วนที่อยู่ในช่วงช่วงวัยรุ่นมีโอกาสเป็นไขมันพอกตับมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่ไม่อ้วนถึงเกือบ 20 เท่า

  • การตรวจโรคไขมันพอกตับด้วย Fibro Scan สามารถตรวจได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ

 

ปัจจุบันเด็กตัวอ้วนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมการชอบรับประทานอาหารทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ของหวานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และสุดท้ายไม่ได้ออกกำลัง ทำให้ความสมดุลระหว่างพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารมากเกินไป แต่กลับใช้พลังงานน้อยเกินไป ทำให้โรคอ้วนถามหา

ในทางกลับกันผู้ปกครองอาจมองว่า ”เด็กอ้วน” น่ารัก แต่ลืมนึกไปว่าความอ้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ยิ่งเด็กๆ ที่มีคอดำ หรือข้อพับรักแร้ บริเวณที่เนื้อเสียดสีกัน มีลักษณะดำคล้ายขี้ไคลแต่อาบน้ำและขัดไม่ออก

เด็กอ้วนมีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงเสี่ยงเป็นโรค “ไขมันพอกตับ” ที่ผู้ใหญ่วัยกลางคนและผู้สูงอายุเป็นกันได้ สูงถึง 22.5-44%*

ความรุนแรงของเด็กที่เป็นโรคนี้ ทำให้เด็กมีการถึงตับอักเสบ หรือตับแข็ง เพราะมีพังผืดในตับมากเกินไป โครงสร้างของเซลล์ตับจึงผิดปกติ ที่น่าตกใจกว่านั้น พบว่า เด็กอ้วนสามารถเป็นตับแข็งได้ตั้งแต่อายุ 8 ปี และเด็กอ้วนที่อยู่ในช่วงช่วงวัยรุ่นมีโอกาสเป็นไขมันพอกตับมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่ไม่อ้วนถึงเกือบ 20 เท่า

อาการ มักไม่แสดงชัดเจน อาจแค่รู้สึกปวดท้อง อ่อนเพลีย บางครั้งอาจไม่ทำให้พ่อแม่นึกถึงโรคนี้

การตรวจวินิจฉัย วิธีการตรวจโรคนี้แบบง่ายที่สุดคือการอัลตราซาวนด์ตับ และวินิจฉัยโดยตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ ในกรณีพบเด็กที่มีค่าการทำงานตับสูงกว่าปกติ กุมารแพทย์จะซักประวัติการได้รับยา สมุนไพร และตรวจหาโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดตับอักเสบเพิ่ม เช่น ติดเชื้อไวรัส แพ้ภูมิตัวเอง หรือมีสารทองแดงค้างในตับ

การตรวจด้วย Fibro Scan เป็นการตรวจวัดความแข็งของตับ ประเมินว่ามีพังผืดในตับมากผิดปกติหรือไม่ สามารถตรวจได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เพื่อวางแผนทำการรักษาได้อย่างตรงจุดต่อไป

 

เด็กกลุ่มไหนที่ควรตรวจไฟโบรสแกน

  • เด็กที่มีภาวะอ้วนลงพุง หรือน้ำหนักเกิน

  • เด็กที่มีผลเลือดค่าการทำงานตับ ALT มากกว่า 22 เพราะมีโอกาสเป็นตับแข็ง

  • มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี

  • ทานยา, สมุนไพร ติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

ข้อดีของการตรวจตรวจตับด้วยไฟโบรสแกน (Fibro Scan)

  • ตรวจง่าย ได้ผลเร็ว

  • ไม่ได้รับความเจ็บปวดใดๆ

  • สามารถช่วยวินิจฉัยภาวะตับแข็งในระยะเริ่มแรก

  • ติดตามผล และประเมินระดับความรุนแรงของตับแข็ง และช่วยในการวางแผนรักษาต่อไป

  • อาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม หรือปฎิเสธการเจาะตับ

  • ตรวจปริมาณไขมันสะสมในตับสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไขมันเกาะตับ (Fatty Liver) ร่วมด้วยในครั้งเดียวกันได้

 

การป้องกันที่ดีที่สุด คือการปรับพฤติกรรมให้เด็กๆ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ ไม่ต้องงด แต่รับประทานมื้อเย็นให้น้อยลง

  • งดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล น้ำอัดลม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้แบบบรรจุกล่อง

  • ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย กะทิ และอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

  • งดขนมขบเคี้ยวระหว่างมื้ออาหาร แต่อาจหาผลไม้ให้ทานแทน

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 30 – 60 นาที หรืออาจให้ช่วยทำงานบ้านก็ได้

  • ลดพฤติกรรมที่ทำให้เด็กอยู่นิ่งมากเกินไปไม่เกิดการเคลื่อนไหว เช่น การนั่งดูทีวี นั่งเล่นเกม

  • (โดยวันหนึ่งต้องนั่งดูทีวีหรือเล่นเกมไม่เกิน 2 ชม.)

  • โดยทั้งหมดนี้ พ่อแม่อาจปรับพฤติกรรมให้เป็นตัวอย่างกับลูก โดยทำร่วมกัน

*เปอร์เซ็นต์สูงสุดของเด็กอ้วนที่เสี่ยงเป็นโรคไขมันในตับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook