ฝุ่นพิษผ่านไปแล้วไงต่อ ออกแบบบ้าน เมืองอย่างไรให้ปลอดภัยจากวายร้าย PM 25

ฝุ่นพิษผ่านไปแล้วไงต่อ ออกแบบบ้าน เมืองอย่างไรให้ปลอดภัยจากวายร้าย PM 25

ฝุ่นพิษผ่านไปแล้วไงต่อ ออกแบบบ้าน เมืองอย่างไรให้ปลอดภัยจากวายร้าย PM 25
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากวิกฤตภัยฝุ่นพิษ PM 2.5 ทำให้เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาพิเศษเรื่อง “ฝุ่น PM 2.5 จะผ่านไป แล้วไงต่อ ?” โดยได้พูดถึงแนวทางการออกแบบเมือง อาคาร บ้านพักอาศัย เพื่อรับมือวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 จากมุมมองด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

ผศ. ดร. อันธิกา สวัสดิ์ศรีผศ. ดร. อันธิกา สวัสดิ์ศรี

โดยในวงเสวนานั้นมีผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมได้แสดงความคิดเห็นว่าการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมจะช่วยป้องกันและปกป้องคนในครอบครัวจากละอองฝุ่นได้อย่างไรบ้าง ซึ่งด้านผศ. ดร. อันธิกา สวัสดิ์ศรี ประธานสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย และคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั้นบอกว่าในเมื่อบ้านเป็นหน่วยที่อยู่อาศัยที่ใกล้ชิดเราที่สุด และเล็กที่สุดดังนั้นเราควรใส่ใจเรื่องการออกแบบบ้าน และพื้นที่ต่างๆ ในบ้าน โดยเฉพาะเพื่อเด็ก ผู้สูงอายุ หรือคนป่วยที่น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้มากที่สุด

-เราสามารถออกแบบอาคารโดยดูทิศทางแดดและลม

-นำต้นไม้มาช่วยกรองอากาศ โดยหาต้นไม้ที่ช่วยกันลมพัดพาฝุ่นเข้ามา เป็นต้นไม้ที่ไม่ต้องการแดดจัดและสามารถดักจับฝุ่นได้

-ทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะช่องเล็กๆ ระหว่างเฟอร์นิเจอร์

-วางเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ให้มีช่องเปิดรับลม โดยเฉพาะห้องนอนผู้สูงอายุ อาจจะต้องเปลี่ยนให้ห้องนั้นตั้งไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แทน และนำต้นไม้มาปลูกเพื่อช่วยกันลมพัดฝุ่นเข้ามาในห้อง

-แนะนำให้ปลูกต้นเข็มเล็ก เพื่อช่วยดักจับฝุ่น

-ในเมืองที่มีการชุมนุมของฝุ่นเป็นจำนวนมาก สามารถนำต้นไม้ที่มีคุณสมบัติดักจับฝุ่นมาประดับตกแต่งผนังแทนการใช้กระเบื้อง ซึ่งช่วยเพิ่มความร่มรื่นและความชื้นในอากาศมากขึ้นด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์

สำหรับด้านภูมิสถาปัตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภูมิสถาปนิก มีคำแนะนำเรื่องการออกแบบเมืองว่า ควรมีการสร้างเมืองอยู่ในสวน ซึ่งพื้นที่สีเขียวควรมี 9 ตร.ม./คน และควรกระจายแทรกในตัวเมืองให้ช่วยเป็นฟิลเตอร์กรองอากาศ

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พลเดช เชาวรัตน์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวเพิ่มเติมในมุมของการปรับผังเมืองว่าปรับให้แหล่งอำนวยความสะดวกเดินไปถึงได้ โดยไม่ต้องใช้รถ การใช้แนวคิดเมืองต้องเติบโตพร้อมพื้นที่สีเขียว คนเดินไม่เกิน 500 เมตรต้องเจอต้นไม้ เจอสวนเพราะสัตว์และแมลงทำหน้าที่สำคัญในระบบนิเวศน์ การเพิ่มและลดอุณหภูมิในเมืองนอกเมือง และระบบการขนส่ง มีการจำกัดการใช้รถยนต์ ห้ามรถยนต์ที่ไม่มีมาตรฐานเข้าเมืองในโซนที่กำหนด และใช้จักรยานในการเดินทางมากขึ้นหากมีการปรับผังเมือง

จากสถานการณ์วิกฤตฝุ่น PM 2.5 นี้จึงถือเป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนคุณภาพชีวิตคนในสังคม ทุกคนมีส่วนร่วมกันหมด เรามามองตัวเองว่าเราทำให้สิ่งแวดล้อมกระทบอะไรบ้าง หันมาดูแลบ้านตัวเอง ทำความสะอาดรถยนต์นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยสังคม ทำหน้าที่ต่อตัวเองและสังคม  โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ทำเองได้ที่บ้านของตนเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook