ระวัง! 5 ยาอันตรายขายเกลื่อนเน็ต เสี่ยงเสียชีวิต

ระวัง! 5 ยาอันตรายขายเกลื่อนเน็ต เสี่ยงเสียชีวิต

ระวัง! 5 ยาอันตรายขายเกลื่อนเน็ต เสี่ยงเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การก้าวเข้ามาของโลกออนไลน์ ทำให้ชีวิตเราง่ายไปหมด อยากได้อะไรเราก็สามารถเลือกซื้อเลือกหา จ่ายเงิน รอรับของที่บ้านเพียงผ่านแค่ปลายนิ้ว และสมาร์ทโฟนเครื่องเท่ามือข้างเดียว แต่เทคโนโลยีนี้ดันเหมือนเหรียญสองด้าน ของที่ไม่ควรขายกันง่ายๆ ก็ดันวางขายกันเกลื่อน หาซื้อได้ง่ายราวกับลูกอม หรือหมากฝรั่ง โดยเฉพาะ “ยารักษาโรค” ที่ควรจะให้สิทธิ์ขายแค่เพียงเภสัชกรที่ร่ำเรียนมาหลายปีเพื่อประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับยาโดยเฉพาะ

ดังนั้น หากเห็นยาตัวไหนขายในอินเตอร์เน็ต โดยไม่ได้มาจากเภสัชกร ก็ถือว่าเป็นเรื่องผิดแล้ว ยิ่งมาเจอยาอันตรายที่ขายกันเกลื่อนเต็มไปหมด ก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ จะมียาอะไรที่เราอาจได้พบเจอ และไม่ควรซื้อมาทานเด็ดขาดบ้าง มาดูคำแนะนำจาก อย. กันค่ะ

 

5 ยาอันตรายขายเกลื่อนเน็ต เสี่ยงเสียชีวิต

  1. ยามหัศจรรย์

ยามหัศจรรย์มาพร้อมคำโฆษณาชวนเชื่อที่มักใช้คำทำนองว่า “หายขาดแน่นอน” “วิเศษ” “ดีที่สุด” หรือแม้กระทั่ง “ผลงานวิจัยล่าสุด” แต่พอหาข้อมูลจริงๆ กลับไม่เจอ หรือไม่น่าเชื่อถือ หนำซ้ำยังมีส่วนผสมของ “สเตียรอยด์” ที่เป็นสารต้องห้าม ที่ต้องได้รับการควบคุมการใช้จากแพทย์เท่านั้นอีกด้วย

สเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ ทำให้อาการปวดที่มีลดลง รู้สึกมีกำลังวังชาขึ้นมาในเวลาอันสั้น จึงทำให้คนที่ทานยานั้นๆ รู้สึกว่ายาออกฤทธิ์ดี ได้ผลจริง แต่จริงๆ แล้ว หากทานยาที่มีสเตียรอยด์เข้าไปนานๆ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ ลดภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย บดบังอาการของโรค ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากขึ้น และหากมีอาการหนัก หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้น จนทำให้เสียชีวิตได้

อ่านต่อ >> “สเตียรอยด์” คืออะไร? ทำไมถึงห้ามนักกีฬาใช้เด็ดขาด

 

  1. อาหารเสริมลดความอ้วน

มาพร้อมกับคำโฆษณาชวนเชื่อว่า “ลดจริง พิสูจน์ได้” “รับประกัน ไม่โยโย่” “3 กิโลภายใน 1 อาทิตย์” หรือ “ดื้อยาก็ลดได้” จริงๆ แล้วส่วนใหญ่มักใส่สารไซบูทรามีน ที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่รู้สึกอยากอาหาร แต่เมื่อทานไซบูทรามีนติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกิดอาการติดยา ประสาทหลอน ไตวาย ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดตีบตัน จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อ่านต่อ >> อย่ากิน! “ไซบูทรามีน” ในอาหารเสริมลดน้ำหนัก เสี่ยงเสียชีวิต!

 

  1. อาหารเสริมเร่งผิวขาว

มาพร้อมกับคำโฆษณายั่วเงินในกระเป๋าของคุณผู้หญิงหลายคนที่อยากขาวว่า “ขาวออร่า” “ขาวอมชมพู” “14 วัน ขาว เนียน ใส ไรฝ้า” “สวยขาวจากภายในสู่ภายนอก” จริงๆ แล้วอาหารเสริมประเภทนี้ส่วนใหญ่มักลักลอบใส่ยาที่มีฤทธิ์ห้ามเลือด โดยนำผลข้างเคียงของมาใช้รักษาฝ้า หรือทำให้ผิวขาวขึ้น ทั้งที่ยังไม่มีผลวิจัยยืนยันอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ หากทานติดต่อกันนานๆ อาจมีอันตรายทำให้เกิดลิ่มเลือด จนอุดตันเส้นเลือดต่างๆ ในร่างกาย หากลิ่มเลือดไปอุดตันที่ปอด อาจทำให้หายใจไม่ออก หรือหากลิ่มเลือดไปอุดตันที่เส้นเลือดในสมอง ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

  1. ครีมทาสิว ฝ้า หน้าขาว

มาพร้อมกับโฆษณาว่า “ขาวจริงใน 7 วัน” “ขาวใสขั้นเทพ” หรือ “ขาวจริง ขาวไว” ที่ขาวได้ขนาดนี้ เพราะผู้ผลิตมักลักลอบผสมสารอันตรายเข้าไปหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นไฮโดรควิโนน ปรอทแอมโมเนีย สเตียรอยด์ กรดวิตามินเอ ที่ทำให้หน้าขาวเร็ว แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ ผื่นขึ้น สิวบุก ผิวหน้าลอก ไวต่อแสงเกินไป จนหน้าพังถาวรได้

 

  1. อาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศ

มาพร้อมคำโฆษณาที่ยั่วกิเลสท่านชายว่า “ใหญ่ยาว เพิ่มขนาด” “อึด ทน นาน” หรือ “ทำจากสมุนไพรธรรมชาติ” แต่ความเป็นจริงแล้วลักลอบผสมซิลเดนาฟิล ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ หน้าแดง มึนงง เกิดอาการช็อก หัวใจวายเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้

 

นอกจากนี้กลุ่มยาแก้ไอ แก้ปวด แก้แพ้ ที่ลักลอบขายอย่างผิดจุดประสงค์ คือ ขายยาเพื่อใช้เสพเป็นของมึนเมา โดยมาพร้อมโฆษณาว่า “เมาง่าย” “ราคาไม่แพง” “ไม่ขม” “ไม่ใช่ยาเสพติด ฉี่ไม่ม่วง” หรือ “ครูไม่รู้ ตำรวจไม่จับ” เช่น ยาทรามาดอลทานร่วมกับยาน้ำเชื่อมแก้แพ้ แก้ไอ หรือที่เรียกว่า “ยาโปร” จะส่งผลต่อสุขภาพทั้งระยะสั้น และระยะยาว และเกิดการเสพติดได้

ผลร้ายต่อร่างกาย คือ หากทานเป็นเวลานาน จะเกิดอาการประสาทหลอน ระบบประสาททำงานช้าลง และหากได้รับยาเกินขนาด อาจทำให้ชัก เกร็ง กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจหยุดเต้น จจนอาจเสียชีวิตได้

ทางที่ดีคือ ก่อนซื้อยาทาน ควรปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง และหากมีอาการเจ็บป่วย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง อยากลดน้ำหนัก ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย อยากขาวต้องใช้ครีมกันแดด และอย่าใช้ยาผิดประเภท จะได้ไม่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตก่อนวัยอันควรค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook