ข้อควรรู้...กับข้อเข่าเสื่อม

ข้อควรรู้...กับข้อเข่าเสื่อม

ข้อควรรู้...กับข้อเข่าเสื่อม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เป็นเรื่องที่น่าห่วงว่า...ปัญหาข้อเข่าเสื่อมในปัจจุบันไม่ได้พบเฉพาะคนอายุมากเท่านั้น แต่วัยกลางคน วัยทำงานก็เป็นกันได้ นั่นอาจจะเป็นผลจากการใช้งานข้ออย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนทำให้กระดูกข้อต่อมีการเสียดสีจนเกิดการอักเสบ ผิวข้อสึกกร่อน ทำให้เจ็บปวดข้อขณะเคลื่อนไหว เข่าผิดรูป โก่งงอ ถ้าเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายขาดหรือกลับสู่สภาพปกติ จึงควรดูแลสุขภาพข้อเข่าเสียแต่เนิ่นๆ

     มาดูข้อควรรู้...กับข้อเข่าเสื่อม เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดข้อและช่วยให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม

     1.เลือกรับประทานดี ห่างไกลข้อเสื่อม

    การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อม  ช่วยเสริมสร้างข้อกระดูกให้แข็งแรงและยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ สารอาหารเหล่านั้นได้แก่ วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเอ็นกระดูก พบใน ผลไม้ตระกูลส้ม สับปะรด ฝรั่ง บร๊อคโคลี เป็นต้น วิตามินดี ช่วยดูดซึมแคลเซียมและเสริมสร้างความแข็งแรงของสุขภาพกระดูก พบในนม ไข่ อาหารทะเล เห็ด เป็นต้น เบต้าแคโรทีน ช่วยขจัดสารอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยเร่งทำลายข้อต่อกระดูกต่างๆ อาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ได้แก่ แครอท แคนตาลูป ผักปวยเล้ง วิตามินเคจากผักใบเขียวจัด วิตามินเคจำเป็นต่อการสร้างกระดูกอ่อน

     เลี่ยงอาหารที่เพิ่มคอเลสเทอรอล เช่น น้ำตาล คาร์โบไฮเดรตขัดสีมาก ของหวาน ไขมันทรานซ์ ที่สำคัญควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพราะกระดูกอ่อนตามข้อต่างๆ ซึ่งหน้าที่สำคัญในการหล่อลื่นและรับแรงกระแทกให้กับข้อที่แข็งแรงนั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึงร้อยละ 70

    นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์สกัดจากธรรมชาติ ที่ได้รับการยอมรับในการบรรเทาและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม คือคอลลาเจนไทพ์ทู (UC-II หรือ Undenatured Collagen Type II ) ซึ่งเป็นคอลลาเจนชนิดเดียวกับคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อนในร่างกาย ที่งานวิจัยพบว่ามีส่วนช่วยดูแลปัญหาข้อเข่า โดยพบว่า การรับประทานคอลลาเจนไทพ์ทู ขนาด 40 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของข้อ โดยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของ Hyaluronic acid ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ และช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำหล่อเลี้ยงข้อ จึงช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึด ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น นอกจากนี้คอลลาเจนไทพ์ทู ยังมีความปลอดภัยสูงและไม่พบผลข้างเคียงอีกด้วย

     2. น้ำหนักเกิน ตัวเร่งข้อเสื่อม

     โดยทั่วไปเราจะใช้ค่าดัชนีมวลกาย* (BMI) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาน้ำหนักตัว โดยในคนเอเชียปกติ BMI จะอยู่ที่ 18.5-22.9 กก./ตร.ม. คนที่มี BMI 23-24.9 กก./ตร.ม. ขึ้นไปถือว่าอ้วนระดับ 1 ดังนั้นเราควรพยายามควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 23

                

      3.ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย

     ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิคจะช่วยเผาผลาญพลังงานได้ แต่ควรเลือกแบบที่ไม่เป็นอันตรายต่อข้อกระดูก หรือข้อต้องแบกรับภาระมากนัก การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับข้อเสื่อม เช่น การเดิน ว่ายน้ำ เป็นต้น

     4.ขยับกาย เปลี่ยนอิริยาบถ

     น้ำหนักตัวน้อยก็ใช่ว่าจะไม่เสี่ยง เพราะถ้าเป็นคนที่ใส่ส้นสูงยืนนานๆ นั่งไขว่ห้างทั้งวันเป็นประจำ ชอบนั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ หรือขึ้นลงบันไดบ่อยๆ กิจวัตรประจำวันเหล่านี้ก็เร่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ เราจึงควรแก้ไขพฤติกรรม หาโอกาสขยับร่างกาย เหยียดแขนเหยียดขา เพื่อเป็นการบริหารข้อเป็นครั้งคราวบ้าง

     เริ่มเสียแต่วันนี้ โดยรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงข้อและบริหารข้อเข่าอย่างถูกวิธีเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร ก็จะทำให้มีข้อเข่าที่แข็งแรงไว้ใช้งานได้อย่างยาวนาน

 

โดย  อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช

นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพประเทศสหรัฐอเมริกา

 

อ้างอิง

  • Crowley DC, et al. Safety and efficacy of undenatured type II collagen in the treatment of osteoarthritis of the knee: a clinical trial. Int J Med Sci. 2009 Oct 9; 6(6): 312-21.
  • Lugo JP, Saiyed ZM, Lane NE. Efficacy and tolerability of an undenatured type II collagen supplement in modulating knee osteoarthritis symptoms: a multicenter randomized, double-blind, placebo-controlled study. Nutr J. 2016 Jan 29; 15:14.
  • Lugo JP, Saiyed ZM, Lau FC, Molina JP, Pakdaman MN, Shamie AN, Udani JK. Undenatured type II collagen (UC-II®) for joint support: a randomized, double-blind, placebo-controlled study in healthy volunteers. J Int Soc Sports Nutr. 2013 Oct 24;10(1):48.
  • Weiner HL, da Cunha AP, Quintana F, Wu H. Oral tolerance. Immunol Rev. 2011 May;241(1):241-59.






[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook