ถุงน้ำรังไข่ คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน

ถุงน้ำรังไข่ คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน

ถุงน้ำรังไข่ คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถุงน้ำในรังไข่ ชื่อนี้ใครได้ยินก็คงมีงงกันบ้างเพราะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นเคยเลยสักนิด แต่ถ้าบอกว่าซีสต์ข้างรังไข่ หลายคนคงจะเข้าใจง่ายกว่า ซึ่งซีสต์ข้างรังไข่โดยปกติไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดและหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา อาจมีเพียงบางเคสเท่านั้นที่ซีสต์มีขนาดใหญ่เกินไป จนต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งวันนี้เราก็มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาให้คุณได้ทำความเข้าใจกันแล้ว

อาการของโรคถุงน้ำรังไข่

โดยปกติแล้วจะไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้น แต่หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก หรือแตกขึ้นมาจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดท้องน้อยระหว่างมีรอบเดือน โดยจะปวดมากกว่าปกตินั่นเอง
  • มีอากากรท้องผูก ท้องเฟ้อ เรอ อิ่มเร็ว คลื่นไส้และอาเจียน
  • หากมีภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดจากถุงน้ำขยายใหญ่จนรังไข่เคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม หรือถุงน้ำบิดขั้ว จะมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องมากแบบฉับพลันบริเวณท้องน้อย ซึ่งอันตรายอย่างมากควรไปพบแพทย์ทันที
  • หรือหากมีภาวะถุงน้ำแตกจะทำให้ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงและมีเลือดออกภายใน ซึ่งภาวะแบบนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

สาเหตุของการเกิดถุงน้ำรังไข่

ถุงน้ำรังไข่อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ก็ได้ แต่โดยปกติมักเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของรังไข่เอง เช่น การแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเกิดการยุบตัวของผนังรังไข่ ทำให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเองจนเกิดเป็นถุงน้ำขึ้นมา ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่จะต้องรีบทำการรักษาในทันที

วิธีรักษา

โดยปกติแล้ว ตัวถุงน้ำที่ไม่ใหญ่มากจะหายไปเองโดยที่ไม่ต้องรับการรักษา แต่หากมีภาวะแทรกซ้อน หรือขนาดที่ใหญ่จนทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง ควรไปพบแพทย์อย่างทันที่ ไม่ควรปล่อยเอาไว้เด็ดขาด ซึ่งหากมีการเกิดขึ้นบ่อยๆ แพทย์ก็จะให้ฮอร์โมนเพื่อควบคุมการตกไข่ ส่วนในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัด โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งแพทย์จะเจาะบริเวณท้องต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย เพื่อใช้กล้องส่องและตัดถุงออก จากนั้นก็จะนำไปตรวจหามะเร็งอีกทีหนึ่ง

โรคถุงน้ำรังไข่ หากเป็นไม่มากก็ไม่อันตราย แต่หากเป็นมากและมีภาวะแทรกซ้อนก็อาจเสียชีวิตได้เลย ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติดังที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัย และรักษาต่อไป หรืออีกทางหนึ่งคือการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รู้ทันโรคและทำการรักษาได้ทันนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook