9 สัญญาณอันตราย เรากำลัง “แก่” ลง

9 สัญญาณอันตราย เรากำลัง “แก่” ลง

9 สัญญาณอันตราย เรากำลัง “แก่” ลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อายุจะเป็นเพียงตัวเลข เพราะถ้าอายุยังไม่มาก แต่มีอาการเหล่านี้ ก็แปลว่าเรากำลังแก่ลงแล้ว ลองมาเช็กดูกัน

ปัจจุบันนี้ การชะลอวัย เป็นศาสตร์หนึ่งที่ได้มีการศึกษากันอย่างลึกซึ้งในส่วนของ “การแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย” ซึ่งเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แนวทางใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการป้องกันโรค ค้นหาโรค รักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุ รวมถึงเพื่อช่วยชะลอความแก่ชราของร่างกายเราลง

อาการของความเสื่อมถอยของร่างกาย และความชรา จะแสดงอาการให้เราเห็นดังต่อไปนี้

  1. อ่อนเพลียตลอดเวลา
  2. รู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนเต็มที่ตลอดคืน
  3. รู้สึกไม่แข็งแรงเหมือนเคย
  4. น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้
  5. หลงลืมมากขึ้นเรื่อยๆ
  6. เจ็บปวดตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดข้อ
  7. นอนไม่หลับ หรือ นอนหลับไม่สนิท
  8. อารมณ์ตึงเครียด กระวนกระวาย หรือ วิตกกังวล
  9. ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศลดลง

อาการเหล่านี้เป็นอาการของ ความชรา แม้ว่าในอดีตเราอาจจะเคยถูกสอนให้ยอมรับสภาพว่าเป็นอาการตามวัย แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่เราไม่จำเป็นต้องยอมรับสภาพอีกต่อไป

แอนไท-เอจจิ้ง เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการชะลอวัย และทำให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น โดยการให้ฮอร์โมนทดแทน การเสริมสารอาหารเพื่อต้านอนุมูลอิสระ การเสริมวิตามินและแร่ธาตุให้ร่างกาย การใช้เซลล์บำบัด และการบริการทางการแพทย์ด้านอื่นๆ 

เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย มีที่มาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากภาวะชีวเคมีไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนที่ลดลง ขาดสารอาหาร สเต็มเซลล์ทำงานได้น้อยลง เทโลเมียร์ก็สั้นลง โปรแกรมชะลอวัยจึงครอบคลุมการรักษาทั้งในส่วนของภาวะการทำงานของร่างกาย สารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่ไม่สมดุล เพื่อชะลอความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความเสื่อมตามวัย

สำหรับท่านที่สนใจในเรื่องของการชะลอวัย มีหลักการชะลอวัยด้วยวิธีการง่ายๆ มาฝากกัน สามารถทำได้ตามหลัก 5 อ. ต่อไปนี้

  1. อ. อากาศ พยายามอยู่ในที่ที่มี อากาศ บริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงรังสียูวีเอ ยูวีบี ในแสงแดด ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ รวมถึงหาเวลาไปพักผ่อนรับอากาศบริสุทธิ์นอกเมืองบ้าง
  2. อ.อาหาร ควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เปลี่ยนกลุ่มอาหารให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง และไขมันสูง
  3. อ.ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 150 นาที โดยการแอโรบิก วิ่ง ว่ายน้ำ หรือการจ๊อกกิ้ง จะช่วยกระตุ้นเลือดลม ทำให้หัวใจแข็งแรง รวมถึงโยคะ ซึ่งจะช่วยให้ข้อต่อ และกล้ามเนื้อมีการยืดหยุ่นที่ดี และการยกเวท ด้วยน้ำหนักที่เหมาะสม จะช่วยเรื่องมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันกระดูกบาง
  4. อ.อารมณ์ดี การคิดบวก ปรับวิธีคิด นั่งสมาธิ จะช่วยคลื่นในสมองได้หลับสนิท
  5. อ.แอนไท-เอจจิ้ง อ.สุดท้าย ใช้ต่อเมื่อร่างกายมีอาการเสื่อมในอายุที่มากแล้ว เราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้การรักษา ชะลอไม่ให้สุขภาพเสื่อมถอย ช่วยฟื้นฟูให้แข็งแรงขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook