วิธีรับมือ 3 อาการของทารกที่คุณแม่มักเป็นกังวล

วิธีรับมือ 3 อาการของทารกที่คุณแม่มักเป็นกังวล

วิธีรับมือ 3 อาการของทารกที่คุณแม่มักเป็นกังวล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บรรดาคุณแม่มือใหม่หลายต่อหลายคนพากันวิตกกังวลเป็นที่สุด เมื่อลูกน้อยมีอาการผิดปกติไปจากเดิม แม้บางอาการนั้นจะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายหรือความรุนแรงแต่อย่างใด แต่ด้วยความเป็นแม่ แม้ลูกเป็นอะไรเพียงเล็กน้อย หัวอกแม่ก็แทบสลาย วันนี้เราจึงนำเสนอ 3 อาการที่มักพบในเด็กทารกที่คุณแม่มือใหม่พากันกังวล และไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไรดีมาบอกกัน

อาการผวา

ในบางครั้งเด็กเล็กอาจมีการผวากลัวขณะที่นอนหลับ พ่อและแม่ควรที่จะจับเด็กให้นอนคว่ำแทนการนอนหงาย แต่หันศีรษะไปทางใดทางหนึ่งเพื่อให้เด็กเล็กสามารถหายใจได้สะดวกขณะหลับ และควรอยู่ในการดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด

อาการโคลิก

เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก โดยเกิดอาการประมาณ 3-4 ชั่วโมงทุกวัน เป็นเวลาตลอด 3 เดือนโดยประมาณ ซึ่งลักษณะของโคลิกนี้ เด็กจะร้องสั้น ๆ ต่อเนื่องจนกระทั่งตัวเกร็ง หน้าตาแดงก่ำ และมักจะร้องในช่วงเวลาเดิมเสมอ ส่วนมากจะพบในช่วงเย็นหรือกลางคืนติดต่อกัน ปัจจัยการเกิดโคลิกนั้นมีทั้งปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย หิวหรืออิ่มเกินไป ตลอดจนไม่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากภายในท้องแม่ได้ วิธีรับมือคือ ให้วางลูกนอนหงาย แล้วจับเข่าลูกงอเพื่อไล่ลมในท้อง จากนั้นห่อตัวลูกด้วยผ้าและอุ้มลูกเดินรอบ ๆ บ้าน หรือบริเวณที่ปลอดโปร่ง พร้อมกับลูบหลังเพื่อปลอบโยน

อาการไอและน้ำมูกไหล

โดยปกติแล้ว อาการไอเป็นกระบวนการแสดงออกเพื่อป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม โดยเป็นการขับสิ่งแปลกปลอมออกมา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือ เชื้อโรคก็ตามที ในกรณีที่เป็นการติดเชื้อไข้หวัดนั้น มักจะพบว่ามีอาการไอร่วมกับน้ำมูกไหล โดยสาเหตุอาจเกิดได้หลายทางทั้งภูมิแพ้ เชื้อไวรัส และมลภาวะทางอากาศ สิ่งเหล่านี้ทำให้ภูมิต้านทานของเด็กเล็กที่ยังไม่สมบูรณ์นั้น ไม่สามารถปกป้องตนเองได้อาการไอจึงเกิด นอกจากนี้ยังมีน้ำมูก เสมหะ และไข้อีกด้วย วิธีการรับมือ สำหรับเด็กน้อยควรพยายามเช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้บ่อย และรีบใส่เสื้อผ้าให้ความอบอุ่นตลอดเวลา พร้อมทั้งใช้ลูกยางดูดน้ำมูกให้ลูกน้อยบ่อยๆ และใช้หอมแดงบุบวางใส่ถ้วยไว้ตรงหัวเตียงเพื่อให้เขาหายใจได้สะดวกขึ้น สำหรับยานั้นควรปรึกษากุมารแพทย์หรือใช้ยาลดไข้ แก้หวัดสำหรับเด็ก ร่วมกับให้อาหารนิ่มๆ ที่ย่อยง่าย และให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ ก็จะช่วยให้อาการหายไวขึ้น         

หวังว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยลดความวิตกกังวลให้กับเหล่าคุณแม่ทั้งหลายลงได้บ้าง แต่หากลูกน้อยยังมีอาการเหล่านี้ติดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ก็ควรที่จะไปปรึกษากุมารแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่รู้ตัว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook