นักวิจัยพบ "ยีน" ที่ทำให้คนไม่ชอบ "ผัก"

นักวิจัยพบ "ยีน" ที่ทำให้คนไม่ชอบ "ผัก"

นักวิจัยพบ "ยีน" ที่ทำให้คนไม่ชอบ "ผัก"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยเสนอรายงานระหว่างการประชุมสมาคมหัวใจอเมริกันเมื่อวันจันทร์ที่ 11 พ.ย. เรื่องการค้นพบยีนบางตัวที่อาจจะเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมบางคนจึงเกลียดหรือไม่ชอบกินผัก

โดยนักวิจัยบอกว่าโดยปกติแล้วในปากหรือบนลิ้นของเรานั้นมีปุ่มรับรสประเภทต่าง ๆ อยู่อย่างน้อย 25 ประเภทด้วยกันเช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม หรือแม้กระทั่งรสอร่อยลิ้นแบบผงชูรส เป็นต้น และราว 25% ของคนเราจะมียีนที่เรียกชื่อว่า PAV อยู่สองคู่ โดยยีนที่ว่านี้จะสร้างความไวต่อรสขื่น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือคนที่มียีนแบบนี้จะรู้สึกว่าผักมีรสขมนั่นเอง โดยยีนซึ่งทำให้เกิดความละเอียดอ่อนต่อรสขมของผักดังกล่าวจะมีปฏิกิริยาเป็นพิเศษต่อผักที่มีสีเขียวเข้มหรือประเภทที่มีลักษณะเป็นดอกหรือเป็นหัวอย่างเช่น ผักบล็อกเคอรี่ หัวกะหล่ำ กะหล่ำปี หรือผักคะน้า เป็นต้น

นักวิจัยบอกด้วยว่าผู้ที่มียีนดังกล่าวจะรับรสของผักเหมือนกับรสชาติของกำมะถันทำให้เกิดความไม่ชอบขึ้น ผลการวิจัยระบุด้วยว่าคนที่มียีนรับรสขมแบบนี้มีแนวโน้มจะกินผักน้อยกว่าผู้ที่ไม่มียีนดังกล่าวถึงราว 2.6 เท่า

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่พบยีนอื่น ๆ ซึ่งทำให้คนเรามีความละเอียดอ่อนต่อหรือปฏิเสธรสชาติชนิดอื่น เช่น รสเค็ม รสหวาน หรือแม้กระทั่งรสไขมัน และปัญหาของเรื่องนี้อย่างที่เราทราบกันก็คือ ผักโดยเฉพาะผักสีเขียวเข้ม และผักประเภทที่มีลักษณะเป็นดอกเป็นหัวนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามิน และสารพฤกษเคมีต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยสร้างภูมิต้านทาน เช่นกากเส้นใย หรือไฟเปอร์ และมีวิตามินเอ วิตามินซี กับวิตามินอื่น ๆ ด้วย

นักวิจัยเตือนว่าการเกลียดผักประเภทที่เป็นดอก หรือเป็นหัว หรือปฏิเสธผักชนิดอื่น ๆ นั้น นอกจากอาจทำให้ตัวเองมีสุขภาพที่เสี่ยงต่อโรคภัยแล้วยัง จะทำให้เรามีรอบเอวที่ใหญ่ขึ้นได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook