รู้จักโรค "ราดำ" อันตรายซ้ำซ้อนช่วง "โควิด-19" ที่อาจเกิดขึ้นได้ในไทย

รู้จักโรค "ราดำ" อันตรายซ้ำซ้อนช่วง "โควิด-19" ที่อาจเกิดขึ้นได้ในไทย

รู้จักโรค "ราดำ" อันตรายซ้ำซ้อนช่วง "โควิด-19" ที่อาจเกิดขึ้นได้ในไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคราดำ พบการระบาดที่อินเดียหลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ระบบภูมิต้านทานต่ำจากอาการป่วย และยังเสี่ยงอาการหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้สูงอีกด้วย เราจึงควรทราบสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันก่อนสายเกินแก้

โรคราดำ คืออะไร?

ข้อมูลจากโรงพยาบาลเพชรเวช ระบุว่า โรคราดำ (Mucormycosis) หรือ เชื้อราดำ (Black Fungus) เป็นเชื้อราที่สามารถลุกลามเนื้อเยื่อในร่างกายได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในร่างกายที่อ่อนแอทำให้เสี่ยงเสียชีวิตค่อนข้างสูง 

โรคราดำ เกิดจากเชื้อราจากธรรมชาติชื่อ “Mucormycetes” พบได้ในดินหรืออินทรียวัตถุที่เกิดการเน่าเปื่อยแล้ว เช่น ซากไม้ ใบไม้ ผักผลไม้ที่เน่าแล้ว หรือปุ๋ยหมัก เป็นต้น เชื้อราชนิดนี้มีผลต่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือร่างกายไม่แข็งแรงทำให้การกระจายของเชื้อค่อนข้างรวดเร็วจนส่งผลให้มีอัตราเสียชีวิตมากถึงประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่มีอาการโรคราดำมรณะในประเทศอินเดีย

โรคราดำ ติดต่อกันได้อย่างไร?

เชื้อราดำ สามารถเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ มากกว่าผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง โดยผ่านวิธีเหล่านี้

  • รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา
  • สูดหายใจเอาละอองเชื้อราเข้าสู่ร่างกาย
  • สัมผัสกับเชื้อราผ่านบาดแผลบนร่างกาย
  • ใช้สารสเตียรอยด์สามารถกระตุ้นความเสี่ยงในการเกิดโรคราดำได้ (ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดในประเทศอินเดียช่วง Covid-19 เนื่องจากมีการใช้สเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับปอด)

อาการของโรคราดำ

ตำแหน่งที่มีการพบว่าติดเชื้อมักจะอยู่บริเวณจมูกโดยเชื้อสามารถลุกลามขึ้นสู่สมองได้ หากกลุ่มผู้ที่มีปัญหาด้านภูมิต้านทาน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีเชื้อ HIV เกิดติดเชื้อโรคราดำอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการที่สังเกตได้มีดังนี้

  • ปวดศีรษะ
  • คัดจมูกและมีอาการเลือดออกที่จมูก
  • มีอาการชักเกร็ง
  • ตาบวมและมีอาการปวด

อันตรายของโรคราดำ

หากปล่อยให้มีอาการใกล้จมูก ใกล้ดวงตานานๆ อาจเสี่ยงตาบอดได้ และเชื้ออาจสามารถเข้าสู่สมองได้ด้วย

การรักษาโรคราดำ

สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกก่อนลุกลามหนัก และ/หรือรับยาเฉพาะด้วยการฉีดสำหรับรักษาโรคราดำ โดยต้องรับยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 8 สัปดาห์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook