ขี้หนาว มือเท้าเย็น ไม่มีแรง สัญญาณของ “ไฮโปไทรอยด์”

ขี้หนาว มือเท้าเย็น ไม่มีแรง สัญญาณของ “ไฮโปไทรอยด์”

ขี้หนาว มือเท้าเย็น ไม่มีแรง สัญญาณของ “ไฮโปไทรอยด์”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต่อมไทรอยด์ เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายมากกว่าที่หลายๆ คนคิดนะคะ เพราะต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตและควบคุมระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งเจ้าฮอร์โมนเหล่านี้นี่แหละที่คอยสร้างสมดุลให้กับร่างกายอีกที เพราะฉะนั้นหากต่อมไทรอยด์ไม่ปกติ ฮอร์โมนในร่างกายไม่ปกติ ร่างกายของเราก็จะขาดความสมดุลไปด้วย

หนึ่งในโรคที่เกิดขึ้นกับสภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ คือ “ไฮโปไทรอยด์” ค่ะ มีอาการอย่างไร รักษาอย่างไร และหลีกเลี่ยงอย่างไร ไปหาคำตอบกับ Sanook! Health กันเลยค่ะ

 

“ไฮโปไทรอยด์” คืออะไร?

ไฮโปไทรอยด์ หรือ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้าง หรือหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมา ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ ส่งผลให้บางส่วนของร่างกายทำงานผิดปกติ

 

สาเหตุของ “ไฮโปไทรอยด์”

1. เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เอง อาจจะเป็นผู้ป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ที่เคยผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกไปบางส่วน หรือทั้งหมด

2. เกิดจากภาวะผิดปกติของต่อมใต้สมอง ที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานเป็นปกติได้

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็น “ไฮโปไทรอยด์”

มากกว่า 80% เป็นผู้หญิง และอาจเกิดกับวัยทอง

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็น “ไฮโปไทรอยด์” มากกว่า 80% เป็นผู้หญิง และอาจเกิดกับวัยทอง 

อาการของผู้เป็น “ไฮโปไทรอยด์” หรือภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์

  • ขี้หนาว มือเท้าเย็น ต้องใส่ถุงมือถุงเท้า ดึงแขนเสื้อมาปิดมือ หรือหาผ้ามาคลุมตลอด

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เซื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง

  • เสียงแหบพร่า

  • ขี้หลงขี้ลืมในระยะเวลาอันสั้น คิดช้า ทำช้า

  • ท้องผูกบ่อยๆ

  • ผิวแห้ง ผมแห้ง อาจมีผมร่วงในบางราย

  • สมรรถภาพทางเพศลดลง

  • ประจำเดือนมาผิดปกติ

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ทานน้อย

 

วิธีรักษาภาวะ “ไฮโปไทรอยด์”

คุณหมออาจแนะนำให้ทานฮอร์โมนเสริม เฝ้าติดตามอาการ และตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายเรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ “ไฮโปไทรอยด์” ไม่ใช่โรคภัยร้ายแรงอะไร เพียงแต่การให้ฮอร์โมนทดแทน จะช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายไม่ปกติในอนาคตได้ เช่น ระดับความรู้สึกลดลง อุณหภูมิในร่ายกายลดลง ความดันโลหิตต่ำลง หายใจช้าลง ไปจนถึงการเต้นของหัวใจช้าลง และเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอค่ะ

 

หากอยากลดโอกาสในการเป็น “ไฮโปไทรอยด์” ควรรีบรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสียตั้งแต่วันนี้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญหมั่นตรวจ และสังเกตร่างกายของตัวเราเองให้ดี เพราะไม่มีใครรู้จักตัวเราดี เท่าตัวเราเองอีกแล้ว ยิ่งพบความผิดปกติกับร่างกายของตัวเองได้เร็วเท่าไร เราก็ยิ่งจะมีโอกาสหายจากอาการผิดปกติเหล่านั้นได้มากขึ้นนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook