ไขรหัสลับโรคกระดูกพรุน อันตรายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ไขรหัสลับโรคกระดูกพรุน อันตรายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ไขรหัสลับโรคกระดูกพรุน อันตรายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

       หลายคนอาจคิดว่าโรคกระดูกพรุนเป็นเรื่องไกลตัวที่ดูแล้วไม่น่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองได้ แต่รู้หรือไม่ว่ายุคนี้ 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 40 ถึง 45 ปีล้วนเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัว และเกินกว่าครึ่งเกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศ

     อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุนคือไม่แสดงอาการหรือส่งสัญญาณเตือนก่อนล่วงหน้า สวนทางกับมวลกระดูกของร่างกายที่กำลังลดเรื่อยๆ จะแสดงอาการชัดเจนก็ต่อเมื่อเข้าสู่ภาวะวิกฤตเกิดความเจ็บปวดจนเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้หรือกระดูกหักไปแล้วต้องนอนนิ่งติดเตียง และบางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต

แล้วโรคกระดูกพรุนเกิดขึ้นได้อย่างไร


     โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทางเมตาโบลิคเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระดูก อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง จนเป็นเหตุให้กระดูกเปราะบางง่ายขึ้น เมื่อถูกกระทบเพียงเล็กน้อยผ่านกิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้ตามปกติ เช่น การวิ่ง หรือเดินเร็วขึ้นลงบันได ก็อาจเสี่ยงต่อการแตกหักและร้าวได้ในทันที โดยความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 30 ปี และจะลดลงมากขึ้นเรื่อยๆเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มวลกระดุกจะลดลงมากที่สุด เนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนและมีอัตราการสลายกระดูกตามธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการสร้าง

     อีกทั้งแคลเซียมสำคัญที่สะสมอยู่ในกระดูกก็เริ่มสูญเสียไปทีละนิดจนโครงสร้างภายในกระดูกเกิดรูพรุน มีลักษณะคล้ายกับฟองน้ำ พร้อมกับรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดเป็นอาการปวดหลัง ปวดเอว ควบคู่กับรูปร่างที่ค่อยๆ ถูกทำร้ายจนหลังดูโก่งหรือโค้งงอ เป็นต้น

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ป้องกันได้

     ถึงจะเป็นภัยเงียบ แต่ก็ใช่ว่าโรคกระดูกพรุนจะไม่มีวิธีป้องกัน เพราะสาเหตุหลักของการเกิดโรคกระดูกพรุนเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์รู้ชัดและได้ทำการวิเคราะห์กันมาอย่างยาวนาน 


     เมื่อหนึ่งในต้นตอสำคัญของปัญหากระดูกพรุนคือร่างกายสูญเสียแคลเซียม ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ใช่ที่สุดก็ต้องเป็นการคืนแคลเซียมให้กับร่างกายผ่านสารอาหาร โดยปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมต่อวันคือ วันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ชีส อัลมอนด์ และปลา ซึ่งการจะรับประทานอาหารให้ได้แคลเซียมที่เพียงพอในแต่ละวัน เราจะต้องดื่มนม 1 ลิตร หรือ 4 แก้ว ต่อวัน หรือ งาดำ 8 ช้อนโต๊ะ หรือ โยเกิร์ต 6 ถ้วย หรือ ปลาทูทอด 6 ตัว เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยากทีเดียว

      ดังนั้น การรับประทานแคลเซียมเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยเติมเต็มแคลเซียมให้กับร่างกายได้อย่างเพียงพอในแต่ละวัน

     แต่สารอาหารที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่ได้มีแค่แคลเซียมเท่านั้น แต่ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกทั้งแข็งแรงและยืดหยุ่นอีก 4 ชนิด ได้แก่ แมกนีเซียม มังกานีส สังกะสี และทองแดง และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือวิตามินดีที่มีหน้าที่สำคัญในการช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงอีกด้วย

     ดังนั้น เพื่อที่จะมีกระดูกที่แข็งแรง เราจะต้องได้รับสารอาหารเหล่านี้อย่างครบถ้วนและเพียงพอรวมถึงต้องพยายามลดละเลิกอาหารที่ไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม อาทิ น้ำอัดลม เกลือ คาเฟอีน และแอลกอฮอล์

     ถัดมาคือเรื่องของอายุ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งต้นตอสำคัญในการทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน แม้ว่าสิ่งนี้จะเป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ แต่การดูแลตัวอย่างสม่ำเสมอด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้สามารถหนีห่างโรคกระดูกพรุนได้ไกลยิ่งขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยพยุงกระดูกในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ส่งผลช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มได้ หนึ่งในการออกกำลังกายที่ได้รับการแนะนำว่าดีจริงคือ การเดินและวิ่งเบาๆ ด้วยความที่แรงกดต่อกระดูกที่เกิดจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ จะทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และทันทีที่กระดูกรู้สึกถึงงานหนักที่ต้องแบกรับจะตอบสนองด้วยการเพิ่มมวลกระดูกทันที ที่สำคัญอย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนให้เร็วตั้งแต่สี่ทุ่มเพื่อให้โกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติได้ออกมาซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย 





 

           

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook