Fun Fact เคล็ดไม่ลับ-ขยับออกกำลังกาย

Fun Fact เคล็ดไม่ลับ-ขยับออกกำลังกาย

Fun Fact เคล็ดไม่ลับ-ขยับออกกำลังกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

1 ออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อยวันละ 30 นาที (ไม่รวมอบอุ่นร่างกาย) สามารถช่วยรักษาสมดุลพลังงานในร่างกาย และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงได้ถึงร้อยละ 40

2 ออกกำลังกาย ช่วยลดน้ำหนักและประหยัดค่าใช้จ่าย
ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริม และทำเองที่บ้านได้ง่ายๆ แค่เพิ่มกิจกรรมทางกายเพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกินออกไป เช่น ทำงานนานขึ้น ออกแรงเพิ่มขึ้น หรือทำกายบริหารสม่ำเสมอ หรือทำงานบ้านมากขึ้น

3 โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พบมากที่สุดในอันดับต้นๆของประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังจากพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย

4 การขยับ ลุกขึ้น และยืดเส้นสาย ทุกๆ1-2 ชั่วโมง จะช่วยป้องกันอาการโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งพบมากที่สุดในกลุ่มคนวัยทำงาน มักเป็นปัญหาเกี่ยวกับการล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ที่นั่งทำงานหรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน

5 วางอุปกรณ์การออกกำลังกาย ในจุดที่พบเห็นบ่อยๆ จะช่วยกระตุ้นแรงบันดาลใจในการออกกำลังกายได้ เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เช่น เดินขึ้นบันไดแทนขึ้นลิฟท์ ปั่นจักรยานแทนนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

6 สมองก็ออกกำลังได้ การเปิดโอกาสให้หลายๆส่วนในสมองได้ทำงานร่วมกันสามารถทำได้หลายวิธี ทำให้เซลล์สมอง active ตื่นตัว เช่น การงดใช้เครื่องคิดเลขบ้าง การแปรงฟัน การใส่เสื้อ-กางเกงด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด การเปลี่ยนเส้นทางไปทำงาน ทำให้สารสื่อประสาทบางชนิดถูกกระตุ้นให้นำกลับมาใช้ (Use it or Loss it)

7 ต้องเอาชนะอุปสรรคที่กีดขวางการออกกำลังกาย แม้ในคนพิการที่ร่างกายไม่เอื้ออำนวย แต่ใจสู้ สามารถออกกำลังกายได้ แถมมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพียงแค่เลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม

8 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ถ้าออกกำลังกายหนักมากเกินไป จะเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนอื่นที่ทำงานต่อต้านอินซูลิน คนที่เป็นเบาหวานควรออกกำลังกายแบบต่อเนื่องยาวนาน (ไม่ใช่การเล่นยกน้ำหนัก) จะส่งผลดีชัดเจน ในผู้ที่เป็นเบาหวานแบบที่ 2

9 การเดินและ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิคในน้ำหรือบนบก 5-7 วัน ต่อสัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถนะของระบบหัวใจและหลอดเลือด และสามารถลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

สนับ สนุนข้อมูลจากโครงการ Exercise is Medicine in Thailand โดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การกีฬา ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย สมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย

[1] ข้อมูลอ้างอิงจาก http://exerciseismedicine.org/documents/EIMFactSheet2012_all.pdf
2 ข้อมูลอ้างอิงจาก: Yrkesföreningar för fysisk aktivitet, yfa, Professional associations for physical activity, Sweden, 2010
American College of Sports Medicine, ACSM's Guidelines for Exercise Testing and Prescription (7th Edition), Lippincott Williams & Wilkins; 2006

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook