“คอเลสเตอรอล” สูง ห้ามกิน “ไข่แดง” จริงหรือไม่?

“คอเลสเตอรอล” สูง ห้ามกิน “ไข่แดง” จริงหรือไม่?

“คอเลสเตอรอล” สูง ห้ามกิน “ไข่แดง” จริงหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากมีคอเลสเตอรอลสูง การกินไข่แดงถือเป็นเรื่องต้องห้ามจริงหรือไม่ มีความเชื่อใดๆ ที่ไม่ถูกต้องอีกหรือเปล่า

ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จาก RAMA Channel ระบุถึงความเชื่อหลายๆ อย่างที่คนไทยอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะคอเลสเตอรอลสูง ดังนี้

คอเลสเตอรอลสูง ห้ามกินไข่แดง?

ไม่เป็นความจริง ทางการแพทย์ไม่เคย “ห้าม” กินไข่แดงในคนที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง แต่อยากให้ “จำกัด” ปริมาณในการรับประทานไข่แดงอย่างเหมาะสม ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ แต่สำหรับไข่ขาว สามารถรับประทานได้

คอเลสเตอรอลสูง ไม่ควรออกกำลังกาย

ไม่เป็นความจริง ปกติแล้วคอเลสเตอรอลจะมีทั้งคอเลสเตอรอลตัวดี และคอเลสเตอรอลตัวเลว การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลตัวที่ดีต่อร่างกายได้ เพราะฉะนั้นในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง แนะนำให้ออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดี และจะช่วยให้สุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจดีขึ้นด้วย

คอเลสเตอรอลสูง ต้องกินยาตลอดชีวิต

เป็นเรื่องจริง หากเมื่อไรก็ตามที่แพทย์พิจารณาให้การรักษาด้วยการกินยา นั่นคือการที่แพทย์พยายามให้กินยาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน แตก ตีบ หากเป็นหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดแย่ไปกว่าเดิม

แต่สำหรับคนที่อายุน้อย และมีความเสี่ยงไม่มาก ไม่มีความเสี่ยงเบาหวาน ความดัน ไม่สูบบุหรี่ หรือไม่มีความเสี่ยงโรคอันตรายอะไรมากนัก แพทย์อาจพิจารณาให้ควบคุมอาหาร และติดตามอาการต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook