รู้จักอาหารกรดด่าง (Acid foods & Base foods)

รู้จักอาหารกรดด่าง (Acid foods & Base foods)

รู้จักอาหารกรดด่าง (Acid foods & Base foods)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาหารที่เรารับประทานเข้าไปทุกวัน ถึงแม้ว่าเราจะเลือกกินอาหารที่ดีถูกสุขลักษณะแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่าอาหารเหล่านั้นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ถ้ามีค่าความเป็นกรด-ด่างสูงเกินไป และขาดสมดุล โดยเราจะจำแนกชนิดความเป็นกรดหรือด่างของอาหารจากผลสุดท้ายทางปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารเหล่านั้นผ่านกระบวนการย่อยเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นค่าความเป็นกรด-ด่างนั้นไม่ได้วัดจากรสชาติของอาหารที่ลิ้นเราสัมผัสได้ ยกตัวอย่างเช่น ผลไม้ซึ่งมีรสเปรี้ยว เช่น ส้มมะนาว สับปะรด แต่เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้ว หลังจากย่อยแล้วส่วนที่เหลือจะมีค่าเป็นด่าง เราจึงจัดให้ผลไม้เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นด่าง

ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)

การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง จะใช้ค่าที่เรียกว่า ค่าพีเอช (pH) หรือค่าการวัดความเป็นกรดด่าง โดยเราจะแบ่งออกเป็นตัวเลข ตั้งแต่ 1-14 ซึ่งมีวิธีการวัดด้วยกันหลายวิธี เช่น ใช้กระดาษลิตมัสหรือใช้พีเอชมิเตอร์ ถ้าค่าที่วัดออกมาได้มีค่าน้อยยิ่งมีความเป็นกรดสูง ถ้าค่ามากยิ่งมีค่าความเป็นด่างสูง ดังนั้นค่า pH ที่ 1-6 จะจัดว่ามีสภาวะเป็นกรด ส่วน pH 8-14 จัดว่ามีสภาวะเป็นด่างและ pH 7 คือไม่มีความเป็นกรดเป็นด่าง และจะถือว่ามีค่าเป็นกลาง

ภาวะความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย

ร่างกายเรามีเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตร หรือคิดเทียบกับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว โดยเลือดจะประกอบไปด้วย น้ำเลือด เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวน้ำเลือด หรือพลาสม่า เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ คิดเป็นประมาณ 55% ของเลือดทั้งหมดมีหน้าที่หลักคือ ลำเลียงเอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารประเภทต่างๆ ที่ผ่านการย่อยมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย ซึ่งน้ำเลือดจะมีสภาวะเป็นด่างเล็กน้อย โดยมีค่า pH อยู่ประมาณ 7.4 เพื่อให้กระบวนการทำงานในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะการย่อยและดูดซึมอาหาร รวมไปถึงการขจัดของเสียออก จากร่างกาย

สาเหตุของสภาวะกรดเกินในร่างกาย

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร่างกายมีความเป็นกรดสูง ได้แก่ ความเครียด สารพิษ เชื้อโรค และ อาหารที่เรารับประทาน โดยอาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นกรด และควรลดการบริโภคให้ลดลง ได้แก่
• อาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ขัดสีจนขาวแล้ว
• อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลทรายขาว และผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล
• ขนมหวาน ไอศกรีม ผลไม้กระป๋อง น้ำอัดลม
• ของหมักดอง น้ำส้มสายชู
• น้ำชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
• เนื้อสัตว์ทุกชนิด รวมไปถึงนมวัว

ภาวะกรดเกินของร่างกาย

ปกติแล้วกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ทั้งการหายใจ การย่อยอาหาร การไหลเวียนโลหิตการผลิตฮอร์โมน จะทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อควบคุมสมดุลกรด-ด่าง (pH) ภายในร่างกายเมื่อร่างกายมีภาวะเป็นด่าง เซลล์ต่างๆ จะแข็งแรงเนื่องจากเซลล์จะได้รับสารอาหารที่จำเป็น และออกซิเจนอย่างเพียงพอ ภาวะที่ร่างกายเป็นกรดมากเกินไปจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนและสารอาหารที่เซลล์ควรได้รับน้อยลงไปด้วย เมื่อเซลล์ขาด ออกซิเจนนานๆ จะก่อให้เกิดความผิดปกติในร่างกายส่วนต่างๆ เกิดการคั่งของ ของเสียรอบๆ เซลล์ ก่อให้เกิดความเสื่อม ความเจ็บป่วยและโรคต่างๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะเซลล์มะเร็งซึ่งจะเจริญได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด โดยพบว่าที่ค่า pH ที่สูงกว่า 7.4 เล็กน้อยเซลล์มะเร็งจะหยุดการพัฒนาหรือแพร่กระจาย และที่ระดับ pH 8.5 เซลล์มะเร็งจะตาย แต่เซลล์ที่ดีจะยังมีชีวิตอยู่

อาการเมื่อร่างกายมีภาวะเป็นกรด

• เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรงในการออกกำลังกาย
• ผิวพรรณแห้งหยาบ ไม่ชุ่มชื่น
• อ้วน ลงพุง
• ป่วยง่าย เกิดอาการภูมิแพ้บ่อย
• สิวเห่อ กลากเกลื้อน
• เกิดอาการเหน็บชาตามข้อต่อต่างๆ
• ภาวะกระดูกพรุน

อาหารที่ดีต่อสุขภาพ

อาหารที่ดี ต่อสุขภาพ คืออาหารทที่ทำให้เกิดของเสียที่มีค่า เป็นกรดน้อยที่สุด หรืออาหารที่ทำให้เกิดสภาวะเป็นด่าง ได้แก่ อาหารประเภทผักและผลไม้ (โดยเฉพาะสาหร่าย หน่อไม้ฝรั่ง แตงกวา มะเขือเทศ ถั่ว ผักกาด ผักชีฝรั่ง เครื่องเทศ หัวหอม ขึ้นฉ่าย แครอท ฟักทอง มะนาว ส้ม สับปะรดกีวี เชอรี่ สตรอเบอรี่ แตงโม กล้วย แอปเปิ้ล อโวคาโด) การกินอาหารที่มีสภาวะเป็นกรดให้น้อยลง และเพิ่มปริมาณอาหารที่เป็นด่างให้มากขึ้นจึงจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการร่างกายแข็งแรง โดยเราควรบริโิภคอาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นด่าง คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70 -80% ของอาหารทั้งหมด เพื่อให้ได้สมดลุ กรดด่างที่เหมาะสมรวมไปถึงการดื่มน้ำมากๆ หรือรับประทานอาหารเสริมที่มีฤทธิ์เป็นด่าง หายใจลึกๆ ยาวๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และอย่าเครียด เท่านี้ก็จะทำให้เรามีสุขภาพดีต่อไปแล้ว

ข้อมูลจาก
คุณหมอมงคล แก้วสุทัศน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์
ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

ติดตามคอลัมน์อื่นๆ เพิ่มเติม ดาวน์โหลดนิตยสารในเครือจีเอ็มได้แล้วที่   

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook