5 สัญญาณที่บอกว่า คุณจะเข้าวัยสูงอายุแล้ว

5 สัญญาณที่บอกว่า คุณจะเข้าวัยสูงอายุแล้ว

5 สัญญาณที่บอกว่า คุณจะเข้าวัยสูงอายุแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันเวลาเปลี่ยนไป จากวัยเด็กสู่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และสุดท้ายคือวัยชรา ในแต่ละช่วงวัยที่มาถึงร่างกายจะมีอาการที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงวัยเสมอๆโดยเฉพาะวัยสูงอายุ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเสื่อมถอยมาก นอกจากปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่จะสามารถบอกได้ว่าเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วนั้น สุขภาพและอาการต่างๆ ภายในร่างกายนี่แหละคือตัวสัญญาณบอกได้อย่างแท้จริง

1.ผมหงอก ศีรษะล้าน

จะสังเกตได้ว่าหากร่างกายจะเริ่มเสี่ยมถอย แบบแรกเลยก็คือเรื่องผม ผู้หญิงจะมีลักษณะร่วงผมบางลง ขาดน้ำหนัก ผู้ชายก็จะมีอาการผมบาง ผมร่วงแล้วไม่กลับขึ้นมาทดแทนมากขึ้นๆ สุดท้ายจะมีภาวะหัวเถิกหรือหัวล้าน ผมจะแข้งกระด้างขึ้นอย่างเห็นได้

2.ริ้วรอยบนใบหน้า ผิวพรรณแห้ง เหี่ยวย่น

ไม่ว่าจะเป็นตีนกา ที่บริเวณหน้า มุมปาก รอบดวงตา ร่องลึกข้างแก้ม ผิวพรรณที่เคยผุดผาด ใสอิ่มเอบกลับหมองคล้ำดูขาดความชุ่มชื้น คอลลาเจนที่ผิวหนังและฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ผิวหนังจึงอ่อนแอ ไขมันใต้ชั้นผิวหนังบาง ขาดความยืดหยุ่น แห้งเป็นรอยย่นเหล่านี้คืออาการของการเข้าสู่วัยสูงอายุทั้งสิ้น

3.หน้าอกหย่อนยาน นิ่ม คล้อย

ตามแรงโน้มถ่วง เป็นอีกสัญญาณที่ชัดเจนว่าเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะรังไข่เริ่มผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงหรือหยุดผลิตลงแล้ว เนื้อเยื่อเต้านมที่เคยหยุ่นนุ่มจะถูกแทนที่ด้วยไขมัน ความกระชับจะลดลงไม่เหมือนเดิม และจะยิ่งหย่อนคล้อยลงเรื่อยๆตามเวลาที่มากขึ้นหากไม่ได้ออกกำลังกายแบบบริหารหน้าอก

4.เหงือกร่น

ภาวะนี้จะเป็นเกิดได้ง่ายมากสำหรับวัยสูงอายุ บางรายสามารถเห็นฟันยาวได้ชัดเจนมากขึ้น โคนฟันอาจผุได้ วัยนี้ความเสื่อมถอยมีสูง หากการดูแลฟันทำได้ไม่ดีเช่นการแปรงฟันแรง แปรงสีฟันแข็งมากไป ล้วนทำให้เกิดเหงือกร่นและฟันผุได้เร็วขึ้นอีกด้วย

5.ปวดเมื่อย อ่อนเพลียง่าย

ไม่ค่อยมีแรง บางรายพบการปวดตามข้อเช่น หัวเข่าได้ การทำงานหนักหรือกิจกรรมต่างๆทำได้ลดลงจากเดิม เช่น เดินหรือวิ่งได้เร็วหรือได้ระยะทางลดลง ยกของหนักได้ไม่นานหรือยกไม่ไหว เหนื่อยง่ายขึ้นด้วย

อาการของผู้ที่กำลังเข้าสูวัยสูงอายุยังมีอีกหลายข้อ เช่น น้ำหนักตัวขึ้นง่าย การเผาผลาญทำได้ลดลง นอนหลับยาก เพียงเราหมั่นออกกำลังกายให้พอเหมาะแก่วัย กินอาหารครบหมู่ หลับให้สนิทเพียงพอ ทางด้านจิตใจก็ต้องทำใจ เข้าใจว่าเป็นเพียงเรื่องของธรรมชาติ ศึกษาธรรมมะ การทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส เท่านี้เราก็จะเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook