อันตราย “นาฬิกาชีวิตรวน” ช่วง Work From Home แก้ไขอย่างไร?

อันตราย “นาฬิกาชีวิตรวน” ช่วง Work From Home แก้ไขอย่างไร?

อันตราย “นาฬิกาชีวิตรวน” ช่วง Work From Home แก้ไขอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราอาจจะเคยชินกับช่วงที่เรานอนดึกตื่นสายระหว่างปิดเทอมกันมาบ้าง แต่ในช่วงชีวิตที่ต้องไปเรียน หรือไปทำงาน การนอนตี 2-3 แล้วต้องตื่นตอนเช้าอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งช่วง Work From Home อาจทำให้หลายคนขยับเวลาตื่นให้ได้นอนต่อเพิ่มขึ้น จนเวลาตื่นเวลานอนเปลี่ยนไปหมด เราอาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ “นาฬิกาชีวิต” รวน

หมอเอิ้น หรือ พ.ญ. พิยะดา หาชัยภูมิ จิตแพทย์จากโรงพยาบาลพระราม 9 ระบุถึงเรื่องนี้ในรายการ Sanook Call From Nowhere เอาไว้ว่า การ Work From Home ที่ถูกต้อง ที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ คือการจัดการเวลาในชีวิตไม่ให้กิจกรรมที่ทำปนเปกัน การทำงานที่บ้านอาจทำให้เราสับสนได้ว่าเวลาไหนทำงาน เวลาไหนควรพักผ่อน บางคนอาจถึงขั้นลืมว่าวันนี้วันอะไร รวมถึงคนในบ้านอาจไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำงาน อาจขอให้ทำนู่นนี่เหมือนเป็นวันหยุดอยู่บ้าน ไหนจะเรื่องการนอนหลับและตื่นนอนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งหมดนี้อาจทำให้นาฬิกาชีวิตของเรารวนได้

เรามีวิธีจัดการให้นาฬิกาชีวิตกลับมาทำงานตามเดิมได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. ปรับเวลานอน และเวลาตื่น ให้เป็นเวลาเดียวกับวันที่ไปเรียน/ไปทำงานตามปกติ

  2. เปิดหน้าต่างให้แสงสว่างส่องเข้ามาในห้อง เหมือนเราทำงานตอนกลางวันข้างนอก

  3. ตื่นมาทำงานตอนเช้า อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน จัดการตัวเองเหมือนไปทำงานตามปกติด้วย เพื่อให้ตัวเองรู้สึกสดชื่น และให้ตัวเองเข้าใจว่ากำลังจะทำงานจริงๆ (ไม่ต้องสวมชุดเหมือนไปทำงานก็ได้ แต่ก็ควรเปลี่ยนเป็นชุดอื่นนอกจากชุดนอน แต่ใครจะสวมชุดสวยๆ แต่งหน้าทำผมก็แล้วแต่ได้เลย)

  4. คุย อธิบาย ให้คนที่บ้านเข้าใจ ว่าเวลาทำงานคือทำงานจริงๆ อาจไม่ว่างทำธุระให้กับที่บ้าน และพร้อมจะกลับไปให้เวลากับที่บ้านเมื่อเลิกเวลางาน หรือทำงานเสร็จ

  5. ถ้าง่วงยามบ่าย อย่างีบหลับ หรือถ้าง่วงมากจริงๆ ไม่ควรงีบหลับหลัง 14.00 น. และไม่ควรงีบเกิน 15 นาที

  6. ขยับร่างกายระหว่างทำงาน ลุกขึ้นเดิน เข้าห้องน้ำ อย่านั่งอยู่กับที่ทั้งวัน หรือนานเกินไป ควรลุกทุกๆ 1 ชั่วโมง

  7. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ตั้งขวด หรือกระบอกน้ำดื่มเอาไว้บนโต๊ะตลอดทั้งวัน แล้วดื่มให้หมด หมดก็ลุกไปเติม

  8. ตอนเย็นหลังเลิกงาน ควรหาเวลาออกกำลังกายง่ายๆ เช่น แอโรบิก โยคะง่ายๆ ตามคลิปออนไลน์ อย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน

  9. การทำงานที่บ้านอาจทำให้เราใช้เวลาอยู่กับงานมากขึ้น นานขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนอาจคิดถึงเรื่องงานไปจนถึงเวลาเข้านอน ดังนั้นช่วงเวลาก่อนนอนควรหาเวลาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย และหยุดคิดเรื่องงานไปก่อน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง คุยกับเพื่อน เมื่อสมองผ่อนคลายแล้วค่อยล้มตัวลงนอน การฝืนนอนทั้งๆ ที่สมองยังคิดเรื่องงานอยู่ อาจทำให้นอนไม่หลับ

สามารถรับชมรายการ Sanook Call From Nowhere สัมภาษณ์หมอเอิ้น หรือ พ.ญ. พิยะดา หาชัยภูมิ  ได้เต็มๆ ที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook