การดูแลสุนัขเมื่อใกล้คลอด

การดูแลสุนัขเมื่อใกล้คลอด

การดูแลสุนัขเมื่อใกล้คลอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คุณแม่มือใหม่มักจะกังวลเมื่อเจ้าตูบแสนรักใกล้จะให้ลูกตัวน้อย อาจตื่นเต้นเหมือนกำลังมีลูกตัวเองอย่างใดอย่างนั้น โดยปกติเมื่อคลอดแล้วแม่สุนัขจะจัดการเองหมด ไม่ปล่อยให้เป็นภาระกับเจ้าของ แต่อาจจะมีแม่สุนัขบางตัวที่ยังอ่อนประสบการณ์ กรณีนี้เจ้าของต้องเข้าไปช่วยเหลือ จัดบ้านต้อนรับสมาชิกตัวน้อย การตั้งท้องของสุนัขจะใช้เวลาประมาณ 61-63 วัน ก่อนคลอคต้องเตรียมพื้นที่คลอดให้แม่สุนัขคุ้นเคยเสียก่อน สถานที่ต้องเป็นที่ที่อบอุ่น แห้ง สะอาด สงบเงียบ ปลอดภัย ต้องไม่มีลมโกรก อากาศถ่ายเทได้ดี มีผ้าขนหนูปูพื้นไว้ และอาจกั้นเป็นคอกเตี้ยๆไว้ไม่ให้ลูกสุนัขที่อาจคลานหนีไปจากแม่ เตรียมตัวแม่สุนัข เมื่อถึงเวลาใกล้คลอด แม่สุนัขจะมีอาการกระวนกระวาย คุ้ยเขี่ยที่นอน ถ้าบีบหัวนมจะมีน้ำนมไหลออกมาและบางครั้งจะไม่กินข้าวเป็นเวลา 1-2 วันก่อนคลอด ตรงนี้ไม่ต้องกังวล พอคลอดแล้วกีจะกินอาหารเป็นปกติ ควรตัดขนบริเวณรอบช่องคลอด และบริเวณรอบเต้านมให้สั้นลง เมื่อถึงเวลาคลอด เตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อ ลูกยางดูดน้ำคร่ำ ด้ายสำหรับมัดสายสะดือ กรรไกร ผ้าเช็ดตัว โคมไฟไว้ให้พร้อม เมื่อเริ่มเบ่ง แม่สุนัขจะหายใจถี่หอบ กระสับกระส่าย ไม่นานถุงน้ำคร่ำก็จะแตก (น้ำคร่ำจะมีสีเขียวคล้ำ) แล้วแม่สุนัขก็จะเบ่งลูกออกมา จากนั้นแม่สุนัขก็จะเลียน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มตัวออก แล้วกัดสายสะดือลูกและกินรกที่ออกมา สิ่งเหล่านี้เป็นสัญชาตญาณของเค้า ต่อมาแม่สุนัขจะเริ่มเลียลูกสุนัขเพื่อกระตุ้นการหายใจและให้ความอบอุ่น และจะพักประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวลงฟร้อมจะเบ่งอีก การช่วยเหลือขณะคลอด ช่วงนี้หากแม่สุนัขไม่ทำอะไรเลยหลังคลอด เจ้าของก็ต้องรีบเอาลูกสุนัขมาฉีกเยื่อหุ้มตัวออกให้หมด และอาจใช้ลูกยางดูดน้ำคร่ำหรือเมือกออกจากรูจมูกและในช่องปากออกเพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ลูกสุนัขก็จะหายใจได้สะดวกขึ้น จากนั้นใช้ด้ายที่แช่น้ำยาฆ่าเชื้อไว้มัดสายสะดือให้ห่างจากขอบสะดือประมาณครึ่งนิ้ว แล้วตัดสายสะดือส่วนที่เหนือปมด้ายออก ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแต้มเช็ดบริเวณปลายสายสะดือที่ถูกตัดออกไป แล้วเช็ดตัวลูกสุนัขเบาๆเพื่อเป็นการกระตุ้นการหายใจเหมือนกับแม่สุนัขกำลังเลียลูก อาจจับลูกสุนัขมาดูดนมโดยการอ้าปากลูกสุนัขเบาๆจับหัวนมใส่ปากแล้วคลึงเต้านมให้น้ำนมไหลออกมา กรณีต้องพาไปพบสัตวแพทย์ กรณีต้องพาไปพบสัตวแพทย์ก็คือ ถุงน้ำคร่ำแตกแต่ไม่คลอดภายใน 2 ชั่วโมง คลอดตัวแรกแล้วไม่คลอดตัวถัดมาภายใน 4-6 ชั่วโมง แม่สุนัขเบ่งเกิน 6 ชั่วโมงแล้วลูกสุนัขก็ไม่ออกเสียที หรือแม่สุนัขมีอาการผิดปกติเช่น ซึม อาเจียรเป็นต้น สาเหตุส่วนใหญ่คือ มดลูกล้า คลอดผิดท่า ตัวลูกมีขนาดใหญ่เกินไปหรือเชิงกรานแคบ การแก้ไขก็ขึ้นกับการคลอดลูกยาก และหากแก้ไขไม่ทันก็อาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูก หลังคลอด เมื่อคลอดครบทุกตัวแล้วโดยดูจากจำนวนลูกเท่ากับจำนวนรกก็ทำความสะอาดพื้นไม่ให้เปียกชื้น ให้ความอบอุ่นเพิ่มเติมโดยการใช้โคมไฟช่วย ช่วง 3 วันหลังคลอดในน้ำนมแม่สุนัขจะมีภูมิคุ้มกันโรค ช่วงนี้น้ำนมจะมีสีเหลืองข้นเรียกว่านมน้ำเหลือง ซึ่งจะมีประโยชน์มากที่สุด ควรจับลูกสุนัขให้ดูดนมทุกตัว ตัวไหนไม่แข็งแรงให้จับมาดูดให้อิ่มก่อน ให้กระตุ้นการดูดนมโดยบีบเต้านมให้ไหลออกมาก่อน แล้วค่อยจับลูกอ้าปากให้หัดดูด ต้องเช็คน้ำนมอยู่เสมอว่ามีเพียงพอหรือไม่ โดยปกติลูกสุนัขจะดูดนมแม่เกือบตลอดเวลา พออิ่มก็จะนอนหลับ ไม่ว่ามีหรือไม่มีน้ำนมลูกสุนัขก็ยังดูดอยู่ต่อไปทำให้เจ้าของคิดว่าแม่สุนัขยังมีน้ำนมอยู่ ทั้งที่อาจไม่มีน้ำนมแล้วก็ได้ ช่วงนี้ต้องคอยตรวจดูนมแม่ว่ามีเพียงพอไหม ดังนั้นต้องสังเกตุว่าลูกสุนัขร้องมากกว่าปกติหรือไม่ และคอยสังเกตุอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขทุกตัวโดยจับชั่งน้ำหนักบ้าง กรณีมีหลายตัวคล้ายกันก็อาจทำเครื่องหมายใช้เชือกสีผูกเพื่อดูว่าตัวไหนกินนมแล้ว จะได้จับแยกได้ถูกต้อง ถ้านมแม่น้อยไม่เพียงพออาจจะต้องป้อนนมเสริม การป้อนนมเสริม ลูกสุนัขบางตัวโชคร้ายแม่ตายขณะคลอดหรือแม่ไม่ยอมเลี้ยงลูก หน้าที่การดูแลจึงต้องตกเป็นของเจ้าของ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเจ้าของมือใหม่ การเลือกนมก็เลือกนมยี่ห้อที่มีคุณภาพดีสำหรับเด็กทารก ไม่ใช้นมวัวเพราะลูกสุนัขย่อยนมวัวได้น้อยมาก ทำให้เกิดปัญหาท้องเสีย ท้องอืดได้ง่ายมีโอกาศตายสูง การป้อนนมต้องป้อนทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่ออิ่มนมแล้วต้องใช้สำลีชุบน้ำอุ่นกระตุ้นโดยเช็ดเบาๆ ที่ทวารหนักและอวัยวะเพศเพื่อช่วยให้มีการขับถ่ายและเพื่อป้องกันท้องอืด และที่สำคัญอย่าจับเล่นบ่อยเกินไปเพราะเป็นการรบกวนการเลี้ยงลูกของแม่และลูกอาจติดเชื้อโรคได้ง่าย ข้อมูลจาก www.mylovegolden.net

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ การดูแลสุนัขเมื่อใกล้คลอด

การดูแลสุนัขเมื่อใกล้คลอด
การดูแลสุนัขเมื่อใกล้คลอด
การดูแลสุนัขเมื่อใกล้คลอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook