อ้วน... ต้นตอความดันสูง เบาหวาน หัวใจตีบ

อ้วน... ต้นตอความดันสูง เบาหวาน หัวใจตีบ

อ้วน... ต้นตอความดันสูง เบาหวาน หัวใจตีบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลการวิจัยของหลายสถาบันบอกตรงกันว่า ประชากรทั่วโลกที่มีอยู่กว่า 6 พันล้านคน มีถึง 1,100 ล้าน คนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน ทั้งยังมีมากกว่า 300 ล้านคนที่เป็นโรคอ้วนพร้อมกับมีโรคเรื้อรังที่เกิด จากความอ้วน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

ในบ้านเรา คนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปมากกว่า 12 ล้านคนมีปัญหานี้ แต่ที่น่ากังวลคือ...พบมากในผู้หญิง!

ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนไทยน้ำหนักเกิน คือ 60% เลือกรับ- ประทานอาหารโดยคำนึงถึงความอร่อยเพียงอย่างเดียว 20% คำนึงถึง ความอร่อยและคุณภาพ และ 20% คำนึงถึงคุณภาพอาหารเป็นหลัก อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก ก็คือการบริโภคน้ำตาลที่ เพิ่มขึ้นจากคนละ 12 กิโลกรัมต่อปีในปี 2526 เป็น 30 กิโลกรัมต่อปีในปี 2546 แนวโน้มคนไทยจะเป็นโรค อ้วนสูงขึ้นถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด โดยคนกรุงเทพฯ มีแนวโน้มมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคเหนือ และผอมที่สุดคือภาคอีสาน

ยังไงถือว่าอ้วน?

ในทางการแพทย์ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ มาตรฐานแบ่งเป็น ดังนี้:

1. มวลดัชนีร่างกาย เกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับความนิยม สูงสุดโดยไม่ขึ้นอยู่กับอายุหรือเพศ มีสูตรการวัดคือ Body Mass Index (BMI) = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น 48 กก. สูง 160 ซม. คำนวณเป็นสูตร = 48kg/1.6m2 = 18.75 แล้วนำมาอ่านผล โดยช่วงปกติ คือ 18.5-22.9 / น้ำหนักเกิน มากกว่า 23 / เกณฑ์เริ่มที่จะอ้วน 23-24.9 / อ้วนกลุ่มที่ 1 25-29.9 / และอ้วนกลุ่มที่ 2 มากกว่า 30

2. การวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย วิธีนี้ค่อนข้างซับซ้อน เช่น การวัดในน้ำ หรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์หนีบที่พุง ส่วนวิธีที่สะดวก มากที่สุดคือการใช้เครื่องวัดสมัยใหม่ที่คล้ายเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล ซึ่งสามารถอ่านค่าได้ทันที โดยตัวเลขของหญิงสุขภาพดีควรมีเปอร์เซ็นต์ ไขมันในร่างกายอยู่ที่ 25-30% ส่วนผู้ชายควรอยู่ที่ 15-25%

3. เส้นรอบเอว เป็นตัวเลขสำคัญที่แสดงถึงความเสี่ยงจากไขมัน สะสมบริเวณช่องท้อง สำหรับผู้ชาย เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 90 ซม. หรือ 36 นิ้ว ผู้หญิง เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 80 ซม. หรือ 32 นิ้ว (ผลวิจัยบอกว่า ขนาดเอวที่เพิ่มขึ้น 2 นิ้ว จะทำให้อัตราการตายของผู้ชายเพิ่มมากขึ้น 17% ส่วนผู้หญิงเพิ่มขึ้น 13%)

ความเสี่ยงของโรคจากโรคอ้วน เริ่มตั้งแต่เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระบบทางเดินหายใจ โรคกระดูกเสื่อม ระบบทางเดินอาหาร ไส้เลื่อน นิ่วในถุงน้ำดี โรคเกาต์ มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก แถมด้วยผลกระทบด้านจิตใจ อีกคือ ขาดความมั่นใจในรูปร่างตนเองจนเกิดความเครียด หงุดหงิดง่าย อ่อนเพลีย ซึมเศร้า มีความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น

เห็นหรือยัง...โรคอ้วนน่ากลัวกว่าที่คิด

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook