วัยไหน ควรใช้ “ยาสีฟัน” มากเท่าไรถึงจะเหมาะสม?

วัยไหน ควรใช้ “ยาสีฟัน” มากเท่าไรถึงจะเหมาะสม?

วัยไหน ควรใช้ “ยาสีฟัน” มากเท่าไรถึงจะเหมาะสม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนบีบยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แปรงฟันให้ถูกวิธี ช่วยป้องกันฟันผุ


ปริมาณยาสีฟัน = ปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมในแต่ละวัย

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ฟลูออไรด์เป็นสารที่ช่วยป้องกันการเกิดฟันผุที่ได้รับการยอมรับของวงการทันตแพทย์ทั่วโลก การนำฟลูออไรด์มาใช้ในการป้องกันฟันผุนั้น กรมอนามัยได้กำหนดปริมาณและวิธีใช้ที่เหมาะสม และปลอดภัย ซึ่งยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีประสิทธิภาพ ต้องได้รับเครื่องหมายรับรองจาก อย. มีวันเดือนปีที่ผลิตไม่เกิน 3 ปี และการบีบใช้แต่ละครั้งต้องเหมาะสมกับแต่ละวัย 


วัยไหน ควรใช้ “ยาสีฟัน” มากเท่าไรถึงจะเหมาะสม?

  • เด็กอายุระหว่าง 0 – 3 ปี ให้บีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียก 

  • เด็กอายุ 3 – 6 ปี ให้บีบยาสีฟันขนาดเท่าความกว้างของแปรง 

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 6 ปี ให้บีบยาสีฟันเท่าความยาวของแปรง 


ระวังการใช้ยาสีฟันในเด็กเล็ก

ที่ต้องระมัดระวังมาก คือ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักกลืนยาสีฟันโดยไม่ตั้งใจ และยาสีฟันสำหรับเด็กมักแต่งกลิ่นเติมรสผลไม้ เพื่อให้เด็กชอบและอยากแปรงฟัน เช่น รสส้ม สตรอเบอรี่ รสโคล่า เป็นต้น ทำให้เด็กบางคนอยากกินยาสีฟัน ผู้ปกครองจึงต้องควบคุมดูแลการแปรงฟันให้เด็กเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป


การแปรงฟันยึดหลัก 2-2-2

ทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนทุกกลุ่มวัยควรดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันยึดหลัก 2-2-2 คือ 

  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอนเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เนื่องจากขณะนอนหลับ ภายในช่องปากจะมีน้ำลายหลั่งน้อย เชื้อโรคต่างๆ เจริญเติบโตได้ดีกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ 

  • แปรงฟันอย่างน้อยครั้งละ 2 นาที เพื่อให้การแปรงฟันสะอาดทั่วถึง ทุกซี่ ทุกด้าน และให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันจับกับเคลือบผิวฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ

  • ภายใน 2 ชั่วโมง หลังแปรงฟันควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งการทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบได้มากขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook