ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโภชนาการ

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโภชนาการ

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโภชนาการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Q & A For Good Health ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโภชนาการ

"หลายคนอาจเคยมีข้อสงสัยหรือความเชื่อเกี่ยวกับโภชนาการว่า ในแต่ละวันเราทานอาหารได้สมดุลหรือไม่ หรือทานอาหารบางประเภทมากไปจะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือเปล่า...ฉบับนี้ Appeal ขออาสามาเคลียร์ข้อสงสัยเหล่านี้ให้คุณแล้ว...ลองไปดูกัน"

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโภชนาการไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโภชนาการ

Q : จากผลการศึกษาและแผนภูมิสัดแสดงส่วนพลังงานจากการบริโภคอาหารแต่ละประเภทของคนไทยซึ่งสำรวจในปี 2006 นี้ มีความสมดุลแล้วหรือไม่ อย่างไร และน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางทิศใดในปัจจุบันนี้

A : จากการที่ ดร.แม็กซีม เคยทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทยมาก่อน ดร.แม็กซีมได้มองเห็นพัฒนาการที่ดีมาก โดยเฉพาะปัญหาทุพโภชนากา ซึ่งปัจจุบันมีน้อยและจะจำกัดวงอยู่เพียงบางพื้นที่ในประเทศเท่านั้น แต่ในภาพรวมอาหารในประเทศไทยค่อนข้างจะพอเพียงหลากหลายและมีภาวะโภชนาการที่ค่อนข้างสมดุล เพราะมีทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ที่เพียงพอต่อการบริโภค แต่สิ่งที่ท้าทายก็คือคนทั่วโลกรวมถึงคนไทยด้วย กำลังเปลี่ยนมาใช้วิถีชีวิตคนเมืองมากขึ้น มีอาหารประเภทใหม่ๆ เข้ามา และมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงทุกที เช่น จากเคยเดินขึ้นบันได ก็มีลิฟต์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้เรามีกิจกรรมทางกายน้อยลง เป็นต้น ซึ่งการสำรวจประเภทนี้เป็นการสำรวจระดับประเทศที่ต้องมีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก หากมีการสำรวจใหม่ ก็จะช่วยให้เราเข้าใจการบริโภคของคนไทยในปัจจุบันได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการบริโภคของแต่ละพื้นที่มักจะไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะสั้น อาทิ คนไทยก็ยังคงได้รับพลังงานจากข้าวเป็นหลัก เพราะยังคงเป็นวัฒนธรรมการบริโภคของประเทศมาโดยตลอด

Q : จำเป็นไหมที่จะต้องคำนวณแคลอรีก่อนรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในแต่ละครั้ง

A : การคำนวณแคลอรีอย่างละเอียดและตลอดเวลา อาจจะเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากและสับสน เพราะท้ายที่สุดเราอาจไม่สามารถรับรู้ข้อมูลพลังงานของอาหารทุกประเภทที่เราทานได้ทั้งหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงเป็นจานๆ และในแต่ละวัน แต่ละคนก็อาจมีการใช้พลังงานที่ต่างกันไปอยู่ดี อย่างไรก็ตาม การรับทราบและตระหนักถึงข้อมูลแคลอรีของอาหารหรือเครื่องดื่มแต่ะประเภท จะเป็นการย้ำเตือนให้เราตระหนักถึงการรักษาสมดุลพลังงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเราควรทำควบคู่ไปกับการชั่งน้ำหนักเป็นประจำ เพื่อให้รู้ตัวว่าตัวเองทานมากเกินไปกว่าที่เราใช้พลังงานหรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น น้ำหนักตัวเราก็จะเพิ่มขึ้น และหมายความว่าเราต้องระมัดระวังเรื่องการบริโภคให้มากขึ้น ต้องมีกิจกรรมทางกายให้มากขึ้น เช่น การไปออกกำลังกาย เพื่อทำให้น้ำหนักของเรากลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกครั้ง

Q : หลักการคำนวณแคลอรีในแต่ละวันของชาวยุโรปและเอเชียแตกต่างกันอย่างไร

A : คนเรามีความต้องการทางการโภชนาหรือวิถีชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวที่ชี้ชัดลงไป ถ้าเปรียบเทียบกันแล้วคนยุโรปจะมีโครงสร้างร่างกายใหญ่กว่าคนเอเชีย เพราะฉะนั้นความต้องการจึงแตกต่างกัน ซึ่ง ดร.แม็กซีมมองว่าไม่ควรกังวลในเรื่องนี้มากนัก ประเด็นสำคัญก็คือ การบริโภคให้สมดุล คือพยายามทานอาหารและเครื่องดื่มให้พอเพียงต่อความต้องการใช้พลังงานในแต่ละวัน...แต่สำหรับผู้ที่กลัวอ้วน แนะนำว่าให้ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน เพราะจะได้รู้ว่าเมื่อไหร่ที่น้ำหนักขึ้นเพราะทานมากเกินไป ก็จะได้ลดปริมาณลงหรือปรับเปลี่ยนประเภทอาหาร หรือไม่ก็ออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อเผาผลาญพลังงานที่ได้รับเข้าไปมากเกินไป ซึ่งเรียกว่า สมดุลพลังงาน ก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักได้

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับหลักโภชานาการไขข้อข้องใจเกี่ยวกับหลักโภชานาการ

Q : การดื่มน้ำอัดลม ทำให้อ้วนหรือไม่

A : น้ำอัดลมก็เหมือนกับเครื่องดื่มและอาหารอื่นๆ ที่ให้พลังงาน เมื่อมีการบริโภคที่ไม่สมดุลและเกิดพลังงานส่วนเกิน พลังงานส่วนเกินนี้ ไม่ว่าจะมาจากอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทใดก็สามารถทำให้อ้วนได้ เราจึงไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน...การดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มอื่นๆ หรือการทานอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งนั้นไม่สามารถบอกได้ว่ามันก่อให้เกิดปัญหาโรคอ้วน แต่จะต้องไปดูว่าคนที่มีปัญหาโรคอ้วนนั้นเค้าทานอะไรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากพบว่าดื่มน้ำอัดลมแล้วเป็นโรคอ้วน ก็ต้องไปดูอีกทีว่าเค้าดื่มมากน้อยขนาดไหนเมื่อเทียบกับอาหารอื่นๆ ที่ให้พลังงานเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ที่จะฟันธงว่าอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เกิดโรคอ้วน ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่าต้องไปดูที่แบบแผนการทานอาหารและเครื่องดื่มของคนคนนั้นมากกว่า

Q : น้ำอัดลมเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนหรือไม่

A : ไม่ใช่สาเหตุ เพราะการดื่มน้ำอัดลมไม่ได้ทำให้กระดูกอ่อนแอ ขั้นตอนสำคัญที่คุณสามารถรักษากระดูกให้แข็งแรงมีสุขภาพดี ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง ประกอบกับการออกกำลังกายประเภทที่ต้องมีการแบกหรือยกน้ำหนัก มวลกระดูกของคุณก็จะแข็งแรงขึ้นได้

Q : มีความเชื่อที่ว่า หากต้องการมีร่างกายที่แข็งแรง เราไม่ควรบริโภคข้าวขาหมู หรือข้าวมันไก่ เราจะเชื่อได้หรือไม่

A : มีคำพูดมาแต่โบราณว่า ไม่มีอาหารที่ดีหรืออาหารที่เลว มีแต่แบบแผนการบริโภคที่ดีหรือที่เลว แบบแผนการบริโภคที่ถูกต้องคือ การบริโภคอย่างสมดุล นั่นคือการที่คุณบริโภคอะไรในมื้อนี้ หรือมื้อหน้า ไม่ได้เป็นสิ่งที่ตัดสินว่า สุขภาพคุณจะดีหรือไม่ เราจำเป็นจะต้องดูภาพรวมว่าโดยทั่วไปแล้ว คุณมีพฤติกรรมในการบริโภคโดยรวมอย่างไร คุณบริโภคอะไรมากน้อยเท่าไหร่ และมีกิจกรรมทางกายหรือการใช้พลังงานมากน้อยเท่าไหร่ พูดง่ายๆ ว่าต้องพิจารณากันในระยะยาว มิใช่แค่มื้อใด
มือหนึ่งเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook