เพราะอะไรโรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นถึงสั่งห้ามนำ “เบนโตะแสนน่ารัก” มาทานที่โรงเรียน?

เพราะอะไรโรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นถึงสั่งห้ามนำ “เบนโตะแสนน่ารัก” มาทานที่โรงเรียน?

เพราะอะไรโรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นถึงสั่งห้ามนำ “เบนโตะแสนน่ารัก” มาทานที่โรงเรียน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เบนโตะ หรือ ข้าวกล่องเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อาจเพราะความใส่ใจในการจัดข้าวให้มีสัดส่วนเหมาะสม ดูหน้าตาน่ารับประทาน จนกลายเป็นงานศิลปะในมื้ออาหารอย่างหนึ่ง

เบนโตะลายการ์ตูนโดนแบนในโรงเรียนอนุบาล!?
วันนี้ Anngle จะพูดถึง เบนโตะ ลายการ์ตูนแสนน่ารักที่เรียกว่า “เคียระ เบ็น” (キャラ弁) ซึ่งจะเป็นเบนโตะที่ถูกตกแต่งอาหารในกล่องให้มีหน้าตาเหมือนกับตัวละครน่ารักๆ อย่างเช่น เฮลโลคิตตี้ (Hello Kitty) หรือ โดเรมอน (Doraemon) 

แต่เรื่องที่น่าแปลกคือ กลับกลายเป็นว่า เคียระ เบ็น ข้าวกล่องสุดน่ารักที่ถูกทำขึ้นอย่างพิถีพิถันนี้ กลับเริ่มถูกสั่งห้ามจากโรงเรียนอนุบาลหลายๆแห่ง และศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ก็เริ่มสั่งห้ามนำ เคียระ เบ็น มาให้เด็กๆทานกันค่ะ ทำเอาผู้เขียนเองก็อดสงสัยถึงเหตุผลไม่ได้ ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น…. แฟนๆล่ะคะ มีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้าง…..

 

ถ้าหากย้อนความเป็นมาของ เคียระ เบ็น ไปอีกหน่อย ราว 4-5 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่ชาวญี่ปุ่นพร้อมใจกันทำ เคียระ เบ็น และฮิตกันมากๆ จนเราสามารถเห็น เคียระ เบ็น ด้วยลวดลายสุดเฟี้ยวฟ้าวเต็มไปหมดในโลกออนไลน์ ซึ่ง เคียระ เบ็น มักจะถูกทำขึ้นมาด้วยอุปกรณ์เฉพาะ ด้วยแม่พิมพ์หลากหลายลวดลาย ที่จะช่วยให้อาหารทุกชิ้น มีขนาดและรูปทรงที่เราต้องการค่ะ

กว่าจะลงล็อคแบบนี้ ไม่ได้ทำง่ายๆเลยนะคะ

 

ด้วยความที่การทำ เคียระ เบ็น สักกล่องหนึ่งต้องมีขั้นตอนและอุปกรณ์ที่มากมาย จึงต้องใช้เวลาทำมากกว่าเบนโตะทั่วๆไป ในขณะที่พ่อแม่หลายๆท่าน มุ่งมั่นที่จะทำ เคียระ เบ็น ให้กับลูกๆของตน แต่หน่วยงานต่างๆที่ดูแลเด็กและเยาวชนไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เหตุเพราะพวกเขามองว่า การทำเบนโตะที่ใช้เวลาในการทำนานเกินไป จะส่งผลต่อความอนามัยของอาหาร ค่ะ

นอกจากการทำที่นานไปแล้ว ในบางครั้งการจัดเรียง เคียระ เบ็น ให้อยู่ในรูปแบบที่สวยงามนั้น ต้องมีการจัดและตกแต่งที่ใช้เวลานาน และเกี่ยวของกับ การสัมผัสอาหารที่มากกว่าปกติ เช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเด็กเล็กแน่นอนค่ะ

 “ข้าวกล่องน่ารักๆอย่างฉัน จะทำให้พวกเธอป่วยเหรอเนี่ย zzzZZZ”

 

แต่แม้ว่าผู้ปกครองหลายท่านจะออกมาบอกว่า “ฉันใส่ถุงมือเวลาทำเคียระ เบ็นนะ” แม้เรื่องความสดใหม่ของอาหารอาจไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้ใหญ่อย่างเรา แต่สำหรับเด็กเล็กนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่มากๆเลยนะคะ ดังนั้นทางโรงเรียนอนุบาล และหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสุขอนามัย จึงไม่อยากมอบความเสี่ยงเหล่านี้ให้กับเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นอนาคตของชาติค่ะ

นอกจากนั้นการทำเคียระ เบ็นยังต้องใส่ใจในเรื่องรูปลักษณ์เป็นหลัก ซึ่งทำให้ความสำคัญในการเลือกวัตถุดิบให้เหมาะสมกับเด็กๆนั้นลดลง

 

นอกจากนั้นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือ ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ของเด็กทุกๆคน จะมีเวลาทำ เคียระ เบ็น ให้ลูกๆ ดังนั้นหากเด็กบางคนที่นำเบนโตะธรรมดามาทานที่โรงเรียน พวกเขาคงรู้สึกแปลกแยกและแตกต่าง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเด็กๆเลยแม้แต่น้อยค่ะ

เรื่องนี้หากฟังดูเผินๆ เราอาจจะคิดว่า พ่อแม่คงไม่แฮปปี้เท่าไรกับการสั่งห้ามไม่ให้พ่อแม่แสดงความรักต่อลูก แต่พ่อแม่ของเด็กๆเหล่านั้นกลับให้ข้อมูลว่า “พวกเขาเข้าใจว่าพวกเขาเองมองข้ามปัญหาเล็กๆเหล่านี้ไปหน่อย ตอนนี้พวกเขารู้สึกเห็นด้วยกับสิ่งที่โรงเรียนทำ และคงไม่ทำ เคียระ เบ็น ให้ลูกเอาไปโรงเรียน แม้ว่าลูกๆจะขอให้ทำให้ก็ตาม”

เสียใจด้วยนะเด็กๆ…. พวกเธอคงไม่มี โทโทโร่ (Totoro) เป็นมื้อกลางวันแล้วล่ะ แต่เด็กๆก็สามารถทำ เคียระ เบ็น ของตัวเองในวันเสาร์อาทิตย์แทนได้อยู่นะคะ ^^

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook