ปลูก “ตำลึง” ผักสรรพคุณทางยา ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลให้ยุ่งยาก

ปลูก “ตำลึง” ผักสรรพคุณทางยา ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลให้ยุ่งยาก

ปลูก “ตำลึง” ผักสรรพคุณทางยา ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลให้ยุ่งยาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โดยปกติเรามักพบเห็นตำลึงขึ้นอยู่ทั่วไปตามพื้น ต้นไม้ หรือแม้แต่ริมรั้วบ้าน โดยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วเราสามารถปลูกตำลึงได้เอง ด้วยการใช้เมล็ดหรือปักชำ และตำลึงยังเป็นผักที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแล หรือบำรุงอะไรมากมาย จึงนับเป็นผักมากสรรพคุณที่อยากแนะนำให้ปลูกหรือมีไว้ใกล้ๆ บริเวณบ้าน

istockistock

ตำลึงพบได้ทั่วไปในบ้านเรา โดยในแต่ละภาคมีชื่อเรียกตำลึงแตกต่างกันเช่นภาคเหนือเรียกผักตำลึงว่า ผักแคบ ส่วนภาคอีสานเรียกผักตำนิน และภาคกลางยังมีชื่อเรียกตำลึงอีกอย่างหนึ่งว่าสี่บาท ลักษณะของตำลึงนั้นคือเป็นไม้เลื้อย ทรงใบเป็นเหลี่ยม ขอบใบหยัก คล้ายรูปหัวใจ

โดยปกติต้นตำลึงที่งอกจากเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝนภายในสภาพที่มีความชื้นและแสงแดดเหมาะสม แต่เมื่อผ่านฤดูหนาวไปจะไม่ค่อยมีการเจริญเติบโตทางยอดมากนัก เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งใบจะเหี่ยวแห้งและพักตัวโดยมีการสะสมอาหารไว้ที่รากและจะแตกยอดเป็นต้นอีกครั้งเมื่อได้รับน้ำและอากาศที่เหมาะสม

istockistock

ผลของตำลึงมีลักษณะยาวรีสีแดงเมื่อสุก หนู นกและค้างคาวจะชื่นชอบผลตำลึง ในขณะเดียวกันสัตว์เหล่านั้นก็ยังช่วยกระจายพันธุ์ต้นตำลึงด้วยเมล็ดที่อยู่ในมูลสัตว์หลังกินและขับถ่ายออกมา แม้ตำลึงจะขึ้นง่ายด้วยวิธีเหล่านี้แต่ปัจจุบันมีการปลูกตำลึงเพื่อผลในเชิงการค้าขาย หรือถ้าบ้านไหนไม่มีตำลึงรับประทานจะลองหาเมล็ดตำลึงไปปลูกไว้ข้างบ้านก็ได้

วิธีปลูกตำลึงนั้นสามารถปลูกโดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำเถาแก่ในถุงก่อนจะย้ายลงดิน สภาพดินที่เหมาะสมสำหรับตำลึงคือดินร่วนที่สามารถระบายน้ำได้ดี การใช้ดินนั้นสามารถนำดินและทรายมาผสมกันในอัตราส่วน 1:1 หรือ 2 :1 และคลุกดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์

หลังปลูกตำลึงไปประมาณ 1 เดือน ต้นจะเริ่มมีการแตกยอดและเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นจึงควรปลูกตำลึงไว้บริเวณรั้วหรือทำร้านให้ตำลึงเกาะและเลื้อย เพื่อให้ตำลึงเจริญเติบโตได้ดีควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง จะได้ยอดที่สมบูรณ์ ต้นตำลึงมีการผลิตยอดใหม่ได้ดีในฤดูฝน และหากได้รับแสงแดดเต็มที่จะยิ่งเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook