รู้แล้วต้องเซอร์ไพรส์ 5 ผลข้างเคียงของการกินผัก

รู้แล้วต้องเซอร์ไพรส์ 5 ผลข้างเคียงของการกินผัก

รู้แล้วต้องเซอร์ไพรส์ 5 ผลข้างเคียงของการกินผัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยากที่จะหาอาหารชนิดใดดีต่อสุขภาพของคุณมากกว่าผัก อุดมไปด้วยใยอาหาร สารอาหารขนาดเล็ก และสารต้านอนุมูลอิสระ ผักคืออาหารเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุด งานวิจัยพบว่าการทานผักมากขึ้น ส่งผลดีต่อสุขภาพหลายประการ เช่น น้ำหนักตัวที่ลดลง ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2

นอกจากนี้ผักยังปราศจากสารก่อภูมิแพ้ 9 ชนิดหลัก มีแคลอรี่ ไขมัน และโซเดียมต่ำ และสามารถปรุงอาหารได้หลากหลายวิธี อร่อย เหมาะกับทุกๆ ไลฟ์สไตล์ อย่างไรก็ตามแม้ผักจะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่ผักนั้นก็มีผลข้างเคียงหากคุณรับประทานมากเกินไป หรือไม่ถูกวิธี หรือคุณลักษณะของมัน

1.ภาวะท้องเสียจากการออกกำลังกาย

สำหรับนักวิ่งแล้ว อาการปวดเกร็งท้องหลังออกไปวิ่งคงเป็นฝันร้ายที่สุด อาการที่เรียกว่าภาวะท้องเสียจากการออกกำลังกาย อาจทำให้คุณต้องวิ่งเข้าห้องน้ำ แทนที่จะวิ่งไปเส้นชัย

สาเหตุของภาวะนี้

มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ตามที่ ดร.ไมเคิล เจ. โธมัส แพทย์ทางเดินอาหารจากโรงพยาบาลเด็กปาล์มบีช รัฐฟลอริดา กล่าว อาหารที่คุณทานก่อนวิ่ง อาจเป็นหนึ่งในปัจจัย โดยเฉพาะผัก อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียระหว่างออกกำลังกายได้

เคล็ดลับสำหรับนักวิ่ง:

  • งดผักก่อนวิ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง: แม้ผักอาจเป็นตัวร้าย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องงดผักตลอดไป “คำแนะนำคือ ให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ อย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติท้องเสียหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร” ดร.โธมัสแนะนำ
  • ทดลองดูว่าร่างกายตอบสนองต่อผักแต่ละชนิดอย่างไร: “นักวิ่งสามารถทดลองทานผักชนิดต่างๆ ระหว่างช่วงฝึกซ้อม เพื่อดูว่าร่างกายแพ้อาหารชนิดใด” เขากล่าวเสริม

2.ผักกระป๋อง: อันตรายจากโซเดียมแฝง

โดยทั่วไปแล้วการเพิ่มผักในมื้ออาหารของคุณ ไม่ว่าจะเป็นผักสด ผักแช่แข็ง หรือผักกระป๋องล้วนส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่หากมีตัวเลือกควรหลีกเลี่ยงผักกระป๋องที่มีการเติมเกลือเพิ่ม หลายครั้งผู้ผลิตมักใส่เกลือลงในผักกระป๋องปริมาณมาก เพื่อรักษารสชาติ ตัวอย่างเช่น มะเขือเทศกระป๋องที่มีเกลือเพิ่ม 1 ถ้วย จะมี่โซเดียมสูงถึง 306 มิลลิกรัม ซึ่งต่างจากมะเขือเทศสด 1 ถ้วย ที่มี่โซเดียมเพียง 9 มิลลิกรัม เท่านั้น ตามข้อมูลของ USDA

ทำไมผักกระป๋องถึงมีโซเดียมสูง

  • การถนอมอาหาร: เกลือเป็นสารกันบูดตามธรรมชาติ ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผักกระป๋อง
  • รสชาติ: เกลือช่วยเพิ่มรสชาติให้กับผักกระป๋องบางชนิด

3.ผักแป้งสูง: คนเป็นเบาหวานทานได้ แต่อย่าเยอะ

การรับประทานผักแป้งสูงมากเกินไปไม่ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ ผักแป้งสูง เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด และฟักทอง สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้เพราะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคส ควรจำกัดปริมาณผักแป้งให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี วิธีแบ่งอาหารแบบ "Diabetes Plate Method" ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) อนุญาตให้ผักแป้งสูงอยู่ที่ 25% ของปริมานอาหารในแต่ละมื้อ

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเลือกทานผักที่ไม่ใช่แป้งเป็นหลักได้เช่นกัน ผักที่ไม่ใช่แป้งเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือด ตัวอย่างเช่น ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า และผักกาดหอม บรอกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี  มะเขือเทศ พริกหวาน และแตงกวา เป็นต้น

4.ผักตัวแสบ ชวนพุงอืด

ผักบางชนิดขึ้นชื่อเรื่องการทำให้ท้องอืด ตัวอย่างเช่น ผักตระกูลกะหล่ำปลี เช่น บรอกโคลี กะหล่ำดอก และกะหล่ำปลี ผักเหล่านี้มีสารประกอบที่เรียกว่า กลูโคซิโนเลต ตามงานวิจัย เมื่อสารเหล่านี้ถูกย่อยสลายในระบบทางเดินอาหาร จะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ออกมา ทำให้ท้องรู้สึกแน่น อึดอัด

5.ผักบางชนิดอาจทำให้แสบร้อนกลางอก

บางครั้งผักก็อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกได้ คุณ Kitchens กล่าวว่า ผักที่มีความเป็นกรดสูงบางชนิด อาจกระตุ้นกรดไหลย้อนได้ โดยเฉพาะมะเขือเทศเป็นตัวการที่พบบ่อย เพราะมีกรดสูง อาจระคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหาร ไม่ใช่แค่มะเขือเทศแต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะเขือเทศ เช่น ซอสพาสต้า ซัลซ่า และซอสถั่วแดงด้วย ผักอื่นๆ ที่อาจทำให้แสบร้อนกลางอก ได้แก่ หัวหอม กระเทียม และพริกเผ็ด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook