ความรู้สึกของคุณหมอ หากวันนี้ไม่มีอสม.

ความรู้สึกของคุณหมอ หากวันนี้ไม่มีอสม.

ความรู้สึกของคุณหมอ หากวันนี้ไม่มีอสม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     หลายคนอาจไม่รู้ว่า อสม. หรืออาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั้น เป็นจิตอาสาที่มีความสำคัญต่อระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในประเทศไทย ซึ่งได้สละเวลามาช่วยแนะนำและดูแลสุขภาพ รวมถึงติดตามอาการของผู้ป่วยและประชาชนในชุมชน อสม. จึงไม่ได้มีความสำคัญต่อชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนเท่านั้น แต่ยังสำคัญสำหรับงานสาธารณสุขในชุมชนแต่ละพื้นที่ เรามาลองฟังความเห็นกันว่าเพราะอะไร อสม. จึงมีความสำคัญสำหรับคุณหมอและการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนของประเทศไทย

     นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวียงป่าเป้า อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เล่าให้เราฟังว่า อสม. เปรียบเหมือนมือขวาที่ช่วยดูแลสุขภาพของประชาชน เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละพื้นที่ไม่เพียงพอ ประกอบกับการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่เข้าถึงยากทำให้เกิดปัญหาการบริการทางการแพทย์ไม่ทั่วถึง เช่นเดียวกับประชากรในอำเภอเวียงป่าเป้าที่มีอยู่ประมาณ 75,000 คน แต่คุณหมอที่โรงพยาบาลเวียงป่าเป้ามีเพียง 8 คนเท่านั้น ดังนั้นการลงพื้นที่ติดตามอาการของผู้ป่วยหรือการให้ความรู้ด้านสุขภาพ จึงต้องอาศัย อสม. ที่เป็นจิตอาสาในการทำหน้าที่แทน “โดยเฉพาะการลงพื้นที่ในการให้คำแนะนำด้านสุขภาพและติดตามดูแลผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งอสม. 1 คน จะต้องดูแลชาวบ้านกว่า 10 หลังคาเรือน เท่ากับ 1 คนมีภาระหน้าที่ค่อนข้างเยอะมาก อสม.จึงต้องเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างชุมชน ช่วยในการเก็บข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง แจ้งเรื่องโรคระบาด และเวลาอสม. ลงพื้นที่ก็จะส่งรายงานมายังโรงพยาบาล ช่วยหมอแบ่งเบาภาระได้มาก ซึ่งจิตอาสากลุ่มนี้เข้ามาทำหน้าที่ โดยไม่มีเงินเดือนประจำ มีแค่เบี้ยป่วยการเดือนละ 600 บาท เท่านั้น แต่ต้องดูแลสุขภาพคนในชุมชนเป็นจำนวนมาก


     เช่นเดียวกับคุณชาญชัย ผิวสอาด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า มองว่า อสม. เปรียบเสมือนแขนขาของเจ้าหน้าที่ในการทำงานด้านสาธารณสุข พวกเขาช่วยเราแก้ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอ แล้วยังสามารถเข้าถึงปัญหาในท้องถิ่นได้ดีกว่า ถ้าไม่มีอสม. งานสาธารณสุขคงจะไม่สำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะการดูแลสุขภาวะของคนในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หากไม่มีอสม.ก็จะทำให้ชาวบ้านในชุมชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในการดูแลสุขภาพและสถานการณ์โรคระบาด

     ด้านคุณหมอรัชนี หนูเพชร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บางทอง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา กล่าวว่า “ถ้าไม่มีอสม. คงเข้าถึงชุมชนได้ยากลำบาก เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่การทำงานด้านสาธารณสุขจำเป็นที่จะต้องต้องดูแลคนตั้งแต่แรกเกิดไปจนเสียชีวิต เราต้องเข้าถึงชุมชนในระดับพื้นที่ให้ได้ เราก็เลยต้องอาศัย อสม. ที่เขาอยู่ในพื้นที่ให้ช่วยงานเรา ดูแลตั้งแต่คนท้อง เด็กแรกเกิด การฉีดวัคซีน การชั่งน้ำหนัก รวมทั้งการให้ความรู้กับวัยรุ่นในชุมชน ซึ่งต้องดูแลให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ


     ขณะที่ นายวิพล โชคบัณฑิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต.) บ้านแก้ง ต.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ กล่าวเช่นเดียวกันว่า “ทั้ง รพ.สต. และอสม. ทั้งสองส่วนต่างก็เป็นส่วนเติมเต็มให้กับระบบงานสาธารณสุข ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ และไม่ว่าจะขาดส่วนไหนไปก็เท่ากับขาดการประสานงานระหว่างกันทำให้เกิดความล่าช้า เพราะเจ้าหน้าที่ของรพ.สต. เองก็มีเพียง 3-4 คน ไม่มีเวลาพอที่จะไปดูแลคนไข้ทุกคน ทุกวันนี้จึงต้องอาศัย อสม. ช่วยในส่วนของงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย และการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกจากระดับพื้นที่

     ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงของอสม.ในการเป็นจิตอาสาดูแลสุขภาพคนในชุมชน ซึ่งมีความสำคัญต่องานสาธารณสุขของประเทศไทย เอไอเอส จึงได้สร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสังคมไทย โดยพัฒนา แอปพลิเคชันอสม.ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการทำงานสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก ให้เกิดคุณค่าต่อสังคม และพร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

      ซึ่งแอปฯอสม.ออนไลน์ เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์เฉพาะกลุ่มที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารด้านสาธารณสุขชุมชนสำหรับหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ รพ.สต. ที่สำคัญใช้งานง่าย เหมาะกับกลุ่มอสม. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย เพราะตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ เมนูเป็นภาษาไทยทั้งหมด สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความตัวอักษร ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ พิกัดแผนที่ ส่งรายงานประจำเดือน นัดหมายประชุม และยังเป็นแอปฯที่ได้รับรางวัลระดับโลกอีกด้วย ปัจจุบันมีหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและรพ.สต.นำแอปฯอสม.ออนไลน์ไปใช้งานแล้วประมาณ 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ

     สำหรับหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ รพ.สต.และอสม.ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.ais.co.th/aorsormor โทร 06 2520 1999

 



[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook