ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว "นาฏยมาลี" ชุดประจำชาติไทย

ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว "นาฏยมาลี" ชุดประจำชาติไทย

ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว "นาฏยมาลี" ชุดประจำชาติไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานเปิดตัวชุดประจำชาติประจำปี 2556 "นาฏยมาลี" ซึ่ง "ลิต้า ชาลิตา แย้มวัณณังค์" มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2013 จะสวมขึ้นเวทีเพื่อชิงชัยในการประกวดชุดประจำชาติบนเวทีมิสยูนิเวิร์ส 2013 ณ กรุงมอสโก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย โดยการประกวดรอบตัดสินจะมีขึ้นใน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556


ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว

สุรางค์ เปรมปรีดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทจันทร์ 25 จำกัด และประธานอำนวยการกองประกวด มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ กล่าวว่า "กองประกวดยังคงสานต่อโครงการเพื่อให้นักออกแบบรุ่นใหม่ ได้ส่งผลงาน เข้าร่วมประกวดในชุดประจำชาติสู่เวทีการประกวดมิสยูนิเวิร์สในปีนี้ มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 815 ผลงาน โดยคณะกรรมการได้ตัดสินให้ผลงาน "นาฏยมาลี" ได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งผลงานชิ้นนี้เป็นของ นายธนาคม สิทธิอัฐกร นักศึกษาจากภาควิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้รับรางวัล 20,000 บาท และผลงานได้นำมาตัดเย็บเป็นชุดประจำชาติให้กับ ชาลิตา แย้มวัณณังค์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2013 ได้สวมเพื่อโชว์บนเวทีมิสยูนิเวิร์ส 2013 ที่ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย"

ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว

สำหรับชุดประจำชาติ "นาฏยมาลี" แนวคิดหลักมาจาก การนำงานหัตถกรรมดอกไม้ ประดิษฐ์ของไทย คือ "อุบะ" ซึ่งเป็นเครื่องแขวนไทยโบราณ และเป็นงานประณีตศิลป์ที่ทำขึ้น เพื่อใช้ประกอบในพิธีมงคลต่างๆมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบชุดแนวใหม่ และผู้ออกแบบยังได้แรง บันดาลใจจาก นาฏยกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "นางรำ" ซึ่งสามารถสื่อถึงหญิงไทยที่มีความงดงาม อ่อนช้อย และสวยสง่า เมื่อได้นำสองสิ่งที่สื่อที่ถึงอัตลักษณ์ไทยมาผสมผสาน จึงได้สร้างสรรค์เป็นชุด "นาฏยมาลี" โดยใช้หัตถกรรมเครื่องแขวนหรืออุบะมาสร้างสรรค์เป็นสไบนางที่วิจิตรงดงาม

อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรม (ศิลปะไทย) มหาวิทยาลัย ศิลปากร หนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งร่วมพิจารณาให้ชุด "นาฏยมาลี" ชนะเลิศในการออกแบบการประกวด ชุดประจำชาติประจำปีนี้ ได้กล่าวว่า "นาฏยมาลี" เป็นงานสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับแนวคิด ครีเอทีฟไทย (Creative Thai) ซี่งการนำดอกไม้มาสื่อกับผู้หญิง นอกจากจะเป็นความงดงามทางศิลปะในขั้นที่หนึ่งแล้ว ผู้ออกแบบยังได้สร้างสรรค์ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งด้วยการนำประณีตศิลป์ คือ "เครื่องแขวนไทย" ที่ต้องนำ ดอกไม้มาร้อยเรียงเป็นลวดลายต่างๆ อย่างประณีตบรรจง มาผสานกับนาฏยศิลป์ ผ่าน "นางรำ" และประยุกต์สอดผสานกันอย่างงดงาม ทั้งยังสื่อถึงเอกลักษณ์ไทยและวัฒนธรรมไทยอันสูงส่งอีกด้วย

นงนารถ จิรกิตติ แห่งห้องเสื้อ "โนริโกะ" ผู้ตัดเย็บชุดประจำชาติได้กล่าวว่า การตัดเย็บชุด "นาฏยมาลี" มี 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือ เสื้อ กระโปรงและสายคาดเอว ซึ่งใช้ผ้าไหมไทยสอดดิ้นทอง ทำให้เกิดความแวววาว หรูหรา และยังสื่อถึงความรุ่งเรือง สง่างาม ส่วนที่ 2 คือ ช่วงไหล่ใช้การพับ จับกลีบดอกไม้และปักกลีบดอกไม้ให้สมบูรณ์ ส่วนสุดท้ายคือเสื้อคลุมด้านนอกหรือสไบนางนั้น ซึ่งเป็น ชิ้นงาน ที่ยากที่สุดและเป็นจุดเด่นที่สุดของชุดนี้ เพราะผ้าคลุมร้อยจากดอกพุดด้วยมือเป็นตาข่ายทั้งผืน เป็นเสมือนอุบะหรือเครื่องแขวนขนาดใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยทั้งฝีมือและความชำนาญเป็นอย่างมาก แม้ชุดนี้ มีความยากในการตัดเย็บพอสมควร แต่จะช่วยส่งเสริมบุคลิกชาลิตาให้ดูโด่ดเด่นบนเวทีโลกมากขึ้น ทั้งยัง สื่อถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจนและลงตัว

ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว

นอกจากการแสดงแบบชุดประจำชาติแล้ว ชาลิตา แย้มวัณณังค์ ยังได้แสดงแบบชุดราตรี 2 ชุด ซึ่งจะขึ้นแสดงบนเวทีประกวดด้วย คือชุดราตรีสำหรับถ่ายภาพในกองประกวด (Portrait) ซึ่งออกแบบ และตัดเย็บโดยห้องเสื้อวทานิกาเป็นชุดราตรี เกาะอกสีเหลือง ตัดเย็บด้วยผ้าไหมชีฟอง จับเดรปแบบมูราจ หรือเข้ารูปทั้งตัว และชุดราตรีหลัก (Evening Gown) ซึ่งจะต้องสวมขึ้นเวที ประกวดมิสยูนิเวิร์สรอบตัดสิน คือ ชุดที่มีชื่อว่า ไฟร์เวิร์ค (Firework) หรือดอกไม้ไฟ ซึ่งเป็นชุดราตรีเกาะอกเข้ารูป สีอร์ (Copper) กระจายเป็นรูปพลุดอกไม้ไฟ ตัดเย็บโดยห้องเสื้ออะมอเร่ (AMORE)

ชาลิตา แย้มวัณณังค์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2013 กำหนดออกเดินทางไปประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2013 ที่กรุงมอสโก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ในวันที่ 18 ตุลาคม นี้ ด้วยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 974 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเวลา 10.10 น. ส่วนการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2013 รอบตัดสินจะมีขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2556

อัลบั้มภาพ 17 ภาพ

อัลบั้มภาพ 17 ภาพ ของ ลิต้า ชาลิตา เปิดตัว "นาฏยมาลี" ชุดประจำชาติไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook